การกระจายอำนาจการเงิน การคลัง งบประมาณ ถือเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้การกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นบรรลุเป้าหมาย การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการคลัง ไม่ใช่เพียงแค่การเพิ่มรายได้ให้แก่ท้องถิ่น แต่ต้องให้สมดุลกันระหว่างภาระหน้าที่กับขนาดรายได้ที่เหมาะสมของ อปท. หากจะพูดถึงการกระจายอำนาจของท้องถิ่นก็คงไม่ใช่เรื่องใหม่นัก มีนักวิชาการหลายคนที่มาขับเคลื่อนเรื่องนี้กันอย่างจริงจัง หนึ่งในนั้นคือ ศ. ดร.ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของการคลังท้องถิ่น เพราะเชื่อว่าการจะพัฒนาท้องถิ่นเรื่องของเงินในกระเป๋าก็มีความสำคัญไม่ใช่น้อย
อาจารย์ดิเรกเล่าว่า ความสามารถในการจัดเก็บรายได้ อปท. บางแห่งมีฐานภาษีกว้างและมีแหล่งรายได้หลายประเภท ในขณะที่บางแห่งมีฐานภาษีแคบกว่าและมีแหล่งรายได้ที่จำกัด ความพยายามที่จะสร้างความเสมอภาคทางรายได้ (income equity) ระหว่าง อปท. อย่างเท่า ๆ กัน โดยไม่คำนึงถึงภารกิจและความรับผิดชอบการใช้จ่ายที่เกิดจากข้อกำหนดของกฎหมายที่ อปท. ต่าง ๆ ต้องรับผิดชอบดูแล ไม่ได้ทำให้เกิดความเท่าเทียม (equalization) ระหว่าง อปท. ดังนั้นวิธีการจัดสรรรายได้ที่ผ่านมาจึงเป็นการบิดเบือน (distortion) รายได้ที่แต่ละ อปท. ได้รับ
“ผมว่าเรายังมีเรื่องของความเหลื่อมล้ำทางการคลังระหว่างเมืองกับชนบทอยู่มาก อย่าง อบต. โดยธรรมชาติก็จะเก็บรายได้ได้น้อยอยู่แล้ว เพราะพวกสถานประกอบการ ร้านค้าต่าง ๆ จะมีน้อยกว่าเทศบาล และยังได้รับเงินอุดหนุนต่อหัวต่อคนน้อยกว่าเทศบาล ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การพัฒนาท้องถิ่นของเรายังเดินได้อย่างล่าช้า”
อาจารย์ดิเรกบอกอีกว่า การจะขับเคลื่อนเรื่องนี้ต้องมีข้อมูลที่ดี จึงได้ร่วมกับเพื่อนนักวิจัยสร้างทีมเพื่อทำการศึกษาอย่างจริงจัง และได้พยายามชี้ให้สังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นถึงเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการคลังท้องถิ่นที่กำลังเป็นอยู่ และสื่อสารออกสู่สังคมผ่านการใช้การสื่อสารสาธารณะ ด้วยการนำข้อมูลที่ศึกษามาย่อเป็นบทความสั้น ๆ และนำเสนอในหนังสือพิมพ์ วารสาร หรืองานวิชาการต่าง ๆ จนได้รับความสนใจจากหน่วยงานภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ และยังได้มีโอกาสนำองค์ความรู้เข้าไปทำงานร่วมกับคณะกรรมการกระจายอำนาจ
การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ต้องให้คน ให้เงิน และต้องให้อิสระทางการคลังเพื่อการขับเคลื่อนที่แท้จริง
จากแนวทางที่ศึกษาทำให้พบว่า การจะแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการคลังท้องถิ่นให้ยั่งยืน จำเป็นต้องมีการปฏิรูปตั้งแต่ความคิดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลดอคติที่มีต่อชนบท การจัดสรรเงินอุดหนุนที่ควรได้อย่างเท่าเทียม รวมทั้งต้องมีการปฏิรูปเรื่องภาษีที่ควรกระจายลงท้องถิ่นอย่างทั่วถึง ไม่ควรกระจุกอยู่เฉพาะในกรุงเทพฯ กิจการหลายอย่างที่มีสาขาอยู่ทั่วประเทศ บางอย่างฐานการผลิตอยู่ที่ต่างจังหวัด แต่เวลาเก็บภาษีก็มาเก็บรวม ทำให้ท้องถิ่นที่เป็นพื้นที่ผลิตจริง ๆ เสียประโยชน์ที่จะได้รายได้จากภาษีไปพัฒนาท้องถิ่น บางครั้งเงินบางจำนวนถ้ามารวมอยู่ในกรุงเทพฯ ก็อาจเป็นจำนวนเล็กน้อยเมื่อเอาไปทำอะไรก็อาจจะไม่รูปธรรมมากนัก แต่ถ้าเงินจำนวนดังกล่าวได้กระจายลงท้องถิ่นก็จะทำประโยชน์ได้มหาศาล
“ผมว่าการทำงานของผมและทีมงานมีความก้าวหน้ามาก เรามีเครือข่ายท้องถิ่นจากการที่เขาเห็นว่าเราตั้งใจจริง ตอนนี้มีท้องถิ่นที่หลายที่เราได้รับความร่วมมือ และทำงานร่วมกันในการขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างจริงจังและเชื่อมั่นว่าในอนาคตเรื่องการคลังท้องถิ่นจะได้รับการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทที่แท้จริง ก่อให้เกิดการพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืนและเป็นธรรม”
ในวันนี้ความตั้งใจขับเคลื่อนเรื่องความเหลื่อมล้ำของการคลังท้องถิ่นของอาจารย์ดิเรก ได้ผลิดอกออกผล หน่วยงานภาครัฐและท้องถิ่นได้ขานรับแนวทาง และช่วยกันออกมาขับเคลื่อนเพื่อให้ท้องถิ่นได้มีเงินในกระเป๋าที่จะนำไปพัฒนากิจกรรมสาธารณะที่จำเป็นต่อประชาชน และเป็นหลักประกันว่าพลเมืองไทยทั่วประเทศจะได้รับบริการสาธารณะท้องถิ่นที่มีมาตรฐาน
Prof. Dr.Direk Pattamasiriwat | National Institute of Development Administration
Local development is the foundation for national development
“Decentralization of power and financial liberty are the true driving force of local development.”
This idea was proposed by Prof. Direk Pattamasiriwat, National Institute of Development Administration (NIDA). To tackle the issue of uneven development in the local areas, he emphasizes the idea of ‘pocket money’. “Money is key to development so local financial bureaus must be subsidized with enough budget.”
To be able to do justice to each local financial bureau and meet income equity, Direk urges the government to take into consideration the responsibility and income sources of each area. The problems Thailand is facing today stem from unjust budget division between the city and the country. The head count in a small sub-district, for example, is much less, meaning small financial support for it. This explains why local development is going very slowly.
Publications in newspapers, journals and other public platforms have played a significant role in disseminating information and as a result, drawn attention from both central and local governmental offices. Direk posited that if the government is serious about addressing the issues of uneven development, then the reform must start from the very mindset of those involved, changing the way the countryside is being looked at, the way the budget is split and the way the tax is used, not just for the big city like Bangkok. “If we could achieve this decentralization, we would have sustainable and fair local development,” concluded Direk.
Commentaires