ความเหนื่อยล้าในสังคมเมือง การแข่งขัน ทำให้หลายคนมองหาหนทางที่จะกลับบ้านเกิด แต่เส้นทางก็ไม่ได้โรยด้วยกลับกุหลาบ บางที่ก็ยากเหลือเกินที่จะกลับไปทำอะไรให้งอกเงยได้ มีเพียงวิถีแห่งการเกษตรเท่านั้น จึงเป็นโจทย์ท้าทายของคนที่หัวใจอยากกลับบ้าน ด้วยความมุ่งมั่นผสมกับการเป็นนักพัฒนาและใจที่อยากกลับไปสร้างความเจริญและความยั่งยืนที่บ้านเกิดทำให้ คุณมนูญ ทนะวัง และคุณจารุวรรณ จิณเสน คู่สามีภรรยา ตัดสินใจเดินทางกลับน่านบ้านเรา เพื่อสร้างรากฐานและความฝันให้กับชีวิตของตนเอง
สองสามีภรรยาผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นนักพัฒนา และผู้บุกเบิกเกษตรแนวใหม่ในชุมชน เจ้าของธุรกิจการทำไร่ โกโก้ วัลเล่ย์ ซึ่งเป็นธุรกิจทางการเกษตรที่สามารถต่อยอด สร้างอาชีพและรายได้ให้กับครอบครัว และส่งต่อให้กับคนในชุมชนอย่างยั่งยืน
หากย้อนกลับไปในชีวิตของทั้งคู่ ต่างก็คลุกคลีอยู่กับการทำเกษตรมาตั้งแต่เด็กเพราะเป็นอาชีพหลักของพ่อกับแแม่ ทำให้เข้าใจวิถีชีวิตชาวเกษตร เข้าใจหลักการการทำการเกษตรพื้นฐาน ทำให้ทั้งคู่เชื่ออย่างสนิทใจว่า “เกษตรกร” คืออาชีพที่มั่นคง และสามารถเป็นอาชีพหลักที่หาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องและยังเผื่อแผ่ไปยังผู้อื่นได้อย่างดี ทำให้ทั้ง 2 คนตั้งใจที่จะทำการเกษตรแนวใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมกลุ่มคนในยุคปัจจุบัน การสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ให้กับชาวบ้านจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดการพัฒนาของชุมชน เพราะการพัฒนาในชุมชนจะเกิดขึ้นได้ต้องร่วมด้วยช่วยกันทั้งชุมชน ไม่ใช่การทำแบบตัวใครตัวมัน แต่การปรับตัวและเปลี่ยนแปลงความคิดของเกษตรกรในชุมชนนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย กลับกลายเป็นอุปสรรคในการเริ่มต้นทำสิ่งที่ท้าทายและไม่คุ้นชิน
“เราพยายามที่จะให้ชาวบ้านเข้าใจเรื่องของการเกษตรวิถีใหม่ เรื่องของการนำการเกษตรมาเป็นจุดเปลี่ยนวิถีชีวิต และการบูรณาการเพื่อสร้างความยั่งยืนให้ทุกคนอยู่ได้ เราต้องการพัฒนาบ้านเกิดของเราให้มีทั้งแหล่งเกษตรและการท่องเที่ยวไปในตัว ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงนี้จึงเป็นงานแรก ๆ ที่เราต้องทำคือการสื่อสาร ผสมผสานกับกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงวิถี ซึ่งก็ได้รับการร่วมมือเป็นอย่างดี”
การให้วิถีเกษตรนำทางแล้วใช้ความรู้มาพัฒนา จากนั้นสร้างเครือข่ายการแบ่งปัน ผมว่านี่คือ...สังคมที่ยั่งยืน
สิ่งที่สองสามีภรรยาช่วยกันสร้างในพื้นที่การเกษตรของตนจนเป็นภาพจำในปัจจุบัน คือการปลูก “โกโก้” ซึ่งเป็นพืชที่ได้รับนิยมในต่างประเทศ แต่สำหรับประเทศไทยนั้นถือว่าเป็นพืชที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักหรือปลูกมากนัก เพราะเป็นพืชต่างถิ่นที่ค่อนข้างปลูกยากและเกษตรกรไทยยังขาดความรู้เรื่องการปลูกพืชชนิดนี้ ในขณะที่ตลาดบ้านเราก็ยังไม่ตอบโจทย์ในเรื่องผลผลิตและการสร้างรายได้ สิ่งนี้เองที่เป็นความท้าทายครั้งใหม่ในอุตสาหกรรมการเกษตรไทย จนทำให้ “มนูญ” และ “จารุวรรณ” จับมือกันบินลัดฟ้าไปไกลถึงต่างประเทศ เพื่อศึกษาหาความรู้เรื่องการปลูกโกโก้อย่างจริงจังและนำความรู้ที่ได้กลับมาพัฒนาการปลูกโกโก้ในประเทศไทยให้เป็นไร่โมเดลทางธุรกิจ ที่มีครบทุกองค์ประกอบทั้งตัวไร่ รีสอร์ตและคาเฟเพื่อเปิดรับนักท่องเที่ยว
ทั้งคู่ยังบอกอีกว่า กลยุทธ์การสร้างความเข้าใจในการปลูกโกโก้ให้ชาวบ้าน จำเป็นต้องใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และอุปกรณ์ IT มาเป็นตัวช่วย เพื่อการสร้างองค์ความรู้สู่ชาวบ้านเพื่อให้ได้รับความรู้และเห็นภาพชัดเจน รวมถึงการใช้เทคนิคการทำเกษตรอินทรีย์ในแบบที่ไร้สารเคมีเจือปน ตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกไปจนถึงการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ผลผลิตที่ปลอดสารพิษและได้มาตรฐาน อีกทั้งยังใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชันและสื่อออนไลน์มาสร้างรากฐานขยายช่องทางการตลาดและการส่งออกไปในระดับสากล นับเป็นการใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรให้เกิดผลสัมฤทธิ์แบบมีประสิทธิภาพ
การมองหาสิ่งที่รักผสมกับการลงมือทำอย่างจริงจังทำให้สองสามีภรรยาสามารถที่จะสร้างมูลค่าของพื้นที่บ้านเกิด จนทำให้หลาย ๆ คนอยากที่จะไปสัมผัสไร่โกโก้แห่งเมืองไทยสักครั้ง จนนำไปสู่การร่วมมือในการพัฒนาชุมชนก่อเกิดเป็นความยั่งยืน
Manoon Thanawang and Jaruwan Jinasen | Cocoa Valley Group Co., Ltd.
Agriculture paves the path for community development and the creation of a sustainable society.
“If we use agricultural models as a guideline to enhance knowledge and development and to create a network of sharing, it will make a sustable society."
Many individuals have sought means to leave their competitive life in the city behind and return to their hometown. Agriculture appears to be the only option for Mr. Manoon Thanawang and Miss Jaruwan Jinasen. They chose to return to Nan Province to fulfill their longing. They are both regarded in the community as developers and pioneers of innovative agriculture.
The duo have been active in agriculture since they were children because it is their parents’ principal occupation. Agriculture, they believe, will be the principal source of income for their families and the others in their community. Cocoa is not commonly recognized or produced in Thailand since it is a foreign plant that is difficult to cultivate. It was a challenging issue in Thai agriculture, prompting them to travel abroad to learn about cocoa production. They then returned to Thailand to promote cocoa planting as a farming business model, replete with farm resorts and cafés for tourism.
The pair also stated that developments in technology and IT equipment are required to help peasants comprehend cocoa production. It is also encouraging to utilize organic agricultural practices that do not use any chemical additions. All processes may benefit from the usage of apps and online media to provide the cooperation for international marketing. The Cocoa Valley group can increase the value of the local region, attracting many visitors to visit Thailand’s cocoa plantations at least once. This leads to collaboration in community development in order to achieve sustainability.
ความคิดเห็น