top of page
  • Writer's pictureNIA 100 FACES

เล็ก กุดวงศ์แก้ว | นิยามการใช้ชีวิตคือ การเปลี่ยนแปลงโดยไม่เปลี่ยนแปลง

Updated: May 13, 2023




การใช้ชีวิตให้สามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืนนั้นแท้จริงแล้วคือการใช้ชีวิตอย่างเป็นธรรมชาติและอยู่กับธรรมชาติ ไม่เกิดการเบียดเบียน ทำให้ได้เห็นการวมกลุ่มของชาวบ้านโดยมีปราชญ์ชาวบ้านเป็นผู้นำในการพิทักษ์รักษาและเพิ่มเติมเพื่อไม่ให้เสื่อมสลายหายไป จนก่อเกิดเป็นแนวคิดการเกษตรเชิงอนุรักษ์


นายเล็ก กุดวงศ์แก้ว หรือ พ่อเล็ก ปราชญ์ชาวบ้านแห่งบ้านกุดบาก และผู้ก่อตั้งเครือข่ายเกษตรอินแปง จังหวัดสกลนคร ผู้เอาจริงเอาจังกับการน้อมนำแนวความคิดด้านเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรยั่งยืน เศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจวัฒนธรรม มาสร้างให้เกิดเป็นรูปธรรม โดยแนวทางการปฏิบัติดังกล่าวเกิดจากกระบวนการเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกับธรรมชาติศึกษาลดการเห็นแก่ตัวและเห็นแก่ผู้อื่นมากขึ้น


พ่อเล็กเล่าว่า “เครือข่ายกลุ่มอินแปง” ก่อตั้งขึ้นมาได้ 36 ปีแล้ว เริ่มตั้งแต่ปี 2530 เพื่อแก้ปัญหาหนี้สินให้กับชาวบ้าน สามารถปลูกพืชกินได้ เกิดประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และเมื่อเหลือก็แบ่งปัน “ศูนย์อินแปงประกอบด้วยชุมชน 7 อำเภอรอบเทือกเขาภูพาน เป็นตัวอย่างของชีวิตที่งดงาม เป็นชีวิตที่ถนอมรักธรรมชาติ ถนอมรักคน ถนอมรักการอยู่ร่วมกัน ถนอมรักวัฒนธรรม และมีจิตใจที่เกื้อกูลกัน


ปัจจุบันครูเล็กสามารถสร้างเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อการพึ่งพาตนเอง พึ่งพาธรรมชาติด้วยความเคารพ กว่า 300 หมู่บ้าน 94 อำเภอ ในจังหวัด 3 จังหวัด และเป็นคณะกรรมการและวิทยากรให้หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ หน่วยงานเอกชน และองค์กรชาวบ้านหลายแห่งทั่วประเทศ


“เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เรื่องใหม่เป็นเรื่องที่ทำกันมานานแล้ว แต่เพียงเปลี่ยนวิธีการคิดให้สามารถอยู่ได้ไม่เป็นหนี้ในการปลูกพืชเกษตร พร้อมยึดหลักคำสอนของพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นคำสอนเดียวกับคำสอนทางศาสนา ปัจจุบันเราต้องทำเรื่องปลูกป่าด้วย ป่าเป็นอาหาร ป่าเป็นอากาศ ป่าเป็นอารมณ์ ให้ความชุ่มชื้นกับแผ่นดิน เช่น การปลูกป่า 3 อย่างแต่ให้ประโยชน์ 4 อย่าง ซึ่งได้ไม้ผลไม้สร้างบ้าน และไม้ฟืนนั้น สามารถให้ประโยชน์ได้ถึง 4 อย่าง คือ นอกจากประโยชน์ในตัวเองตามชื่อแล้ว ยังสามารถให้ประโยชน์อันที่ 4 ซึ่งเป็นข้อสำคัญ คือ สามารถช่วยอนุรักษ์ดินและต้นน้ำลำธารด้วย พูดให้เข้าใจง่าย ๆ คือ ปลูกไม้ให้พออยู่ พอกิน พอใช้ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ซึ่งคำว่า พออยู่ นั้นหมายถึงไม้เศรษฐกิจปลูกไว้ทำที่อยู่อาศัย และจำหน่าย ส่วน พอกิน หมายถึงปลูกพืชเกษตรเพื่อการกินและสมุนไพร พอใช้ หมายถึง ปลูกไม้ไว้ใช้สอยโดยตรงและพลังงาน เช่น ไม้ฟืน และไม้ไผ่ เป็นต้น และประโยชน์ต่อระบบนิเวศ คือ สร้างความสมบูรณ์และก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่า”


เราต้องพึ่งพาตนเองและธรรมชาติด้วยความเคารพ และสานต่อมิตรให้เป็นพลังขับเคลื่อนวิถีชีวิตอย่างไทย

นอกจากนี้ ครูเล็กยังให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้สู่การปฏิบัติจริง โดยใช้วิธีการรวมกลุ่มเพื่อสร้างเครือข่ายสร้างมิตร ซึ่งคือการสร้างพลังที่สำคัญ มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ ปลูกจิตสำนึก พร้อมขยายเครือข่ายการเรียนรู้สู่เยาวชน เพราะครูเล็กเห็นว่าเยาวชนเป็นมันสมอง เป็นกำลังของประเทศชาติ และการสร้างสังคมที่ยั่งยืน เสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว ต้องปลูกฝังตั้งแต่เด็ก และต้องสอนเด็กให้รู้จักการใช้ชีวิตที่พอดีและพอเพียง จนก่อเกิดกลุ่มเยาวชนจำนวนมากที่แพร่ขยายเพิ่มเติมจากกลุ่มอินแปงในปัจจุบัน


ความอุดมสมบูรณ์ที่ครูเล็กสร้างขึ้นไม่ใช่ความบังเอิญ หากแต่เกิดจากการบูรณาการองค์ความรู้ของศาสตร์ต่าง ๆ ได้อย่างลงตัว นำมาซึ่งการเป็นเป็นผู้นำโดยธรรมชาติ การเป็นตัวอย่างของชีวิตที่งดงาม อยู่อย่างไทย พึ่งพาตนเอง ที่สำคัญที่สุดคือพึ่งพาธรรมชาติด้วยความเคารพ


แนวคิดทางพุทธศาสนาผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น การเกษตรคือต้นทางของอาหารการกิน เกษตรเชิงอนุรักษ์คือคำตอบของความมั่นคงทางอาหาร ฉะนั้นแล้วเราจึงต้องรู้จักกับคำว่า “พอเพียง” คือ กินให้อิ่ม นอนให้หลับ และรับผิดชอบต่อโลกใบนี้ร่วมกัน


 

Lek Kudwongkeaw | Village Sage

Change without change: The fundamental of life


“Self-reliance, respecting nature and building friendship to drive the Thai society forward”


Essentially, sustainable living is living naturally with nature. It requires strong kinship system, community support and the village sage in protecting and preventing nature from dying away. From this idea, the concept of conservation agriculture has emerged. Lek, a village sage from Kud Bak village and the founder of In Pang Agriculture network, has integrated the principles of Sufficiency Economy, Sustainable Agriculture and Community Economy and Cultural Economy to create a more selfless way of life. To help the villagers attain a sustainable way of life, Lek’s In Pang network which was founded 36 years ago, encourages the locals to grow their own crops. The crops are not only the source of food for the villagers and the community, they also eliminate farm debts. Comprising of seven communities around the Phu Phan Mountains, In Pang Network sets a great example of nourishing and loving lifestyle towards nature, humans and culture.


Lek’s insights regarding self-reliance and sustainability, together with the principle of sufficiency economy which is similar to the teachings of Lord Buddha have translated into a huge network of over 300 villages practicing conservation agriculture. Thanks to Lek, the villagers learn to plant forest as forest is life. They grow three kinds of tree that can have a lot of benefits: fruit trees,

timber tree and firewood tree. Besides their consumption purposes, the trees also help in the conservation of the soil and streams. For Lek, sustainable and responsible way of life is the only solution to the problem of food security.









34 views0 comments
bottom of page