top of page
  • Writer's pictureNIA 100 FACES

พระอาจารย์พบโชค ติสสะวังโส | พระอาจารย์พบโชคแห่งวัดห้วยปลากั้ง ให้โอกาส ให้ความหวังของผู้คน

Updated: May 13, 2023




ฐานะทางเศรษฐกิจที่ยากจน การอาศัยอยู่บนภูมิประเทศที่ทุรกันดาร การขาดแคลนอาหารและการศึกษา การขาดสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัญหาที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน แต่การแก้ไขและให้ความช่วยเหลือจากบุคคลหนึ่ง ที่ชื่อว่า พระอาจารย์พบโชค ติสสะวังโส แห่งวัดห้วยปลากั้ง จังหวัดเชียงราย ผู้พร้อมส่งต่อโอกาสให้กับผู้คน ด้วยแนวคิดว่า สังคมแห่งความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ต้องเริ่มจากการให้โอกาสคน ทำให้ปัญหาเหล่านี้คลี่คลายและเบาบางลง


จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดที่ค่อนข้างห่างไกล อยู่เหนือสุดของประเทศ มีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในพื้นที่ โดยวัดที่มุ่งมั่นช่วยเหลือคนชายขอบ นั่นคือวัดห้วยปลากั้ง ตั้งอยู่ที่ตำบลริมกก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ก่อตั้งขึ้นโดยพระอาจารย์พบโชค ติสสะวังโส เจ้าอาวาส สภาพเดิมเป็นเนินเขาที่มีเพียงซากของวัดร้างและพงหญ้า ต่อมาพระอาจารย์พบโชคซึ่งเป็นพระภิกษุจำพรรษาอยู่ที่วัดร่องธาร จังหวัดเชียงรายมีจิตศรัทธาต้องการบูรณะ จึงได้ย้ายไปพำนักอยู่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 โดยมีชาวชุมชนห้วยปลากั้งร่วมบูรณะ เริ่มจากการตั้งเป็นสำนักสงฆ์ จนได้รับอนุญาตตั้งวัดเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 โดยมีพระอาจารย์พบโชค ติสสะวังโส เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก


นอกเหนือจากเป็นวัดที่มีความงดงามด้วยเสนาสนะสถานอย่าง พบโชคธรรมเจย์ดี รูปปั้นพระโพธิสัตว์กวนอิมสูง 69 เมตรแล้ว ยังมีโครงการที่ให้ความช่วยเหลือสังคม ทั้งทางโลกและทางธรรม เพื่อนำทางผู้คนที่ด้อยโอกาส อยู่ในความทุกข์ยาก ให้ได้มีโอกาสที่จะใช้ชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ ให้ได้มาพบโชคจริง ๆ



เราต้องให้โอกาสคน...เพราะสังคมจะยั่งยืนได้เมื่อคนได้รับโอกาส วัดห้วยปลากั้ง ให้งาน ให้ธรรมะ เพื่อสร้างคนและสร้างสังคม

หลวงพ่อบอกว่า ได้ดำเนิน 4 โครงการ ประกอบด้วย โครงการเข้าป่าล่าบุญ จากความชอบแจกข้าวสาร เสื้อผ้า ขนม ไปแจกชาวเขา บนดอย โดยเฉพาะเด็ก ๆ พร้อมสำรวจว่าเด็กที่ไม่ได้รับการศึกษา พ่อแม่ติดคุก หรือพ่อแม่เสียชีวิตก็จะเข้าไปดูแล โดยพามารับการศึกษาและเลี้ยงดูในตัวเมือง เพื่อเด็กได้มีสังคมที่เท่าเทียมกับคนอื่น โครงการที่ 2 พามนุษย์ขึ้นสวรรค์ เป็นโครงการต่อเนื่องเข้าป่าล่าบุญ โดยเชิญชวนลูกศิษย์ร่วมทำบุญสร้างเจดีย์ สร้างศาลาวัด หรือแม้แต่ซ่อมแซม สร้างอาคารให้โรงเรียนที่ขาดแคลน หรือ เสื่อมโทรม รวมถึงบ้านคนยากไร้ ที่ไม่มีบ้านอยู่ ก็จะช่วยสงเคราะห์ โครงการที่ 3 คืนคนดีสู่สังคม เนื่องจากนักโทษที่พ้นโทษกลับมา เวลาไปสมัครงานที่ไหนก็มักจะไม่มีใครรับ จึงได้สร้างกิจการคาร์แคร์ล้างรถ 20 บาท โดยใช้แรงงานจากกลุ่มคนเหล่านี้มาทำงาน และมีค่าตอบแทนให้ ซึ่งสร้างรายได้ถึงวันละ 800 บาทต่อคน และโครงการสุดท้าย เป็นการเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข ด้วยการนำเงินจากคนที่มีฐานะมาช่วยคนจนต่อ โดยวัดมีการเลี้ยงดูเด็กกำพร้า เลี้ยงดูคนชราที่ถูกทอดทิ้ง และกำลังเปิดโรงพยาบาลวัดห้วยปลากั้งเพื่อสังคมเพื่อให้คนที่ยากไร้ไม่มีบัตรได้เข้าถึงสาธารณสุขได้


“ในส่วนของโรงเรียนทั่วจังหวัดเชียงรายนั้น รับข้าวสารจากวัดห้วยปลากั้ง โดยเป็นการขออาหารกลางวัน และแจกข้าวสารเลี้ยงผู้ป่วยตามโรงพยาบาล โดยการช่วยเหลืออยากให้คนที่ยากไร้ ยากจน ได้เข้าถึงสาธารณสุขได้โดยง่าย การเรียนการศึกษา ส่งเสียเรียนให้ถึงที่สุด”


จากความตั้งใจของหลวงพ่อ วันนี้ทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาและผู้ที่ได้รับโอกาสในการทำงาน ต่างเต็มใจที่จะทำหน้าที่ของตนเองและเผื่อแผ่สู่ผู้อื่นอย่างเต็มกำลัง นับเป็นกลยุทธ์แห่งการให้เพื่อให้เกิดการส่งต่อจนสามารถสร้างสังคมแห่งความยั่งยืนได้ตามที่หลวงพ่อตั้งใจ


พระอาจารย์พบโชค ต้นแบบของคนที่ได้มอบสิ่งที่เรียกว่าโอกาสให้กับคนที่ด้อยโอกาส เพื่อที่จะให้พวกเขาดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างเป็นปกติสุขและไม่เป็นจุดดำของสังคม ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดและที่เกิดจากแนวคิด “นวัตกรรมด้วยหัวใจ” ของหลวงพ่อ



 

Phra-Ajarn Phob Chok | Wat Huay Pla Kang

A priest of opportunity sharing and people’s hope


“We have to give people a chance to create a sustainable society; Hyua Pla Kang Temple gives jobs and dharma to achieve the purpose.”


In an underprivileged area in the north of Thailand where people live in poverty, food shortage, and education inaccessibility, Phra Ajarn Phob Chok is watering a plant of hope and opportunities to resolve the chronic problems. To create a society of sustainability, he believes in providing opportunities to the people.


Phra Ajarn Phob Chok together with the local people in Hyua Pla Kang area established Hyua Pla Kang Temple in 2005 to be the centre of Buddhism and social projects for all. It has a lot of missions: improving the people’s quality of life, giving education to those underprivileged children and orphans, renovating houses and schools, providing homes for homeless people, sharing food, and offering job training programmes for prisoners. These projects have been driven by his determination to create a sustainable society.


Phra Ajarn Phob Chok is a great model of sharing and giving opportunities to the disadvantaged and underprivileged people of all races. He wishes to see them live a normal life in society and to make sure they are not forgotten or left behind. This work of his has successfully impacted the change underlying societal attitudes towards opportunity giving. It is truly a “heart-to-heart” innovation.




































21 views0 comments
bottom of page