top of page
  • Writer's pictureNIA 100 FACES

ปวีณา หงสกุล | ผู้สร้างระบบการปกป้องสิทธิเด็กและสตรีจากความรุนแรงในสังคม

Updated: May 13, 2023




ข่าวความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเด็กและสตรี มีให้เห็นตลอดเวลาทั้งความรุนแรงจากในครอบครัวและสังคม ส่งผลให้สังคมอ่อนแอลง ท่ามกลางความรุนแรงที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงระบบต่าง ๆ ในสังคมที่ยังไม่เอื้อต่อความเป็นอยู่ ความเห็นอกเห็นใจและปกป้อง ทำให้ คุณปวีณา หงสกุล ประธานมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี (องค์กรสาธารณประโยชน์) มุ่งมั่นใช้แรงกายใจที่มีขับเคลื่อนเรื่องนี้ให้เป็นวาระแห่งชาติที่ทุกคนต่างมองเห็นและช่วยเหลือกันให้เกิดขึ้น


มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี ก่อตั้งตั้งแต่ปี 2542 ปีนี้เป็นปีที่ 23 แล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่คุณปวีณา ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. มีหน้าที่ทางนิติบัญญัติเรื่องกฎหมาย แต่ก่อนที่จะมาเป็น ส.ส. ได้เป็นผู้จัดการธนาคารมาก่อน กว่า 10 ปีเห็นปัญหาของคนจนและคนรวย คนที่เดือดร้อน เมื่อเข้ามาเป็น ส.ส. จึงตั้งใจแน่วแน่ที่จะช่วยสังคม ช่วยประชาชน เริ่มจากการไปเยี่ยมเด็กที่อยู่ในความดูแลของรัฐบาล ภายใต้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่บ้านเกร็ดตระการซึ่งถูกขบวนการค้ามนุษย์นำไปค้าประเวณี เมื่อได้ไปคุยกับน้อง เมื่อสอบถามก็พบว่าน้องถูกพ่อเลี้ยงพาไปขายที่ซ่องตั้งแต่อายุแค่ 11 ขวบ และได้ตำรวจช่วยออกมาอยู่ที่นี่

“ตอนอยู่ธนาคารเราเห็นแต่คนเดือดร้อนแต่ไม่ได้เห็นความโหดร้ายของสังคม ไม่ได้สัมผัสความโหดร้ายขนาดนี้ เด็กได้รับการกระทำที่โหดร้าย รู้สึกรับไม่ได้ ตกใจถึงกับร้องไห้เข้าไปกอดเด็กหญิงคนนั้น ด้วยความรู้สึกของคนที่มีลูก ความเป็นแม่ที่รักลูกดั่งดวงใจ เฝ้าเลี้ยงดูด้วยความเอื้ออาทร ป้อนข้าวป้อนน้ำ มีสภาพที่อบอุ่น เมื่อมาเห็นข้อแตกต่างกันเช่นนี้ ทำให้เราต้องแอบไปร้องไห้ จากนั้นดิฉันก็กลับไปเยี่ยมเด็ก ๆ อีกหลายคนซึ่งตกอยู่ในสภาพเดียวกัน เราไม่เคยรู้หรือคิดมาก่อนว่าชีวิตของคนเราจะเป็นได้ถึงขนาดนี้”


ผู้หญิงและเด็ก...ไม่ใช่เพศหรือวัยที่สมควรโดนรังแก แต่เป็นเพศที่เราต้องปกป้องให้มากที่สุด เท่าที่เราจะทำได้

นับตั้งแต่นั้นมา คุณปวีณาก็ตั้งปณิธานว่า นอกจากจะทำงานด้านนิติบัญญัติแล้ว จะต้องทำงานเรื่องช่วยเหลือเด็กและสตรีควบคู่กันไปด้วย โดยได้เข้าไปเป็นกรรมการเรื่องเด็กและสตรีในคณะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเด็กและสตรี แต่ในที่สุดก็เห็นว่ามันเป็นเพียงภาคทฤษฎี ทางด้านการปฏิบัติยังไม่ได้มีการดำเนินการอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานเช่นนี้มีความจำเป็นที่จะต้องประสานความร่วมมือร่วมใจกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนพลเมืองดี ซึ่งขณะนั้นคุณปวีณา ได้รับการแต่งตั้งจากสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เป็นประธานคณะกรรมการเร่งรัดและประสานการปฏิบัติงานเยาวชน สตรี ภาครัฐและเอกชน สำนักนายกรัฐมนตรี โดยได้จัดตั้งชุดเฉพาะกิจขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกละเมิดสิทธิและถูกทารุณกรรมในรูปแบบต่าง ๆ อย่างจริงจังและต่อเนื่อง บังเกิดผลเป็นรูปธรรม จนมีผู้ประสบเคราะห์กรรมต่าง ๆ ได้เข้ามาขอรับความช่วยเหลือเป็นจำนวนมากทวีขึ้นอย่างรวดเร็ว


ผ่านไป 23 ปี ปัจจุบันมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี มีคนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมงานเพื่อสานต่อนโยบายสานต่อความช่วยเหลือสังคม มีพนักงานเจ้าหน้าที่กว่า 30 คน มีเจ้าหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์ 7-8 คน มีเจ้าหน้าที่ที่ออกไปต่างจังหวัดช่วยเหลือแต่ละเคส ซึ่งขณะที่ตนเองเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ออกนโยบายตั้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม OSCC 1300 โดยนำโมเดลของมูลนิธิมาเป็นโมเดลในการทำงานศูนย์ 1300 เข้าไปมาบูรณาการร่วมกันกับมูลนิธิอื่น ๆ และหน่วยงานทั่วประเทศ เพื่อให้ความช่วยเหลือสังคม


การทำงานอย่างมีระบบและบูรณาการจนก่อเกิดโมเดลที่ทำงานเพื่อเด็กและสตรีอย่างจริงจัง นับเป็นการสร้างสังคมแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มีพื้นฐานบนการคุ้มครองและปกป้องเด็กและสตรี

 

Paveena Hongsakul | Pavena foundation for children and women

Protecting children’s and women’s rights from violence in society


“Children and women do not deserve mistreatment. We must protect them as well as we can. This is a message from the heart of a mother.”


Violence against children and women is all over the news, resulting in a weakened society. This demonstrates that society systems are not conducive to survival. Ms. Paveena Hongsakul, president of the Paveena Foundation for Children and Women, is determined to mobilize physical and mental resources to make this a national priority.


As a bank manager for almost 10 years, she saw the worries of the wealthy and the poor. During her tenure as an MP, she made the decision that, in addition to working in the legislature, she would focus on helping children and women by serving on a committee on children and women in several faculties relating to children and women, but it was all a theory in the end. In practice, it was not taken seriously by the public. Such impactful work required collaboration among the government, the commercial sector, and decent people. In 1999, the Foundation was eventually founded.


Currently, younger people are joining the Paveena Foundation for Children and Women to continue the program of social support. There are more than 30 employees. There are 7-8 officers who receive complaints and go to different locations to assist with each case. She also established the Help Society OSCC center, hot line 1300, while she was the Minister of Social Development and Human Security. Systematic and integrated effort has resulted in an effective paradigm for both children and mothers. This is the building of a society of protection and true sustainability in Thai society.



















































21 views0 comments
bottom of page