ครูผู้เป็นตัวอย่างว่าความพิการหาใช่ข้อจำกัดในการทำในสิ่งที่รัก หากทุ่มเทและพยายาม
เมื่อพูดถึงผู้พิการทางสายตา หลาย ๆ คนมักจะคิดว่าสิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้นั้นมีอยู่อย่างจำกัด แต่ไม่ใช่สำหรับ “ครูไอซ์ - ดำเกิง มุ่งธัญญา” เพราะนอกจากจะคว้าปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาได้แล้ว ตอนนี้ยังได้บรรจุเป็นคุณครูสอนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัยอีกด้วย เส้นทางนี้ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีความพิการทางสายตาเป็นอุปสรรคก้อนใหญ่ ขวากหนามเหล่านั้นก็ดูจะแหลมคมยิ่งกว่าเดิม
ครูไอซ์เล่าให้ฟังว่า ตอนเรียนอยู่ที่คณะครุศาสตร์จะสามารถใช้อักษรเบรลล์ หรือการพิมพ์ตอบในคอมพิวเตอร์ที่มีเสียงอ่านในการทำข้อสอบได้ แต่ในชีวิตการเป็นครูต้องเจอโจทย์ปัญหาที่มากกว่านั้นว่าจะสอนอย่างไรให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนเข้าใจตรงกันและยังสามารถสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ “ต้องบอกให้เด็กเข้าใจว่าเราอันไหนได้อันไหนไม่ได้ เช่น เวลาเด็กจะตอบคำถามก็ตอบมาเลย ไม่ต้องยกมือเพราะว่ายกมือเราก็ไม่เห็น หรือการส่งงาน ถ้าเด็กเขียนมาก็จะอ่านไม่ได้ ก็จะขอให้เด็กพิมพ์ส่งมา”
สิ่งสำคัญที่สุดคือการสอนโดยไม่ต้องพูดไม่ต้องบอก เช่น เราขยัน มาตรงเวลา คนที่อยู่รอบข้างเขาก็จะรู้เองและนำไปทำตามได้
การจัดการเรียนการสอนยังเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่ครูไอซ์ต้องเผชิญเช่นเดียวกับครูคนอื่น ๆ และยิ่งท้าทายมากขึ้นเมื่อโจทย์ต้องเปลี่ยนไปจากคนอื่น ๆ โดยปกติแล้วครูไอซ์จะสอนโดยใช้สไลด์จาก PowerPoint เป็นหลัก แต่สื่อหนังสือของครูไอซ์ต้องส่งไปทำเป็นอักษรเบรลล์ ถ้าทำไม่ครบก็ต้องจดเองโดยใช้พิมพ์ดีดอักษรเบรลล์ และยังต้องพยายามหากิจกรรมที่หลากหลายมาเพื่อให้นักเรียนรู้สึกสนุกกับการเรียน “พอสอนไปหลาย ๆ ปีก็รู้ว่าเราต้องเน้นความหลากหลาย ใช้โปรแกรม Kahoot บ้างซึ่งเด็กชอบที่สุดแล้ว หรือจะให้มานำเสนอหน้าห้อง ให้เอาข้อสอบมาสอนเพื่อน มี Google Quiz บ้าง”
ความทุ่มเทและเป็นกันเองของครูไอซ์ทำให้เด็ก ๆ ก็ยิ่งตื่นเต้นกับวิธีการสอนในแต่ละครั้ง และยังกล้าที่จะเข้ามาพูดคุยทำความรู้จักรวมไปถึงให้ความช่วยเหลือกับครูคนพิเศษ “เด็กส่วนใหญ่เขาจะตื่นเต้นว่าเราจะสอนยังไง ยิ่งเขาเห็นว่าเราเป็นแบบนี้แต่ยังทำได้ เด็กก็กล้าเข้ามาคุยกับเรามากขึ้น บางทีเวลาเราเดินเขาก็จะเข้ามาช่วย” ครูไอซ์ยังบอกอีกด้วยว่าบรรยากาศการช่วยเหลือกันของที่โรงเรียนทำให้เขาสามารถทำหน้าที่ได้อย่างครูปกติคนหนึ่ง ส่วนไหนที่ครูไอซ์ทำไม่ได้ก็จะมีคนคอยช่วยเหลือ และคอยหาหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมอบหมายให้แทน ส่วนเด็ก ๆ ก็มีน้ำใจ มีทั้งที่คอยมารับครูไอซ์ข้ามถนน หรือเดินไปส่งที่สถานีรถไฟฟ้า เป็นความภาคภูมิใจที่สุดของครูไอซ์ในการสร้างคน “เด็กที่เรียนกับเราแล้วก็เห็นเขาโตขึ้น มีความรับผิดชอบมากขึ้น แค่นี้เราก็ภูมิใจแล้ว ดีใจและภูมิใจมากกว่าการได้รางวัล”
ครูไอซ์ยังภาคภูมิใจในอาชีพครูของตัวเองที่มีส่วนให้เขามีรายได้ช่วยส่งให้ครอบครัว และการเรียนรู้ในการเอาชนะตัวเอง “ความภูมิใจอีกอย่างก็คือการเอาชนะตัวเอง หลายครั้งที่บางอย่างเราคิดว่าเราทำไม่ได้แน่เลย แต่แล้วมันก็ผ่านมาได้ครับ” ในส่วนของความเป็นครู ครูไอซ์ทิ้งท้ายไว้ว่า คนทุกคนสามารถเป็นครูกันได้หมด สิ่งสำคัญคือการสอนโดยไม่ต้องพูดหรือบอก แต่เป็นการกระทำที่จะทำให้คนรอบข้างรับรู้ มองเห็น และนำไปทำตาม โดยเฉพาะกับนักเรียน “สิ่งสำคัญคือการสอนโดยไม่ต้องพูดไม่ต้องบอก เช่น เราขยัน มาตรงเวลา คนที่อยู่รอบข้างเขาก็จะรู้เองและนำไปทำตามได้ แค่เป็นแบบอย่างให้เขา เราอาจจะไม่ได้เพอร์เฟกต์ในทุก ๆ ด้าน แต่ว่าอะไรที่เราอยากให้เด็กเป็นเราก็ต้องพยายามทำให้ได้”
Overcoming Disabilities
Many people may believe that visual impairment can limit and restrict their life. This is not, however, for Damkerng “Kru Ice” Mungthanya, who has completed a bachelor’s degree with first class honours from the Faculty of Education, Chulalongkorn University. Currently, he is a teacher of English at Satri Si Suriyothai School. Kru Ice demonstrated that, back in his undergraduate study, he could use Braille or a computer equipped with voiceover to facilitate his study life. In reality as a teacher, however, life is much more difficult than that. There are numerous considerations of how to ensure that students and a teacher are at the same page and how to provide effective teaching to our students. Teaching, for him, is even more challenging with some limitations he has. Normally, Kru Ice mainly uses PowerPoint as his teaching material. He further
explained, “After having been teaching for several years, I think we cannot rely on a single teaching method. Student diversity is very important, so I try to adopt various teaching methods. Sometimes, I use Kahoot, which is one of my students’ favorite game-based learning platforms, or I have my students give a presentation in front of the class. Also, I adopt a peer-teaching method which allows my students teach each other before the exam; thus, they can review what they have learned.” Due to his dedication and cordiality, his students are always excited to study with him. “In my teaching life, nothing could not make me prouder than having seen my students growing up and being more responsible. And I think everyone can be a teacher by their action. People don’t normally follow what we teach, but they will follow what we do.”
Comments