ทายาทรุ่นที่ 3 แห่งบันลือกรุ๊ป ผู้ผลิตเนื้อหาที่เต็มไปด้วยสาระและรอยยิ้ม เต็มอิ่มในทุกรูปแบบสื่อ
“พิมพ์พิชา อุตสาหจิต” ผู้บริหารบันลือกรุ๊ปรุ่น 3 เติบโตมาในบริษัทสื่อสิ่งพิมพ์ที่คุ้นตาคนไทยมากว่า 60 ปี ไม่ว่าจะเป็นหนังสือขายหัวเราะ ปังปอนด์ หนูหิ่น จนมาถึงยุคปัจจุบันที่ได้ขยายกิจการออกไปหลากหลายมากขึ้น อย่างสำนักพิมพ์แซลม่อนสำนักพิมพ์บันบุ๊คส์ แซลม่อนเฮ้าส์ วิธิตาแอนิเมชั่นสำนักข่าวออนไลน์ The MATTER และอีกหลายบริษัทในเครือที่เกิดขึ้นจากวิสัยทัศน์ของผู้บริหารรุ่นก่อนร่วมกับกลยุทธ์การพัฒนาของทายาทรุ่นปัจจุบัน “หลาย ๆ คนจะเข้าใจว่าธุรกิจสื่ออื่น ๆ เช่น Motion Content แอนิเมชัน หรือตัวสื่อออนไลน์ เราเพิ่งมาขยายทีหลัง แต่จริง ๆ แล้วเป็นการต่อยอดมาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อคุณแม่แล้วค่ะ”
การดำเนินงานภายใต้บริษัทบันลือกรุ๊ปจึงเปรียบเหมือนการบรรจบกันระหว่างสองรุ่นอายุ ทั้งผู้บริหารและพนักงานในบริษัท โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาลายเส้นของความสนุกสนานที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบสื่อที่นำเสนอไปตามความนิยมในแต่ละยุคสมัย “ทีมขายหัวเราะที่นิวดูแลเป็นหลักมีความหลากหลาย มีทั้งที่เป็นทีมออริจินัล ซึ่งอาจจะไม่ได้คุ้นเคยกับสื่อใหม่แต่จะเข้าใจเอกลักษณ์ จุดเด่น และตัวแปรต่างๆ ของเรา ในขณะเดียวกันก็มีการรับทีมใหม่ ๆ ที่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีและรู้ว่ากลุ่มคนรุ่นใหม่ชอบอะไร ทำให้เกิดเป็นส่วนผสมใหม่ของทีมให้สองทีมที่แข็งแกร่งขึ้น ทำงานได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้นทั้งในด้านของการต่อยอดคอนเทนต์ไปเป็นโพรเจกต์ใหม่ ๆ การทำงานในเชิง Creative Content Marketing และด้าน Partnership กับแบรนด์และองค์กรอื่น ๆ ด้วย”
เรียนรู้ข้อผิดพลาด ข้อสำเร็จของเรามาต่อยอด พยายามปรับตัวและทบทวนกับตัวเองตลอดเวลาว่า สิ่งที่ทำอยู่ตอนนี้มันดีที่สุด เร็วที่สุด แล้วก็คุ้มค่าต้นทุนที่สุดหรือยัง
ปัจจุบันบันลือกรุ๊ปได้สร้างการทำงานร่วมกันระหว่างบริษัทในเครือ เพื่อแบ่งปันความคิดเห็นหรือหาแนวทางการผลิตที่เสริมความน่าสนใจและต่อยอดในทางที่หลากหลายให้แต่ละผลงาน “เราจะไม่ได้คิดแค่ว่าอยากขายของ ไม่ได้คิดแค่ว่าเป็นการ์ตูนหนึ่งเล่ม เราจะคิดว่างานนี้สามารถต่อยอดเป็นอะไรได้บ้าง อย่างการ์ตูนขายหัวเราะสามารถต่อยอดเป็นพอดแคสต์ ไปเป็นอีเวนต์งานวิ่ง รายการ ซีรีส์สติกเกอร์ไลน์ แอนิเมชันหรือเป็นคอนเทนต์ออนไลน์ต่าง ๆ ได้ไหม มีโอกาส Partnership กับแบรนด์อื่น ๆ ในมิติใดบ้าง ทั้งในเครือและนอกเครือของเรา” ซึ่งแนวคิดนี้นำไปสู่การบริการแบบ One Stop Service ที่อำนวยความสะดวก ให้ครบ จบในที่เดียว จึงทำให้ได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าที่ใช้บริการ
พิมพ์พิชากล่าวถึงความท้าทายใหญ่ในการบริหารธุรกิจด้านสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีความต้องการของตลาดลดลงเรื่อย ๆ ว่า “เมื่อเทคโนโลยีเข้ามา รสนิยมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก มันมีความผันผวนมาก เพราะฉะนั้นเราเข้ามาทำตรงนี้ก็ต้องปรับตัวอย่างต่อเนื่อง การปรับตัวเหมือนเป็นคีย์เวิร์ดของการอยู่รอดและการเติบโตของเราเลยค่ะ”
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ การ์ตูนขายหัวเราะที่เดินทางมาถึงการฉลองครบรอบ 1,500 ฉบับ การ์ตูนที่เป็นจุดเริ่มต้นในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านหนังสือของหลาย ๆ คน ทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน และยังเป็นสื่อที่ช่วยประกอบสร้างความคิด แสดงเอกลักษณ์ความเป็นไทยในอีกรูปแบบ แต่เมื่อเวลาผ่านไป จะมีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่เริ่มมองหาหนังสือประเภทอื่น จึงเกิดบริษัทใหม่ในเครือเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน
“ปัจจุบันสิ่งที่เครือบันลือกรุ๊ปก้าวเข้าไปทำแล้วคือเรื่องการศึกษา เช่น การปรับแบรนด์มหาสนุกเป็น Edutainment Brand ครบวงจร เน้นสร้างเสริม Future Skills ให้เด็ก ๆ ช่วงชั้นประถม โดยเฉพาะภายใต้คอนเซปต์ที่ให้เด็ก ๆ ทุกคนเป็น Happy Learner หรือเรียนรู้ทักษะแห่งอนาคตได้อย่างสนุกสนาน เช่น การคิดอย่าง เป็นระบบ, การเขียนโค้ด, Visual Thinking, การออมและลงทุน, การใช้ความคิดสร้างสรรค์แบบใหม่ ๆ รวมถึง Soft Skills ต่าง ๆ ที่จำเป็นในโลกปัจจุบันยิ่งกว่าที่เคย โดยใช้ทักษะ Storytelling ผ่านการ์ตูนและอารมณ์ขันที่เราเชี่ยวชาญ เป็นสะพานให้เด็ก ๆ สนใจเรียนรู้”
From Comic Drawing to Kingdom of Content Crafting
Pimpicha Utsahajit is the third-generation executive director of Banlue Group, the well-loved publishing business that has existed over 60 years. Kai Hua Ror ( or Laughter for Sale), Pang Pond and Noo-Hin are some of the most famous comic magazines in Thailand. Today, as a result of the old and the new generation’s vision and strategies, a variety of businesses have emerged: Salmon Books, Bunbooks, Salmon House and The MATTER among others. At Banlue Group, Pimphicha describes her experience as a marriage between the two generations, both management team and staff. The common goal, however, is to preserve the graphic enjoyment and fun that can be adjusted to suit the relevant social trends. “Our Kai Hua Ror team is really diverse. We have the original team, who may not be familiar with the new media platforms but they do understad all the uniqueness, strengths and variables. Meanwhile, we have a young team who’s ready to tackle technological challenges and knows what the youngsters today like. This combination acutally helps strengthen our team, enabling them to work with and initiate new projects, from creative content marketing to partnerships with other companies.” The group is currently focusing on a one-stop service. “We don’t want just to sell a comic book but we believe it can grow into other businesses: podcast, events, marathons, LINE stickers or online content.” With the continuation of changes, the consumers’ taste has been difficult to predict; therefore, adjustment and flexibility are the core working principles. What Banlue Group is doing is ‘study’; they turn the publishing house into an edutainment brand, aiming to use storytelling in comic books to enhance necessary future skills for children. “Systematic thinking, financial literacy and creativity can be cultivated through reading and we are the platform for the children to learn those skills.”
Comments