top of page
  • Writer's pictureNIA 100 FACES

ขวัญจิตร เลิศศิริ | อนุรักษ์งานศิลป์ สร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อเก็บรักษาคุณค่า

Updated: May 16, 2023




หากเอ่ยถึงอาชีพนักอนุรักษ์ เชื่อว่าหลายคนคงนึกถึงนักอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณคดี หรือนักอนุรักษ์ป่าไม้ ซึ่งเป็นอาชีพที่เรารู้จักเป็นอย่างดี และได้เห็นบทบาทสำคัญ ๆ ของอาชีพเหล่านั้น แต่หากเอ่ยถึง “นักอนุรักษ์งานศิลปะ” เชื่อว่าคงมีคำถามไม่น้อยว่าทำอะไร


อาจารย์ขวัญจิตร เลิศศิริ นักอนุรักษ์งานศิลปะโบราณ ผู้ที่ได้รับฉายาว่า “หมอศิลปะ” ผู้ที่เป็นทั้งนวัตกร และผู้ขับเคลื่อนผลักดันอาชีพนักอนุรักษ์ศิลปะโบราณในประเทศไทย ให้เป็นที่รู้จักและตื่นตัวถึงความสำคัญ นอกจากนี้อาจารย์ยังเป็นผู้ทุ่มเทให้กับการสร้างคนผู้ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการยกระดับอาชีพนี้ในประเทศไทยให้ทัดเทียมนานาประเทศ


อาจารย์ขวัญจิตรเล่าว่า แต่เดิมทำงานด้านศิลปะ เพราะชื่นชอบและเห็นคุณค่าในงานศิลปะ เลือกที่จะเรียนรู้ซ่อมแซมงานศิลปะ เพราะมีแรงบันดาลใจมาจากอาจารย์สมัยเรียนที่เราเห็นภาพศิลปะโบราณที่เสียหายหรือเสื่อมโทรมต้องการการซ่อมแซมรักษา คิดว่าต้องมีการวาดลงสีใหม่เพื่อให้กลับมาเหมือนใหม่ แต่วันนั้นใช้แค่น้ำยาเช็ดทุกอย่างก็กลับมาเหมือนเดิม ทำให้เข้าใจว่างานอนุรักษ์คืองานเก็บรักษาความเป็นของแท้ และเป็นงานที่ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด มีกระบวน ขั้นตอนที่ซับซ้อน ต้องเข้าใจ เรียนรู้ วิเคราะห์ทั้งงานและเครื่องมือ เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์ เกิดการรักษาสิ่งที่มีคุณค่า โดยต้องระวังทุกขั้นตอนเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายขึ้นได้


“งานนักอนุรักษ์ต่างจากงานศิลปินตรงที่ ศิลปินจะเป็นผู้สร้างสรรค์นำเทคนิคต่าง ๆ มาใส่ ส่วนนักอนุรักษ์ไม่มีสิทธิทำแบบนั้น ต้องหาหนทางทำให้งานที่มีคุณค่าจนเทียบมูลค่าไม่ได้ สามารถคงสภาพเดิมมากที่สุด”


อาจารย์ขวัญจิตรเล่าอีกว่า ปัจจุบันสังคมยังรู้จักอาชีพนี้น้อยและไม่เข้าใจความสำคัญ ซึ่งเนื้อแท้แล้วอาชีพนี้คือนวัตกร เพราะต้องคิดสร้างสรรค์อุปกร์เครื่องมือในการทำงานซ่อมแซมทุกชิ้น เพราะในแต่ละครั้งงานที่มาซ่อมก็มีความใหม่สำหรับคนทำงานเสมอ เปรียบเหมือนหมอรักษาคนไข้ที่ต้องคิดหาแนวทางในการรักษาให้ตรงและถูกต้องที่สุด จึงได้มีการจัดตั้งเครือข่ายในการให้ความรู้และร่วมกับมหาวิทยาบางแห่งในการจัดทำรายวิชาด้านงานอนุรักษ์เข้าไปในการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดความเข้าใจ รวมทั้งยังส่งเสริมให้เกิดความร่วมในแบบเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ


“เราต้องเป็นตัวสะท้อนให้สังคมเข้าใจว่านักอนุรักษ์งานศิลปะของไทยมีผู้มีความรู้ความสามารถเทียบเท่าต่างประเทศ และมีความสำคัญ หน่วยงานรัฐมีเอกสารเก่าๆ ที่ต้องเก็บรักษาแบบดั้งเดิมมากมาย มีความสำคัญเชิงประวัติศาสตร์ นี่คือหนึ่งในอาชีพที่ทุกกระทรวง ทบวง กรมควรมี ดังนั้นควรพิจารณาปรับโครงสร้างเพื่อเปิดรับตำแหน่งงานนักอนุรักษ์ เพื่อเป็นการเปิดกว้างให้ผู้ที่เรียนจบมาแล้วมีโอกาสในการทำงาน ไม่ใช่เรียนจบมาแล้วไม่มีงานรองรับ อาชีพนี้ก็จะหายไป”


เมื่อเราต้องรักษาความเป็นของแท้ เราก็ต้องนำทฤษฎี มาสู่การปฏิบัติเพื่อหานวัตกรรมในการอนุรักษ์

อาจารย์ขวัญจิตรยังเล่าต่อว่า วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ในงานอนุรักษ์มีราคาสูงและบางชิ้นก็ไม่เหมาะสมกับงานของไทย จึงทำให้เกิดการแก้ปัญหาโดยคิดค้นสร้างอุปกรณ์ที่ใช้งานเองจากธรรมชาติและสิ่งที่มีในประเทศไทย ที่ประสบความสำเร็จคือกาวมะขามที่สามารถทำให้การซ่อมแซมภาพที่เสียหายได้อย่างดี


อาชีพนักอนุรักษ์งานศิลปะ จึงไม่ใช่แค่เรื่องของงานซ่อมอย่างที่เข้าใจ และนับวันก็จะเลือนหาย จึงจำเป็นที่หน่วยงานการศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องส่งเสริมสนับสนุนเพื่อให้เป็นอาชีพที่ยั่งยืนของไทยและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องส่งไปซ่อมยังต่างประเทศ ปัจจุบันอาจารย์ขวัญจิตรได้พยายามสร้างการรับรู้และเป็นกระบอกเสียงให้อาชีพนี้ด้วยการสื่อสารออนไลน์ ทั้งการให้ความรู้เรื่องการเก็บรักษาภาพ การซ่อมแซมบางประเภทที่ทำได้เอง รวมทั้งจัดอบรมให้กับผู้ที่สนใจในหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งยังผลทำให้เกิดอาชีพที่ต่อเนื่องจากงานอนุรักษ์ เช่น อาชีพรับฝากภาพโบราณหรือภาพที่มีมูลค่าสูง เนื่องจากเจ้าของภาพอาจไม่มีพื้นที่เก็บที่เหมาะสม ซึ่งจะส่งผลต่องานชิ้นนั้นเสื่อมสภาพเร็ว นับเป็นการเพิ่มโอกาสให้สังคม


งานอนุรักษ์ศิลปะโบราณ เป็นอาชีพที่ช่วยธำรงรักษาเรื่อวราวประวัติศาสตร์ ความทรงจำที่ไม่อาจประเมินค่าได้ ต้องผ่านขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบจึงเป็นอาชีพที่ควรได้รับการส่งเสริมไม่ให้เลือนหายเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของสังคม


 

Kwanjit Lertsiri | Curator

Innovation in art conservation to maintain its value


“Conservationists are different from artists. Ignore, but we have to keep it authentic, put theory into practice to find innovation.”


Ajarn Kwanjit Lertsiri, an ancient art conservator known as the “Art Doctor,” is both an inventor and a driving force behind Thailand’s ancient art preservation activities. She recalled that she first worked in the art industry because she enjoyed and recognized the value of art. The maintenance of authenticity is known as conservation. “The work is not as simple as you may believe since complicated processes, art pieces and instruments must be comprehended, studied, and examined thoroughly.


Currently, society has little understanding about this occupation and does not recognize its significance. In essence, this is an imaginative career since one must be creative with equipment for each artwork. Each repair job is unique for the technicians. As a result, a network has been formed to educate and collaborate with universities in the preparation of conservation courses. It also stimulates collaboration in a network both inside and outside of the country. This occupation involves more than merely restoration labor. As a result, education agencies and other involved parties must be encouraged to develop a sustainable career in Thailand. At the same time, money can be saved if the artwork does not have to be sent abroad for reparation.


Kwanjit is now attempting to raise awareness and be the voice of this profession using online communication channels, both to teach about self-preservation and to train people interested in various agencies. To her, art conservation is a profession that aids in the preservation of history and valuable memories.




































































15 views0 comments
bottom of page