top of page
  • Writer's pictureNIA 100 FACES

พระปัญญาวชิรโมลี | ศรีแสงธรรมโมเดล ต้นแบบขับเคลื่อนชุมชนด้วยพลังแสงอาทิตย์อย่างยั่งยืน

Updated: May 13, 2023




พระปัญญาวชิรโมลี เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ผู้มีแนวคิดในการเปลี่ยนหมู่บ้านดงดิบโคกอีโด่ย ที่เต็มไปด้วยความแห้งแล้ง ห่างไกลความเจริญ ให้กลายเป็น “โคกอีโด่ยวัลเลย์” ด้วยนวัตกรรมการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้ดีขึ้น มีความมั่นคงทางพลังงาน และพึ่งพาตนเองได้


ด้วยความมุ่งมั่นของท่านที่อยากจะพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้านมาตั้งแต่วัยเด็ก เพราะท่านเองก็เคยขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษา จึงเป็นแรงพลักดันให้ท่านตั้งใจที่จะมอบโอกาสให้กับเยาวชนและชาวบ้านให้ได้ลืมตาอ้าปาก ท่านเริ่มจากการจัดการ “พลังงาน” เพราะท่านคิดว่าหากทุกคนมีพลังงานที่เพียงพอต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทุกคนก็จะมีโอกาสในพัฒนาชีวิตของตนเองได้มากขึ้น จากนั้นท่านก็พบว่าสิ่งที่ทุกคนมีอยู่อย่างเท่าเทียมกันในเรื่องพลังงาน ก็คือพลังงานที่มาจาก “แสงอาทิตย์” จึงเกิดไอเดีย “เสียดายแดด” ซึ่งเป็นการไม่ปล่อยให้พลังงานแสงอาทิตย์เสียเปล่า แต่กลับนำมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด โดยเริ่มจากการใช้ในครัวเรือน จากนั้นจึงขยายวงกว้างจนก่อเกิดเป็น “โรงเรียนศรีแสงธรรม”


เจ้าคุณพระปัญญาวชิรโมลี อธิบายถึงที่มาของแนวคิดการตั้งโรงเรียนศรีแสงธรรม หรือที่หลายคนเรียกติดปากว่า “โรงเรียนเสียดายแดด” ว่ามาจาก 3 อย่าง ได้แก่ 1) เพราะอยากช่วยชาติ จึงสร้างโรงเรียนให้เด็กได้มีการศึกษาเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่ยั่งยืน 2) เพราะการที่เคยขาดโอกาสการศึกษา จึงให้เด็ก ๆ ได้เรียนฟรี และ 3) ต้องการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพราะโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ดีที่สุด


“เราความต้องการที่จะแก้ปัญหา โจทย์คือชุมชนที่ทำการเกษตร ควรจะแก้อย่างไร เลยเอาเรื่องสิ่งแวดล้อมมาเป็นตัวตั้ง เพราะเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากที่สุด คำตอบคือแสงแดด และการเกษตร ถ้านำมาพัฒนา แนวทางนี้จึงน่าจะเหมาะสมที่สุด จึงเป็นการนำเอาพลังงานแสดงแดดมาใช้กับการเกษตร ทำให้ประชาชนได้ประโยชน์ที่สุด”

จากวันนั้นสู่วันนี้ ผลสำเร็จที่ได้แบ่งออกเป็น ความสำเร็จระดับส่วนตัวทำให้วัด โรงเรียน มีพลังงานไฟฟ้าใช้อย่างเหลือเฟือ ความสำเร็จระดับโรงเรียนสามารถสอนเรื่องพลังงานทดแทน สอนวิชาโซลาร์เซลล์ จนเกิดเป็นหลักสูตรเฉพาะของโรงเรียนขึ้นมา และหลักสูตรนี้ถูกเผยแพร่โดยนำไปสอนบุคคลทั่วไปในศูนย์อบรมความรู้ให้กับประชาชนด้านพลังงานทดแทน สามาถสร้างช่างพลังงานทดแทนได้หลายร้อยคน และความสำเร็จในระดับชุมชนคือสามารถสร้างศูนย์เรียนรู้ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศให้เกิดขึ้น โดยจะเป็นสถานที่จะส่งต่อความรู้ด้านพลังงานทดแทนที่ยั่งยืนไปสู่คนรุ่นลูกรุ่นหลานและเกิดความร่วมมือเป็นพลังของคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่


“ตอนนี้กำลังดำเนินการทำการวิจัยร่วมกับ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีโครงการวิจัยสมาร์ตกริด โครงการวิจัยโซลาร์แคลิ่ง และโครงการวิจัยแรดทูเอ็นเนอร์จี เพื่อต่อยอดองค์ความรู้”


แม้เราจะอยู่ไกลจากความเจริญกว่าคนอื่น แต่เราไม่ได้อยู่ไกลจากแสงแดดกว่าคนอื่น แสงแดดจึงให้ความเท่าเทียมกับทุกคน

จากความที่เสียดายแดดในวันนั้น จนวันนี้ความคิดของท่านได้พัฒนามาเป็น “โคกอีโด่ยวัลเลย์” โดยโครงการนี้เริ่มจากการที่ท่านเจ้าคุณพระปัญญาวชิรโมลีไปเป็นที่ปรึกษาในฟาร์มตัวอย่างของศูนย์ศิลปาชีพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยเป็นวิทยากรสอนเกี่ยวกับระบบสูบน้ำภายในฟาร์ม ทำให้ได้เห็นการจัดการน้ำ การจัดการดิน จึงมีแนวความคิดว่าน่าจะนำมาใช้กับพื้นที่ของวัด จึงได้เริ่มทำโคกหนองนาแปลงแรกบนพื้นที่ 20 ไร่ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากผู้ว่าราชการจังหวัด ได้รับพระราชทานชื่อว่า “โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง” ต่อมาได้ทำแปลงที่ 2 บนเนื้อที่ 15 ไร่ โดยได้รับงบประมาณจากกรมการพัฒนาชุมชน เพื่อทำเป็นศูนย์พัฒนาพื้นที่ต้นแบบระดับตำบล แปลงนี้มีชื่อว่า “โคกหนองนาวัดป่าศรีแสงธรรม” เมื่อรวมทั้ง 2 แปลงเข้าด้วยกันจึงเกิดเป็นโคกอีโด่ยวัลเลย์อย่างเช่นทุกวันนี้


โคกอีโด่ยวัลเลย์ มีกิจกรรมต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มขุดโคกหนองนา เมื่อขุดเสร็จก็จะมีนักเรียนเข้ามาวันละ 40-50 คน เพื่อมาเรียนรู้เกี่ยวกับหลักกสิกรรมธรรมชาติ การปลูกป่า การจัดการเกี่ยวกับดิน กับแสงแดด ต้นไม้อะไรที่บังแสงได้ ต้นไม้อะไรที่ต้องการแสงน้อย การจัดการน้ำควรทำอย่างไร ให้ไหลไปทางไหน รับน้ำเข้าทางไหน ปล่อยน้ำออกทางไหน การระบายน้ำด้วยระบบคลองไส้ไก่ การส่งน้ำด้วยระบบคลองธรรมชาติ นักเรียนจะได้รับความรู้และทดลองทำหลักกสิกรรมธรรมชาติเหล่านี้


บ้านเมืองของเรามีรากฐานชีวิตอยู่ในวิถีเกษตรกรรม ดังนั้นการคิดนำพลังงานจากดวงอาทิตย์มาใช้ในการเกษตรตลอดจนกิจกรรมใด ๆ จะทำให้เรามีพลังงานใช้ชั่วกัลปาวสาน ตราบใดที่ดวงอาทิตย์ยังทอแสง ประเทศไทยยังจะสว่างไสวอยู่ต่อไป


 

Phrapanyawachiramoli | Watpa Sisaengtham

Sisaengtham model for community-driven solar energy for sustainability


“We may live in a remote are, but we not far away from the Sun than other people. The Sun shines equally on everyone.”


Phrapanyawachiramoli, the abbot of Watpasisaengtham, Khong Jeam, Ubon Rajathani, has set the example for many of us that solar power is the solution to clean energy and equity. The forward-thinking Phrapanyawachiramoli understands the role of solar power as a clean, low-cost and renewable alternative energy. Through the solar energy, he was able to transform the barren forest of Kok-E-Doi village into a lush and bountiful “Kok-E-Doi Valley”. Not only did it renovate the neighborhood, but also transformed the community wellbeing. By turning to the solar power, people there have more energy security independence.


Growing up in a rural and disadvantaged area, Phrapanyawachiramoli lacked of educational supports. Therefore, he was determined to provide opportunities for the youngsters and the locals to earn their living. In his opinion, the ultimate source of wellbeing is “energy”. With enough energy, affordable activities such as agriculture can be carried on. He started small by implementing the use of solar energy as it is “free” in common household activities. With time, it expanded. Solar energy was used for more and more activities until “Sangsitham School” or “Sunshine School” was founded. The school provides free education for the disadvantaged children. They are taught about sustainability and sufficiency economy. It also focuses on the knowledge about renewable and alternative energy.


Phrapanyawachiramoli has also applied knowledge about irrigation, soil management, useful trees, etc. to develop a huge plot of land in the community so the people can rely on sustainable farming and organic agriculture.














































































146 views0 comments

コメント


bottom of page