การเกษตรนับเป็นหัวใจของประเทศไทย และเกษตรกรก็คือผู้สร้างแหล่งอาหารสร้างความอุดมสมบูรณ์ แต่หลายครั้งที่เกษตรกรกลับพบกับปัญหาต่าง ๆ ทั้งคุณภาพพืชผล ดินฟ้าอากาศ และราคาสินค้าตกต่ำ การนำความรู้ความสามารถมาผสานรวมกับเทคโนโลยีจึงอาจเป็นเครื่องยนต์ที่ช่วยขับเคลื่อนนำทางให้เกษตรกรคนไทยทั้งหลาย ‘รอด’ คุณปภัสราภรณ์ เหรียญทอง เจ้าของน้ำอ้อยไร่ไม่จน หนึ่งในเกษตรกรผู้ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงวิถีของเกษตรกรให้หลุดพ้นจากความจน ด้วยการทำการเกษตรเชิงรุก ที่นำหลักการตลาดและเทคโนโลยีมาผสมผสานหาความต้องการของตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้สอดคล้องกัน
จากเกษตรกรตัวเล็ก ๆ ที่ครอบครัวอยู่กับไร่อ้อย ตัดอ้อยขาย ได้รายได้ก้อนเดียวต่อปี คุณปภัสราภรณ์ ซึ่งเป็นทายาทรุ่นที่ 2 บริษัท น้ำอ้อยไร่ไม่จน จำกัด จังหวัดราชบุรี ได้นำองค์ความรู้เทคโนโลยีมาใช้สร้างแบรนด์น้ำอ้อยคั้นสดขาย เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าและราคา ให้มีรายได้ทุกวัน
“เราเป็นเกษตรกร ปลูกอ้อยเป็นหลัก เมื่อเจอวิกฤตรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย จึงมาเริ่มคิดหาทางรอดเริ่มจากการหาพันธุ์พืชอื่นมาปลูกแทน แต่ก็รู้สึกว่ามันไม่เชี่ยวชาญเท่ากับอ้อยที่คลุกคลีมาตลอด 50 ปี จนนำมาสู่การปลูกอ้อยคันน้ำแล้วก็แปรรูปในที่สุด ทำให้เริ่มมีรายได้ทุก ๆ วันเริ่มจากการคั้นน้ำอ้อยขายท้ายรถเป็นน้ำอ้อยสดขายตามตลาดนัด ส่งตามร้านอาหารจนเป็นที่มาน้ำอ้อยคั้นสด ‘ไร่ไม่จน’ ซึ่งกว่าจะมีวันนี้น้ำอ้อยไร่ไม่จนผ่านการคิดค้นและนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตให้มีคุณภาพ”
คุณปภัสราภรณ์บอกว่า จากการที่เราไม่รู้ว่าน้ำอ้อยที่คั้นแล้วจะเก็บอย่างไรให้อยู่ได้ยาวขึ้น สดถึงมือผู้คนจริง ๆ ก็เกิดการหาโอกาสเปิดโลกทัศน์ความรู้ทางวิชาการผสมผสานกับเทคโนโลยี ทำให้วันนี้สามารถเก็บน้ำอ้อยได้เป็นปีที่มีความสด 100 % หลังจากที่เรามีแนวคิดเพิ่มมูลค่าให้สินค้า ก็มองหาช่องทางการขายที่จะทำให้เกิดการขายได้จริง เริ่มจากขายเองและขยายสู่การการขายแฟรนไชส์ ซึ่งมองเรื่องของการให้โอกาสทางสังคมควบคู่ไปกับการทำธุรกิจ ปัจจุบันทำตลาดส่งออก จากเดิมยอดขาย 10-11 ล้านบาทต่อปี ปัจจุบันเติบโตขึ้นอยู่ที่ 16-17 ล้านบาทต่อปี ลูกค้ามีทั้งคนไทยและส่งออกต่างประเทศ ทุกวันนี้กำลังการผลิตจะอยู่ที่ชั่วโมงละ 1 ตัน ปัจจุบันผลิตได้ 60 ตันต่อเดือน เป็นอ้อยที่คั้นเป็นน้ำแล้ว
แค่เปิดใจ เรียนรู้แล้วนำเทคโนโลยีมาใช้ ก็ทำให้เกษตรกรไทย...ไม่จน
จากความคิดมุ่งมั่นพัฒนาอยากเห็นรอยต่อความยั่งยืนในอาชีพ คุณปภัสราภรณ์ได้รับรางวัลการันตีความพยายามมากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น จีน และอเมริกา เมื่อประสบผลสำเร็จสิ่งที่ทำต่อมาคือการตอบแทนสังคม โดยการเปิดให้เกษตรมีส่วนร่วม โดยเกษตรกรที่ส่งอ้อยให้ไร่มีหลายหลายพื้นที่จากจังหวัดราชบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดนครปฐม เกษตรจะได้รับการเรียนรู้ในการปลูกเพื่อรักษาคุณภาพ โดยไร่พร้อมการันตีประกันรายได้ โดยคำนึงว่าตัวเกษตรกรต้องไม่มีความยากจน หมายความว่าราคาต้องถูกกำหนดตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง เพื่อให้เกิดความสมดุลย์ การทำงานในทุกขั้นตอนทุกคนจะต้องอยู่รอดไปด้วยกัน
“เราให้ความรู้เกษตรกรในฐานะผู้ผลิตเพื่อสร้างต้นทางที่ดีมีคุณภาพ และเราก็ต้องให้ความรู้ที่ปลายทาง ซึ่งก็คือ ผู้บริโภค เพื่อเข้าใจประโยชน์ของน้ำอ้อย เปลี่ยนทัศนคติผิดๆ สร้างความรู้ใหม่ ๆ และความพิเศษในความพยายามของเกษตรที่ตั้งใจปลูกและผลิต จนมาเป็นผลิตภัณฑ์ดี ๆ เรามองการทำงานแบบห่วงโซ่นี้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างตลาดที่มีความยั่งยืน”
วันนี้เกษตรกรไทยจะไม่จน เรารวยด้วยที่ดิน รวยด้วยองค์ความรู้ แค่เพียงเปิดใจเรียนรู้และนำเทคโนโลยีมาผสมผสานกับวิธีการ สร้างการมีส่วนร่วมซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ ทำห่วงโซ่คุณค่าให้เกิดขึ้น เชื่อมั่นว่าเกษตรกรไทยจะรวยอย่างยั่งยืน
Papatsaraporn Rienthong | Numaoy raimaijon Co.,Ltd.
Cycle of value with an open mind: Numaoyraimaijon Company
“With an open mind, thirst for knowledge and application of technology, we can reduce poverty among Thai farmers.”
Agriculture is the pulse of the country and the source of life. Unfortunately, many times, Thai farmers face with problems ranging from climatic changes, quality of produces and under-paid products. The only way for them to survive the plight is to apply technologies to existing knowledge. Papatsaraporn Rienthong, a Thai farmer and founder of Numaoyraimaijon is one of the many farmers who have decided to take progressive and proactive steps to transform the way agriculture is practiced by incorporating technology with marketing strategies to develop products that will serve the demand of the market.
Papatsaraporn grew up in a family which practiced sugarcane agriculture. She is the second generation of the Numaoyraimaijon company in Ratchaburi. Earlier, the family would only earn income once a year. Papatsaraporn wanted to break the cycle and generate a year-round income for the family. So, she decided to grow sugarcane for its juice and by products in order to gain maximum profits. She applies technological advancement in preserving and enhancing the quality of her sugarcane juice. Today, sugarcane juice from Numaoyraimaijon brand has a shelf life of one year. She also franchised her sugarcane brand to expand her business and provide job opportunities for other people.
Now that her business is a success, Papatsaraporn is determined to help other farmers as well. She encourages farmers in Ratchaburi and Kanjanaburi to grow sugarcanes by equipping them with proper knowledge. The farmers then sell the products to her. This is the cycle to sustainability.
Comentários