top of page
  • Writer's pictureNIA 100 FACES

บุญล้อม เต้าแก้ว | เกษตรผสมผสานแบบปราชญ์ชาวบ้าน กับแนวคิด “อยู่ที่ไหนก็พึ่งตนเองได้”

Updated: May 13, 2023




จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้ทั่วโลกต่างปรับเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตอย่างสิ้นเชิง การทำการเกษตรเข้ามามีบทบาทและได้รับความสนใจมากขึ้น เนื่องจากพิสูจน์แล้วว่า ไม่ว่าจะเกิดวิกฤต เกิดภาวะเศรษฐกิจพังทลาย แต่อาหารก็ยังเป็นความมั่นคงที่สำคัญ ประเทศใดมีความสมบูรณ์ทางด้านอาหาร และสังคมใดที่เตรียมพร้อมก็จะรอดไปได้อย่างไม่ยากลำบากมากนัก ประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศกสิกรรมธรรมชาติ มีปราชญ์ชาวบ้านผู้มากด้วยองค์ความรู้ไม่น้อย เฉกเช่นเดียวกับ นายบุญล้อม เต้าแก้ว ปราชญ์ชาวบ้านแห่งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสวนล้อมศรีรินทร์ ผู้เดินตามแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่แบบบูรณาการ ที่เน้นสร้างคน ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ กระบวนการคิดแล้วค่อยลงมือปฏิบัติและบอกต่อให้คนอื่นให้สามารถทำได้จริง


การทำการเกษตรเป็นเรื่องที่ยากและเหนื่อย ต้องมีเงินและที่ทำกินถึงจะทำให้ประสบความสำเร็จได้ อาชีพเกษตรกรจึงค่อย ๆ ถดถอยน้อยลง และไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ชุดความคิดเดิมนี้จะถูกแทนที่ด้วยชุดความจริงจากการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติได้จริง หลังได้เข้ามาเรียนรู้วิธีการจากคุณบุญล้อม ที่ศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียงชุมชน สวนล้อมศรีรินทร์ ตำบลหนองโน อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี


“พื้นที่การเกษตรไม่จำเป็นต้องทำในพื้นที่ใหญ่สามารถทำเกษตรแบบคนเมืองได้ ทำผักคอนโด ผักแนวตั้ง สามารถวางเป็นชั้นหรือใส่ในกระถางหรือหนึ่งกระถางสามารถปลูกได้หลากหลายชนิด เรียกว่าตะกร้าปันสุข ทำแบบคนจนเราก็จะรวยซึ่งเป็นแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 หากไม่มีงบประมาณสามารถสร้างเครือข่ายกันโดยการชวนเพื่อนมาช่วยพัฒนาพื้นที่”


คุณบุญล้อมบอกอีกว่า การทำการเกษตรที่ยั่งยืนนั้น ต้องสร้างความหลากหลายในพื้นที่เหล่านั้น โดยแบ่งพื้นที่มาทำกิจกรรมเท่าที่มีกำลังจะทำไหว เช่น หากมีพื้นที่ 10 ไร่ ก็จะแบ่งมาทำกิจกรรมตามแนวทางของลุง 1 ไร่ ส่วนอีก 9 ไร่ทำเกษตรเดิมของตนเอง จะทำให้เห็นว่าเมื่อปลูกข้าวโพดไปขาย ก็ไม่จำเป็นต้องเอาเงินที่ขายข้าวโพดไปซื้อของกิน เพราะใน 1 ไร่ มันเป็นของกินทั้งหมด เพราะฉะนั้นเงินที่ขายข้าวโพดได้จะนำเป็นเงินเก็บหรือนำไปใช้หนี้ เพราะใน 1 ไร่ที่แบ่งมาทำกิจกรรมจะทำให้มีอาหารการกิน


เราต้องทำให้คนเรียนรู้การพึ่งพาตนเองตั้งแต่เด็ก เมื่อเกิดวิกฤตก็จะรอด อยู่ได้อย่างยั่งยืน

คุณบุญล้อมทำให้เห็นว่าปัญหาไม่ได้สำคัญ เพียงแค่ต้องมีแนวทางในการทำและรู้วิธีในการแก้ปัญหา เมื่อเห็นปัญหาก็ช่วยแก้ปัญหาตามบริบทแต่ละคนที่มีปัญหาเข้ามา โดยมองตามหลักความเป็นจริงในสภาวะแวดล้อมของตนเองที่เป็นไปได้ โดยดึงเอาทฤษฎีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาบูรณาการร่วมเอามาปรับใช้ ให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ แต่ละภูมิประเทศ คนในสังคมแต่ละพื้นที่ กินอะไร ทำอะไร มีความเป็นอยู่อย่างไร มาปรับใช้ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้


จากแนวคิดนี้ คุณบุญล้อมถึงได้ถูกขนานนามว่าเป็น “ปราชญ์ชาวบ้าน” ผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญาการเกษตรแบบผสมผสานจากหลายทฤษฎีทางการเกษตรให้เหมาะสมกับบริบทในแต่ละพื้นที่ ทำให้การทำการเกษตรไม่ใช่เรื่องที่ยาก และเป็นไปไม่ได้ ที่สำคัญทำให้เกษตรหลุดออกจากวงเวียนเดิม ๆ สนองแนวคิด “อยู่ที่ไหนก็สามารถพึ่งตนเองได้”


สิ่งที่สำคัญที่สุดก่อนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงคือการเปิดใจในการเรียนรู้ที่จะกลับสู่จุดเริ่มต้นแบบบูรณาการ ต้องตระหนักวิกฤติที่เกิดขึ้น การพึ่งพาตนเองร่วมกับแนวคิดความสามัคคี แบ่งปัน เป็นวิธี Back to Basic ทำให้สามารถรอดได้จากทุกวิกฤต


 

Boonrom Taokaew | Suan Lom Sririn Sufficiency Economy Learning Center

Self-reliance and integrated farming system


“We have to encourage self-reliance from childhood. When there’s a crisis, then we’ll survive.”


The COVID-19 pandemic has considerably changed life. Since then, agriculture has play a significant role as food has been proven to significantly contribute to the stability of a country in any crisis. Fortunately, Thailand is an agricultural country that can produce an abundant supply of foods and agricultural products. Mr Boonrom Taokaew is a village sage at Suan Lom Sririn Sufficiency Economy Learning Centre. He has successfully adopted the New Theory of Agriculture and is keen on educating people about it. For him, it is important to clearly understand the theory before putting it into practice and passing it on to others.


Farming is believed to be difficult and exhausting. That is why some farmers give up before they reach success. This challenge can, however, be met by adopting the New Theory of Agriculture proposed by the late King Rama IX. “To do farming, it is not always necessary to have a large area of agricultural land. Instead, we can practice urban agriculture such as vertical gardening as long as it is suitable to our context,” said Mr Boonrom. He added that there should also be diversity in the use of land. Boomrom has also shown that any problem can always be solved as long as we understand our contexts and view things as they really are. Adopting this approach to farming, anyone can be self-reliant and live independently and sustainably.

39 views0 comments
bottom of page