ความพิการอาจเป็นข้อจำกัดการใช้ชีวิตของใครหลายคนที่จำกัดความสามารถไปด้วย ทั้งที่จริงผู้พิการเต็มไปด้วยความฝัน ความสามารถในการที่จะทำทุกอย่างในสังคม หากแต่ความกลัว ความไม่มั่นใจในสายตาผู้คนที่มองมาจะเป็นการชื่นชมหรือสงสาร นี่คือสิ่งที่อยู่ในใจของผู้พิการ นางสาวนลัทพร ไกรฤกษ์ หรือ น้องหนู ผู้พิการตั้งแต่อายุ 7 ขวบ จากอาการป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง แต่ความพิการนี้ไม่ทำให้น้องหนูย่อท้อกับปัญหาที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด เขากลับเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังและแนวคิดบวก จนนำมาสู่อาชีพนักข่าว (สายพิการ) และได้รับการยอมรับในวงการข่าวคนพิการ ผู้ก่อตั้งเว็บไซด์ ThisAble.me ข่าวสารเกี่ยวกับคนพิการที่นำเสนอผ่านโซเซียลจนมีคนติดตามเป็นจำนวนมาก
นักข่าวสาวคนพิการ ที่คนในวงการเรียกว่า น้องหนู เล่าถึงอดีตจนมาสู่อาชีพนักข่าวว่า ตัวเองเป็นผู้พิการตั้งแต่เด็ก เมื่อจบมหาวิยาลัยเห็นประกาศรับสมัครการอบรมเขียนข่าวเพื่อสิทธิคนพิการ จึงคิดว่าตัวเองมีความใกล้ชิดและมีประสบการณ์ร่วมอยู่แล้วจึงสมัครเข้ารับการอบรม จากนั้นมีโอกาสเข้าฝึกงานในสำนักข่าวแห่งหนึ่ง แต่ตัวเองเรียนจบด้านศิลปกรรมมาซึ่งไม่มีพื้นฐานด้านงานข่าวเลย เมื่อมีโอกาสเข้ามาในค่ายได้ฝึกการเขียน ฝึกการเป็นบรรณาธิการ จนพี่ ๆ มีความมั่นใจว่าเราสามารถทำได้ จึงผลักดันให้มีแพลตฟอร์มเพื่อปล่อยของ ในตอนนั้นเห็นว่าปัญหาคนพิการไม่ค่อยมีพื้นที่ในสื่อ ที่ผ่านมาอาจจะมีบ้างแต่อยู่ในภาพลักษณ์ของความน่าสงสาร มีแต่ข่าวเพื่อรับบริจาค ซึ่งมองว่าภาพลักษณ์เหล่านั้นไม่ได้ส่งเสริมคนพิการให้ถูกต้อง ดังนั้นสิ่งที่อยากทำจริง ๆ คือทำให้เกิดพื้นที่มองคนพิการเท่าเทียมกับคนทั่วไป สามารถนำเสนอประเด็นคนพิการในลักษณะไม่ต้องรู้สึกน่าสงสารว่าโชคร้ายที่เกิดมาพิการ
“เรามีความเชื่อตั้งต้นว่าคนทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกันและเชื่อต่อไป ไม่ว่าจะเป็นคนพิการหรือไม่ก็ต้องดำรงชีวิตต่อไปได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกับคนอื่น ดังนั้นแนวคิดแบบสงเคราะห์ หรือคิดว่าคนพิการน่าสงสารต้องได้รับความช่วยเหลือ จึงไม่เกิดขึ้นในพื้นที่ของเรา แนวคิดที่ใช้ทำงาน คือแนวคิดเชิงสังคมหรือโซเชียลโมเดลที่ใช้กับประเด็นคนพิการ เราไม่ได้มองว่าคนพิการจะต้องขวนขวายเพื่อให้ตัวเองกลับมาเดินได้ หรือให้หายหูหนวก มองว่าคนเรามีความแตกต่างกันได้ในทุก ๆ เรื่อง เพราะฉะนั้นสิ่งที่ต้องสนับสนุนคือ สภาพแวดล้อมทางสังคมต่างหากที่ต้องปรับเพื่อให้ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันในพื้นที่เดียวกันได้ ดังนั้นเพจส่วนใหญ่จะพูดถึงแนวคิดเชิงสังคม แนวคิดบนฐานสิทธิมนุษยชน หรือสังคมที่หล่อหลอมทุกคนมากกว่าการพูดว่าความพิการเป็นความทุกข์ยากแบบปัจเจก เรามุ่งเชิงโครงสร้างมากกว่า”
สิ่งที่อยากทำจริง ๆ คือ การสร้างพื้นที่สำหรับคนพิการ ให้มีความเท่าเทียมกับคนทั่วไป เราอยากนำเสนอว่า คนพิการไม่ได้เป็นคนน่าสงสารแต่เป็นคนมีสิทธิ
เพจ ThisAble แปลว่าคนพิการ แต่ในปัจจุบันไม่นิยมใช้กัน ในต่างประเทศเองจะใช้คำว่า Person Disability เพื่อเน้นย้ำว่าคนพิการก็คือคนคนหนึ่งที่มีความพิการทางด้านร่างกาย แต่ไม่ใช่คนพิการ ยังมีความเป็นคนเหมือนเดิมที่มีความพิการเท่านั้นเอง เมื่อนำมาตั้งชื่อเว็บไซต์ เปลี่ยนคำนิยามนี้เช่นกัน ThisAble ถ้าเป็นสิ่งของ แปลว่า ของที่พังใช้ไม่ได้ จึงอยากเล่นคำนี้จึงใช้ ThisAble แปลว่า นี่แหละสิ่งที่ฉันทำได้ ส่วนคำว่า .me เมื่อนำมารวมกันแปลว่า นี่แหละความสามารถของฉัน
ความพิการในวันนี้จึงเกิดมุมมองใหม่ที่สวยงาม ทำให้เห็นการสร้างคุณค่าในตัวเองและบอกต่อสังคม และส่งต่อการพัฒนาประเทศที่มีสังคมของผู้พิการเป็นส่วนหนึ่งในการที่ต้องคำนึงถึง นับเป็นการเปลี่ยนแนวคิดของสังคมอย่างสิ้นเชิง
น้องหนู นักข่าวสายคนพิการ ผู้วางโมเดลภาพลักษณ์ในการมองผู้พิการมุมใหม่ มุ่งมั่นที่จะสร้างการอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียม ทำให้คนพิการมีโอกาสในสังคม และคนพิการต้องเรียนรู้สังคมของคนไม่พิการด้วยว่าเป็นอย่างไร เพื่อเชื่อมโลกสองโลกให้รู้จักกันมากขึ้น
Nalutporn Krairiksh | ThisAble.me
The white pigeon media for disabled people
“What I’d really like to do is to create equal space for the handicapped. I want to reflect their aspects of life in a neutral, realistic manner.”
Miss Nalutporn Krairiksh, aka Noo, a disabled person with muscle weakness from the age of seven, is not deterred by any obstacles that have come in her way. Instead, she is full of energy and optimism, which led her into journalism for the disabled. She has been welcomed in the media sector as the founder of the website thisable.me. This means that news regarding those with disabilities shared on social media has wide readership.
Noo recalled how she became a journalist. When she finished university, she spotted an advertisement for news writing training for disabled people’s rights. She applied for the training and was later hired by a news agency. She was offered the opportunity to attend the camp and practice writing, which helped her gain confidence. Previously, there may have been a pitiable image and headlines about receiving money that did not
adequately promote individuals with disabilities. As a result, she wished to establish an environment in which people with disabilities would be equally treated. This is to show her concerns about disabilities in a way that does not make them feel wretched for being born with one.
As a journalist, she is dedicated to fostering co-existence by allowing individuals with disabilities to participate in society. When the two worlds are connected, people regardless of gender, wealth or physical conditions can get to know and support one another better.
コメント