top of page
  • Writer's pictureNIA 100 FACES

พันชนะ วัฒนเสถียร | จากพลังเครือข่ายอาสาสมัครสู่นวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยใจ เพื่อ “ให้” แบบครบวงจร

Updated: May 22, 2023




สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา เราพบฮีโร่มากมายที่ร่วมกันช่วยเหลือผู้คนในสังคมในรูปแบบต่าง ๆ จนสามารถผ่านพ้นวิกฤตมาได้ เป็นเครื่องพิสูจน์คำว่า “สามัคคีคือพลัง” อย่างแท้จริง


ตั้งแต่การระบาดครั้งแรก คุณเต้ พันชนะ วัฒนเสถียร นายกสมาคมการท่องเที่ยวเขาใหญ่ เจ้าของร้านอาหาร “เป็นลาว” ริเริ่มโครงการข้าวเพื่อหมอ “ฟู้ด ฟอร์ ไฟเตอร์” ขึ้นโดยรวบรวมอาสาสมัครที่มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเพื่อร่วมช่วยเหลือผู้คนในสังคมให้สามารถฝ่าฟันความยากลำบากไปได้ และยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง


ท่ามกลางปัญหาที่เกิดขึ้นมากมายในห้วงวิกฤตการระบาด หนทางเดียวที่คุณเต้เห็นว่าเป็นทางรอดสำหรับทุกคน คือ การร่วมมือร่วมใจกันแก้ไข สิ่งแรกที่เธอลงมือทำคือ การระดมทุนผ่านระบบคลาวด์ (Crowdfunding) เพื่อจัดหาข้าวกล่องจากร้านอาหารต่าง ๆ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานอย่างหนัก โดยใช้ชื่อโครงการ “ข้าวเพื่อหมอ” หรือ “Food For Fighters” ซึ่งได้รับการรับรองจาก UNDP อย่างรวดเร็ว


โครงการในระยะแรกเน้นดำเนินการในพื้นที่เขาใหญ่เป็นศูนย์กลาง โดยร้านอาหารที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับยอดสั่งซื้อภายใต้ระบบการคำนวณ 50 บาท คูณ 50 กล่อง โดยโครงการขอเครดิต 7 วันล่วงหน้า ซึ่งมีร้านอาหารพร้อมใจกันให้เครดิตเพื่อเข้าร่วมเครือข่ายกว่า 100 ร้าน และมีผู้ร่วมสมทบทุนดำเนินการรวมหลายล้านบาท โครงการเติบโตอย่างรวดเร็วจนมีร้านอาหารที่อยู่ในระบบมากกว่า 20 จังหวัด จึงเกิดการวางระบบจับคู่โรงพยาบาลกับร้านอาหารในพื้นที่ขึ้นอีกส่วนหนึ่ง


โครงการดำเนินไปโดยกว้างขวางขึ้นจากการจัดอาหารปิ่นโตจากผักผลไม้อินทรีย์ในพื้นที่เขาใหญ่และปากช่องเพื่อส่งตรงสู่โรงพยาบาลสนามที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยความร่วมมือจาก White Glove Delivery และ World Reward Solutions ในการสนับสนุนระบบคอลเซนเตอร์ที่ช่วยประสานรถลิมูซีนจากสนามบินที่ว่างงานมารับและส่งอาหาร นับเป็นการทำงานเครือข่ายแบบครบวงจรอย่างแท้จริง และช่วยเหลือผู้ที่กำลังเดือดร้อนในหลากหลายสาขาอาชีพ


ในช่วงโควิดรอบแรก เราทุกคนตกอยู่ในภาวะวิกฤต เหมือนบ้านเรากำลังถูกไฟไหม้ เราจำเป็นต้องช่วยกันเพื่อผ่านวิกฤตนี้ไปให้ได้

“โปรเจกต์เราไม่ได้คิดถึงผลประโยชน์เรื่องเงิน แต่เราเอาทุกอย่างมาใช้ เราประยุกต์เครือข่ายที่มีทั้งหมดมาสร้างนวัตกรรมการให้เพื่อให้เกิด ecosystem อย่างแท้จริง”


ปัจจุบันคุณเต้ยังคงทำงานภาคประชาสังคมร่วมกับเครือข่ายอาสาสมัคร เน้นการสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นจากเครือข่าย โดยใช้ร้านเป็นลาวเป็นศูนย์กระจายแนวคิดการให้จากคนตัวเล็กสู่คนตัวเล็ก เปิดโอกาสให้ผู้พิการมีงานทำ มีรายได้ โดยเริ่มต้นจากผู้พิการทางการได้ยินในโรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดขอนแก่น และกำลังมีแผนรับผู้ด้อยโอกาสด้านอื่นมาร่วมงานกันในอนาคต


สิ่งที่คุณเต้ทำสร้างแรงบันดาลใจ ปลุกพลังคิดสร้างสรรค์ในหมู่คนรุ่นใหม่ด้วยความร่วมมือและวิธีการช่วยเหลือสังคมแบบใหม่ที่สอดคล้องกับบริบทปัจจุบัน คุณเต้หวังใจว่าสิ่งนี้จะช่วยจุดประกายให้สังคมแห่งการให้เกิดขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องรอให้เกิดวิกฤต ซึ่งจะทำให้ทุกคนผ่านพ้นความยากลำบากไปด้วยกันดังที่เธอทำได้สำเร็จอย่างที่ผ่านมา


นวัตกรรมไม่จำเป็นต้องสิ่งประดิษฐ์เสมอไป แต่นวัตกรรมคือสิ่งใหม่ที่สร้างขึ้นแล้วสร้างการเปลี่ยนแปลง ดังเช่นการออกแบบและใช้ระบบเพื่อสนับสนุนการทำงานในแต่ละเครือข่าย นับเป็นการสร้างมูลค่าและเพิ่มศักยภาพในการขยายผลจนกลายเป็นนวัตกรรมจากการร่วมมือกันที่ สร้างความยั่งยืนสู่สังคม


 

Panchana Vatanasathien | Founder of Food For Fighters

From the network of volunteers to the power of innovation driven by the hearts


“The Covid crisis was like a fire. We needed to work together to get through it.”


The COVID-19 pandemic has proven to us the classic saying “unity is power” to once again be true. During this tough time, we have seen many heroes joining forces to help those in need.


Panchana Vatanasathien, president of Khao Yai Tourism Association and owner of local restaurant “PenLaos”, is one of them. She initiated the volunteers-driven and cloud-based fundraising project called “Rice for Doctors, Food for Fighters”, which provided hardworking medical personnel with packaged meals. In the first phase, the project mobilized a network of hundred local restaurants and obtained millions of Thai baht in donation. Subsequently, the project expanded quickly from the headquarter in Khao Yai to the network of restaurants that covers more than twenty provinces. Soon enough, an innovative system that matched each hospital with restaurants in its vicinity was implemented. This early success secured the project with the certification from UNDP and further growth. In collaboration with others alike namely “White Glove Delivery” and “World Reward Solutions”, “Food for Fighters” offered the full-service network of operation, communication, and coordination in supplying fresh organic produce from Khao Yai and Pak Chong to the field hospital in Thammasat University, Rangsit Campus.


To this day, Panchana continues to engage with the civic society and networks of volunteers, create job opportunities for hearing-impaired individuals, and more. Panchana aspires to motivate new generations to unite and help the society in ways that fit modern-day context, stimulate changes, and promote social sustainability.














127 views0 comments
bottom of page