top of page
  • Writer's pictureNIA 100 FACES

พระครูปิยวรรณพิพัฒน์ | ผู้สูงอายุไม่ใช่ภาระ หากคือพลังของสังคม

Updated: May 13, 2023




ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ โรงเรียนผู้สูงอายุจะเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาคน พัฒนาผู้สูงอายุที่มีความรู้ความสามารถ ยกขึ้นเป็นครู สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้สูงอายุมีคุณค่าในตัวเอง ชุมชนได้คนมีฝีมือเพิ่มขึ้น จะมีปราชญ์ด้านสมุนไพร ปราชญ์ด้านพิธีกรรมล้านนา หรือเป็นปราชณ์ด้านเครื่องจักสาน ทำให้จะมีครูเพิ่มขึ้นเพื่อส่งต่อความรู้ให้กับสังคม


พระครูปิยวรรณพิพัฒน์ ผู้ก่อตั้ง “โรงเรียนผู้สูงอายุ” ผู้ที่เปลี่ยนความคิดที่ว่าผู้สูงอายุคือภาระ มาเป็นผู้สูงอายุ คือพลัง สร้างสังคมแห่งการยอมรับ และสังคมแห่งช่วงวัยที่มีคุณค่าเพื่อสร้างชาติไทยให้เจริญรุ่งเรือง

พระครูมองว่า ผู้สูงอายุคือปูชนียบุคคลที่มากด้วยประสบการณ์ที่เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ เป็นสิ่งที่เป็นจุดแข็ง บางคนดูแลตัวเองดีก็สุขภาพแข็งแรงกว่าคนวัยหนุ่มสาว ดังนั้นการที่จะหยิบยกผู้สูงอายุที่หลายคนมองว่าเป็นภาระมาเป็นครูผู้ถ่ายทอดนับว่ามีคุณค่าต่อสังคมอย่างยิ่ง บางคนแม้จะเหน็ดเหนื่อยอิดโรยกับประสบการณ์ที่ผ่านมามากมาย แต่ก็ยังพร้อมที่จะเรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ ทำให้เกิดโรงเรียนผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้นในทุก ๆ ด้าน ทั้งเรื่องการมองเห็นคุณค่าในตัวเอง ความสัมพันธ์ในครอบครัว และการช่วยเหลือสังคม


“เราต้องเปลี่ยนแปลงตัวของผู้สูงอายุก่อน ผู้สูงอายุแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มติดเตียง ติดบ้าน และติดสังคม ซึ่งกลุ่มที่ติดสังคมจะเป็นกลุ่มนำร่องไปเป็นต้นแบบในการเปลี่ยนแปลง โดยให้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งระดับหมู่บ้าน ระดับตำบล เพื่อให้ได้พบปะผู้คนกลุ่มใหม่ ๆ สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดขึ้น ส่วนกลุ่มติดเตียงจากที่มีความคิดสิ้นหวังจะต้องรอการช่วยเหลือไปไหนไม่ได้ พระครูจะสอนให้ยอมรับตนเองลุกขึ้นมาดูแลตัวเอง มาช่วยเหลือสังคมให้รู้ว่าตัวเองเป็นผู้มีคุณค่า”



เราจะสร้างชาติไทยด้วยพลังสูงวัย เพราะประสบการณ์ ที่เคี่ยวจนตกผลึกคือสิ่งล้ำค่า...ไม่ใช่ภาระของสังคม

พระครูเล่าว่า มีการจัดทำโครงการให้ผู้สูงอายุถ่ายทอดความรู้ในกิจกรรมปรับพื้นฐาน “อุ๊ยสอนอุ๊ย อุ๊ยสอนหลาน” โดยเริ่มจากพัฒนาตนเองโดยการสอนตนเองก่อนเมื่อเริ่มจากพัฒนาตนเองได้แล้วก็ต้องเริ่มที่จะถ่ายทอดต่อไปให้กับผู้อื่น โดยเริ่มจากเพื่อน ชุมชน สังคม ไปจนถึงการสร้างอาชีพให้พึ่งพาตนเองได้ ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างคุณค่าให้ผู้สูงอายุทั้งทางด้านจิตใจและสังคม นอกจากนี้ได้ขยายเครือข่ายให้กว้างขึ้นเป็นเครือข่ายแห่งประเทศไทย มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการนำผลิตภัณฑ์สร้างอาชีพของผู้สูงอายุออกมาสู่โลกโซเชียลใช้ชื่อว่า “ผู้สูงอายุผลิตเองขายเอง” ทำให้ผู้สูงอายุก้าวทันโลกในยุคดิจิทัล โดยผ่านศูนย์ดิจิทัลชุมชน อบจ.เชียงราย มีวิทยากรมาให้ความรู้ในเรื่องการผลิตสื่อ การไลฟ์สด การขายออนไลน์ การใช้เครื่องมือคอมพิวเตอร์ สุดท้ายแนวคิดที่สำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุพึ่งพาตนเองได้คือ สวัสดิการเพื่อนไม่ทิ้งเพื่อนไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยเริ่มจากในบ้านในชุมชน เป็นโครงการที่นำแนวคิดไปใช้ทั่วประเทศ ถือว่าเป็นโครงการที่แก้ไขปัญหาสังคมระดับโครงสร้างได้เห็นภาพชัดเจนเป็นรูปธรรม


ปัจจุบันมีเครือข่ายที่ทำ MOU ร่วมขับเคลื่อนแนวทางดังกล่าวแล้วโดยประกอบด้วย 10 กระทรวง และในอนาคตพระครูจะขยายเข้าระดับจังหวัด โดยในตอนแรกจะเชื่อมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดยมีโครงการ “เกษียณมีดี สูงวัยสร้างชาติ” เพื่อสร้างคุณค่าให้กับผู้สูงวัยใจไม่เกษียณ


“มีเยอะก็แบ่งปัน มีความรู้ก็แบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน เวลามีกิจกรรมที่วัด บ้านคนที่เก่งก็จะเป็นผู้นำและจะถ่ายทอดให้คนในหมู่บ้าน เท่ากับเป็นการสร้างพลัง สร้างความยั่งยืนให้ชาติ”


การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้แสดงศักยภาพ ขณะเดียวกันก็เสริมศักยภาพ เป็นแนวคิดที่ต้องการลดภาระในเชิงโครงสร้างให้ประเทศ ขณะเดียวกันก็เป็นกลยุทธ์ติดอาวุธให้สังคมได้เรียนรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์มากมายมาใช้ต่อยอดสร้างมูลค่าและพลังให้สังคม



 

Phra-kru Piyawan Pipat | Piyawan Pipat Foundation for Society

The elderly is not a burden, but rather a source of strength in society.


“Thailand can be built upon the valable experience of the elderly. The elderly are not burdens to society.”


Phra kru Piyawan Pipat, the founder of the “School for the Elders,” transformed the perception of the elderly as a source of strength in society. Thailand is on the verge of becoming a completely aging society. The elderly will be the focus of human development in schools. It has the potential to generate competent older people. Some of them, in spite of their existing experiences, are eager to learn new things, resulting in the establishment of a school for the elderly for them to have a better quality of life in every area, including the self-worth family bond.


According to Phra kru, friends, community, society, and professionals can help build value for the elderly both intellectually and socially. Based on the concept, the initially local network has been expanded to become a national network. Both government and private organizations are working to improve the elderly’s quality of life.


Currently, ten MOU ministries have formed a network to promote this strategy. Phra Kru plans to extend into the provincial level in the future, collaborating with Chiang Mai University. Encouraging the elderly to demonstrate their ability is a concept that can help the country lessen its structural weight. At the same time, it is a method for arming society with knowledge from people with extensive experience and using it to bring value and power to society.







































14 views0 comments
bottom of page