top of page
  • Writer's pictureNIA 100 FACES

พลตำรวจโท กรไชย คล้ายคลึง | รู้เท่าทันภัยไซเบอร์ ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน มีสติ

Updated: May 17, 2023




ความก้าวล้ำของโลกเทคโนโลยีที่เติบโตแบบก้าวกระโดด ทำให้หลายคนรู้ไม่เท่าทัน เกิดมิจฉาชีพทางไซเบอร์หลอกลวงผู้คนมากมาย ดังนั้นการสร้างความตระหนักในการใช้โลกออนไลน์อย่างระมัดระวังจึงเป็นภารกิจสำคัญของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะออกมาเป็นวัคซีนให้กับสังคม


พลตำรวจโท กรไชย คล้ายคลึง หรือ บิ๊กแจง ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือตำรวจไซเบอร์ นับว่าเป็นผู้การตำรวจไซเบอร์คนแรกของประเทศไทย ผู้ตอกย้ำให้ประชาชนระวังภัยไซเบอร์ภัยจากมิจฉาชีพกลโกงทางออนไลน์ด้วย “สติ”


พลตำรวจโท กรไชยยอมรับว่า การบังคับใช้กฎหมายยังมีอุปสรรคเพราะกฎหมายไทยยังไม่ทันสมัย ยังมีช่องว่างให้หลายกลุ่มเข้ามาหากิน ผู้กระทำความผิดก็มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี มีช่องทาง

โซเชียลมีเดียหลายแพลตฟอร์ม สามารถสร้างแบบใหม่ออกมาเรื่อย ๆ และเกิดปัญหาภัยไซเบอร์คลาม เพราะทุกคนก็ใช้ทุกโอกาส


ปัจจุบันสิ่งที่น่ากลัวคือมีแอปพลิเคชันฟรีที่ทำให้แฮ็กเกอร์เข้ามาแฝงตัว มีการหลอกให้ลงทุน หลอกให้หลงรักและหลอกให้โอนเงิน ดังนั้นจำเป็นอย่างมากที่หน่วยงานด้านไซเบอร์ต้องทำงานเชิงรุก นับเป็นความท้าทายในการเข้าแก้ปัญหา เพราะกองบัญชาการตำรวจไซเบอร์เพิ่งตั้งขึ้นมาเมื่อปีงบประมาณ 2564 ยังต้องมีการลงทุนด้านเทคโนโลยีเพื่อให้เท่าทันโจรไซเบอร์


พลตำรวจโท กรไชยเล่าว่า ความรุนแรงของภัยไซเบอร์รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และมีการเปลี่ยนรูปแบบขยายวงกว้างถูกหลอกแบบก้าวกระโดด หน่วยงานจึงต้องมีการเรียนรู้ทักษะทางดิจิทัล นับเป็นการเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้ครั้งสำคัญของวงการตำรวจไซเบอร์ของไทย


“ผมมองเรื่องของการพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้แข็งแรง ให้เก่ง ตำรวจไซเบอร์หยุดพัฒนาไม่ได้ หากเราหยุดแม้เพียงนาทีโจรผู้ร้ายก็จะก้าวนำเราไป จึงเป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่ง”


ปัจจุบันมีผู้แจ้งความประเมินความเสียหายอยู่ที่ 6,624 ล้านบาท เฉลี่ยเดือนละ 1,500 ล้านบาท โดยรูปแบบการหลอกให้ลงทุนสร้างความเสียหายเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือแก๊งคอลเซนเตอร์ และหลอกมัดจำให้ซื้อสินค้าออนไลน์



ยิ่งโลกที่ทันสมัยมาก ยิ่งต้องระมัดระวังมาก เราต้องรู้เท่าทันภัยไซเบอร์ถ้ามีสติ ก็ไม่เสียสตางค์

พลตำรวจโท กรไชยยังกล่าวต่อไปว่า สิ่งที่จะเป็นปราการป้องกันเรื่องเหล่านี้ได้นอกจากความร่วมมือของทุกฝ่ายแล้ว ที่สำคัญอยู่ที่สติ โดยงานนี้นอกจากจะทำงานหลังบ้านเชิงรุกในการแก้ไขปราบปรามแล้ว ยังเน้นการให้ความรู้เพราะเชื่อว่าการย้ำเตือนให้เข้าใจจะเป็นการป้องกันได้ดีกว่ามานั่งแก้ไข


“ผมไม่เคยภูมิใจเลยที่จับผู้ต้องหาและมูลค่าความเสียหายมาก ๆ แสดงว่าประชาชนยังถูกหลอกอยู่ ความร่วมมือป้องกันเป็นเรื่องที่ดีที่สุด จึงขอย้ำว่า ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน ไม่ถูกหลอก อย่ากลัว ไม่โลภ ไม่หลงและต้องมีสติ แจ้งความให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ขอให้ลูกหลานกลับไปดูแลผู้สูงอายุ พ่อแม่ปู่ย่าตายายด้วย เพราะอยู่ในข่ายที่ถูกหลอกมากที่สุด”


ตำรวจไซเบอร์ไม่เพียงแต่เป็นที่พึ่งพิงของประชาชนที่เดือดร้อนจากการเติบโตของเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังสร้างการเปลี่ยนแปลงให้สังคมในการเป็นผู้นำด้านการสร้างทั้งองค์ความรู้ให้ประชาชนรู้เท่าทัน รู้ป้องกัน และรู้แก้ไข เพื่อลดปัญหาอาชญากรรม พลตำรวจโท กรไชยยังย้ำว่า สังคมจะสงบสุขเมื่อผู้บริหารประเทศและผู้ถือกฎหมายสามารถใช้เครื่องมือเหล่านี้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยมุ่งเพิ่มองค์ความรู้ จัดหาเครื่องมือที่ใช้งานได้จริง บังคับใช้ และมุ่งมั่นแก้ไข


วันนี้กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงองค์กรให้เป็นองค์กรสมรรถนะสูง เพื่อให้เป็นองค์กรที่ทันสมัย เท่าทันภัยทางเทคโนโลยี


 

Pol.Lt.Gen. Kornchai Klaiklueng | CyberCrime Investigation Bureau Commissioner

Know the cyber threats better. Don’t believe, don’t rush, don’t transfer and keep calm


“As the extent of information increases and becomes more global, so should one’s level of precaution. Consciousness is the key to protecting oneself against cybersecurity threats.”


The speed of technological progress in the modern world seems to have surpassed our cognizance of cybersecurity threats and online abuses. Raising awareness on the careful use of online communication technologies thus becomes pivotal mission for the government and relevant agencies. In Thailand, this uncharted territory is tackled by the country’s first cyber patrol, Police Lieutenant General Kornchai Klayklueng.


Kornchai’s job as the commissioner of the Cyber Crime Investigation Bureau (CCIB), whose mission is to protect people from said crimes, is far from easy. Current legal systems still have many loopholes that can be easily seized by criminals with computer and technological proficiencies. The increasing variety and tactility of online communication channels make charging these criminals a nearly impossible task. With the massive extent of online information and users, each successive crime has more widespread impacts and becomes more frequent and complex. The advent of free and online communication platforms creates a favorable environment for hackers and scammers to steal personal information and large sums of money from the users.


The emergence and severity of cybercrimes trigger the need for radical change to how the prevention of such crimes should be approached. Beyond the subjugation of these crimes, cyber patrols also have the mission to promote understanding and raise awareness among the public. “Making arrests give me no pride because people can still fall victim to this sort of crimes. As the saying goes, prevention is better than cure.”
























































18 views0 comments
bottom of page