top of page
  • Writer's pictureNIA 100 FACES

สุริยา ยีขุน | คิดเชิงนวัตกรรม น้อมนำศาสตร์พระราชา แก้ปัญหาภัยแล้ง

Updated: May 13, 2023




การบริหารจัดการเมืองเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นการเรียนรู้ปัญหาของเมืองจึงเป็นแนวทางสำคัญในการวางแผนการทำงานและวางยุทธศาสตร์ “เมืองปริก” เป็นตำบลหนึ่งที่อยู่ในอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เวลาฤดูฝนก็จะประสบกับปัญหาน้ำท่วม ฤดูแล้งก็ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ การน้อมนำศาสตร์พระราชามาเป็นแนวทางบริหารจัดการน้ำ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ทั้ง 2 ปัญหา ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของการใช้ชีวิตและประกอบอาชีพของประชาชน นายกสุริยา ยีขุน นายกเทศมนตรีตำบลปริก ผู้นำที่มีแนวคิดกว้างไกล และเป็นหัวเรือคนสำคัญที่นำพาชาวเมืองปริกผ่านพ้นวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ที่สำคัญ และพลิกฟื้นให้เมืองปริก เป็นเมืองที่น่าอยู่ ด้วยสโลแกน “Slow Life City ปริก เมืองสบาย สบาย”


นายกสุริยาเล่าว่า ในฐานะผู้นำเราต้องคิด วางแผนตลอดเวลาในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน วันนี้เทศบาลตำบลปริกได้รับรางวัลมากมายมาจากความตั้งใจจริงของทีมงานที่ต้องการเห็นพี่น้องชาวเมืองปริกมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


ปัญหาหนึ่งที่ท่านนายกสุริยาเอาจริงเอาจัง คือการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่เทศบาลตำบลปริก เนื่องจากเวลาหน้าแล้งพี่น้องประชาชนเดือดร้อนมากจากการไม่มีน้ำใช้ทั้งภาคการเกษตร และภาคครัวเรือน


“ยามหน้าแล้ง พื้นที่ชั้นในของเทศบาลตำบลปริกขาดแคลนน้ำอย่างแรง เคยเจอปัญหาขนาดที่ว่าคลองปริก ที่เป็นคลองสายในชุมชนไม่มีน้ำเลยแห้งเป็นพื้นดินหมด เราเคยพยายามที่จะทดสอบดึงน้ำจากคลองอู่ตะเภาเพื่อที่จะเอามาใส่ในคลองปริก ก็ต้องใช้เวลาสูงและเครื่องสูบขนาดใหญ่ ก็ทำให้เห็นว่าการสต็อกน้ำไว้หน้าแล้งเป็นเรื่องสำคัญ”


เรานำหลักแนวคิดตามศาสตร์พระราชาเรื่องของการกันน้ำ ไว้ในหน้าแล้ง และปล่อยน้ำออกในหน้าน้ำหลาก

เทศบาลตำบลปริกภายใต้การนำของนายกสุริยา ได้น้อมนำแนวคิดศาสตร์พระราชา ว่าด้วยเรื่องของการกันน้ำไว้ในหน้าแล้ง และปล่อยน้ำออกในหน้าน้ำหลาก มาเป็นแนวทางในการคิดค้นนวัตกรรมจัดการน้ำ จึงทำให้เกิดโครงการทำแก้มลิง 5 ระยะ โดยระยะที่ 1 กับระยะที่ 2 ที่อยู่ระหว่างชุมชนร้านในและชุมชนปริกตก และชุมชนปริกตกที่เป็นคลองท่าโต๊ะดาน แก้มลิงทั้ง 2 อันนี้เป็นการดึงน้ำจากคลองอู่ตะเภาที่อยู่ระดับต่ำกว่าขึ้นมาเพื่อสต็อกไว้ ระหว่างบึงที่ 1 ไปสู่บึงที่ 2 ผ่านระบบลำรางที่สร้างขึ้นมาให้เป็นธรรมชาติ เพื่อให้น้ำที่ดึงมาเข้าบึง 1 ผ่านไปบึง 2 มีการตกตะกอน หรือพวกสารต่าง ๆ หรือสิ่งเจือปนให้ถูกกรองโดยธรรมชาติ เพื่อเป็นบำบัดน้ำในชั้นแรก นอกจากนี้ ในบึงที่ 2 มีการตั้งโรงสูบเพื่อที่จะสูบน้ำส่งผ่านไปยังระบบผลิตประปา ส่งต่อให้พี่น้องประชาชน


ผลสำเร็จจากการคิดค้นนวัตกรรมการจัดการน้ำในหน้าแล้งตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ทำให้วันนี้พี่น้องประชาชนเมืองปริกไม่เดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง


“ตอนนี้พี่น้องประชาชนมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี นอกจากนี้จะเห็นว่าพอเราสต็อกน้ำไว้ได้ น้ำที่อยู่ในบึงทั้ง 2 บึงก็ซึมไปสู่ผิวดินชั้นบน ก็ทำให้ต้นไม้ พืชสวนไร่นาแถวนั้นก็ชุ่มชื้นขึ้นมา มีน้ำในหน้าแล้งก็ไม่ต้องกังวลว่าผิวดินจะแห้ง ขณะเดียวกันบ่อน้ำตื้น ขณะนี้มีบ้างบ้านของพี่น้องประชาชนใช้บ่อน้ำตื้นอยู่น้ำก็ซึมเข้าไปสต็อกอยู่ในบ่อน้ำตื้นของพี่น้องประชาชน นวัตกรรมนี้นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาความเดือดร้อนในหน้าแล้งแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนในระบบผลิตประปาด้วย เพราะน้ำที่ผ่านการกรองขั้นต้น จะลดความเข้มข้นในน้ำได้บางส่วน”


การบริการสาธารณะของเทศบาล ด้วยการคิดเชิงนวัตกรรมด้วยการดึงน้ำจากข้างล่างสู่ข้างบนและสต็อกไว้มาสู่ระบบผลิตประปา สามารถตอบสนองให้ประชาชนมีน้ำใช้ได้ตลอดทั้งปี

 

Suriya Yeekun | Mayor of Prik Subdistrict

Innovative thinking using King’s philosophy to solve the drought


“Innovative thinking - implementing the King’s philosophy - solving the drought”


Mueang Prik is an area in Sadao, Songkhla Province where flooding was common throughout the rainy season and water shortage prevailed in the dry season. Mayor Suriya Yeekun’s implementation of the King’s Philosophy as Water Management Guidelines has solved both difficulties. He also initiated the phrase “Slow Life in City Prik, Muang Sabai Sabai” (easy-going town).


Today, Mueang Prik has garnered several honors as a result of the team’s efforts to improve the quality of life for its people. One issue that Mayor Suriya has taken seriously is the summer drought. He has adopted the King’s philosophy in summer waterproofing as a guideline for water management innovation during the flood season. The “Monkey cheeks” initiatives were divided into five stages. A pumping plant was also installed to pump water from the water supply system to the homes. The successful outcomes of advances in water management during the dry season mean that the residents of Prik city are no longer facing water scarcity. Now, they have access to water all year.


Furthermore, the water in the two marshes seeps into the topsoil when it is kept in stock. This is perfect for trees and crops in the fields and helps solve the problem of parched soil surface. It also contributes to cost savings in the water supply system since the water that has gone through the preparatory filter reduces the concentration in the municipal public water supply.















60 views0 comments
bottom of page