top of page
  • Writer's pictureNIA 100 FACES

สนั่น บัวคลี่ | ครูช่างหัตถกรรมเครื่องหนังกลอง สืบสานการทำกลองด้วยภูมิปัญญากว่า 50 ปี

Updated: May 13, 2023




สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์และอยู่คู่คนไทยมาทุกยุคสมัยคือดนตรีไทย หนึ่งในเครื่องดนตรีที่รู้จักและนิยมกันในทุกงานประเพณีเห็นจะเป็น กลอง ปัจจุบันแม้เทคโนโลยีจะเข้ามามีส่วนการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตหากแต่สุนทรียศาสตร์แห่งดนตรีก็ยังคงเป็นจุดรวมความสุขของทุกคน เมื่อเอ่ยถึงเครื่องดนตรีประเภทกลองของไทย แน่นอนว่าชื่อของ นายสนั่น บัวคลี่ เจ้าของโรงทำกลองบ้านกลองลุงเหลี่ยม แห่งจังหวัดอ่างทอง เป็นบุคคลแรกที่วงการคนเล่นกลองต่างยอมรับและยกให้เป็นครู ผู้มีใจรักและมีความสามารถในการผลิตและพัฒนากลองจนเป็นผู้เชี่ยวชาญงานกลองของประเทศไทย


ลุงสนั่นเริ่มต้นทำกลองจากความชอบสมัยเด็กถึงแม้ว่าจะเติบโตมาในหมู่บ้านทำกลอง อาศัยครูพักลักจำ ลองผิดลองถูกและประสบการณ์คำติชมจากลูกค้า หรือจากปัญหาของลูกค้าเมื่อนำกลองมาให้ซ่อม ทำให้ลุงสนั่นสั่งสมประสบการณ์มาจนเปิดร้าน “บ้านกลองลุงเหลี่ยม” จนเป็นที่รู้จักมีชื่อเสียงของจังหวัดอ่างทอง


ไม่ว่าจะเป็น กลองชาตรี กลองทัด กลองแขก กลองยาว กลองเพล กลองสะบัดชัย โทน รำมะนา ตะโพน ฯลฯ ทั้งคณะลิเก วงปี่พาทย์ โรงละครแห่งชาติ วิทยาลัยนาฏศิลป์ ฯลฯ กลองที่นำไปใช้ก็ผ่านมือลุงสนั่นมาหมดแล้ว เพราะชื่อเสียงที่บอกปากต่อปากกันว่า “ต้องไปบ้านลุงเหลี่ยมนะ ถึงจะได้กลองดี” ดีที่ว่าไม่ใช่ดีที่คุณภาพของวัสดุที่เลือกใช้เท่านั้น แต่เป็นเพราะการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ในทุกขั้นตอนของการทำกลอง ไม่ว่าวิธีการแช่ ขัดหนัง หรือการ “แกงหนัง” ก็เป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาเก่าแก่ ที่ใช้กะทิมะพร้าว เครื่องแกงโขลกรวมกันเพื่อทำให้หนังนุ่ม หรือใช้น้ำมะนาวเพื่อทำให้หนังฟู เทคนิคภูมิปัญญาเหล่านี้เป็นการพัฒนาคุณสมบัติของหนัง เพื่อมาปรับใช้ให้เข้ากับกลองแต่ละชนิด ทำให้กลองบ้านลุงเหลี่ยมเป็นที่ยอมรับว่าเป็น “กลองที่ดี”


เมื่อขับเคลื่อนการทำกลองด้วยใจรักและไม่หยุดที่จะเรียนรู้ ลองผิดลองถูกเพื่อให้ได้กลองที่มีคุณภาพที่สุดทำให้ลุงสนั่นได้คิดค้นภูมิปัญญาการเพิ่มประสิทธิภาพให้กลองหนังมีเสียงที่ดังขึ้นด้วยการนำ “ข้าวสุก” มาติดที่หน้ากลองซึ่งถือว่าเป็นการสร้างเอกลักษณ์และนวัตกรรมใหม่ในการทำกลองให้มีเสียงดังและไพเราะกว่าเดิม ซึ่งการติดข้าวที่หน้ากลองเสมือนเป็นการถ่วงเสียงของกลองให้มีความดังเบา ต่ำ สูง คล้ายการปรับคีย์ของเครื่องดนตรีสากล



เราต้องรักษาความรู้ของคนโบร่ำโบราณ โดยเราก็ต้องผสานความสมัยใหม่ด้วยและต้องอยู่ด้วยกันให้ได้

“เราต้องยึดถือของโบราณไว้เป็นเครื่องหนังไม่ใช่เครื่องน็อต เขาใช้น็อตขันแล้วใช้หนังแก้วของฝรั่ง เสียงมันไม่ได้ ใช้เครื่องเสียงช่วยเสียงก็ยังไม่ได้ แต่มันเสียภาพลักษณ์ ของโบราณดนตรีไทย หนังวัวโบราณมันดีกว่า ถึงจะถูกน้ำไม่ได้แต่คุณภาพของกลองมันเลิศล้ำกว่าหนังแก้วของฝรั่งที่ใช้งานจริงไม่ได้ ถึงแม้จะทนฝนกว่าก็ตาม”


นี่คือภูมิปัญญาที่ลุงสนั่นพยายามถ่ายทอดบอกลูกหลานรุ่นใหม่ให้เห็นว่าการสืบสานอนุรักษ์หัตกรรม บางอย่างมันไม่ใช่ความล้าสมัย แต่มันส่งผลลัพธ์ของชิ้นงานที่ต่างกันด้วย ลุงสนั่นใช้วิธีการอธิบายไปพร้อมกับการพิสูจน์ให้เห็นจนทำให้คนต่างยอมรับในวิธีภูมิปัญญาแบบดั้งเดิมนี้ จนทำให้ลุงสั่นได้รับรางวัล ครูช่างศิลปหัตถกรรม ประเภทเครื่องหนัง (กลอง) จากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ ประจำปี 2558


คำพูดที่ว่า “คนเก่งหวงวิชา” ใช้ไม่ได้กับลุงสนั่น เพราะนอกจากลุงสนั่นจะไม่หวงวิชาแล้วยังพร้อมถ่ายทอดเพื่อเป็นการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาชาวบ้านให้กับลูกหลานต่อไป ลุงสนั่นในวัย 75 ปี ไม่อยากให้กลองหายไปพร้อมกับตน จึงบอกเล่าถ่ายทอดภูมิปัญญา รวมถึงเทคนิคทุกอย่างให้กับกลุ่มคนที่สนใจมาศึกษาเรียนรู้เพื่อจะหวังว่าให้มีคนมาสืบทอดอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยไม่ให้เลือนหายไปตามกาลเวลา


วิธีการ “ทำให้เห็น” คือวิธีการที่ลุงสนั่นใช้เป็นเครื่องมืออธิบายให้กลุ่มคนที่มาเรียนรู้เข้าใจ ถือได้ว่าเป็นบทพิสูจน์ให้เห็นถึงรากเหง้าแห่งภูมิปัญญาที่เทคโนโยลีไม่สามารถทดแทน


 

Sanan Buaklee | Ban Klong Lung Liam

A mater of handmade leather drums who has used local wisdom to make Thai drums for over 50 years


“The ancient knowledge must be preserved while integrated with modernity. If you want a good drum, you have to come to Uncle Liam’s house.”


One of the musical instruments that appear vastly in Thai traditions is the drum. Mr. Sanan Buaklee or Uncle Liam is the master of leather craftsmanship who has adopted skills and wisdom in making drums for over 50 years. He is the owner of the drum factory of Ban Klong Lung, Ang Thong Province. At the factory, people who love drums are trained until they become experts and together with Sanan, they produce and develop drums for the national market.


Sanan started making drums based solely on his childhood passion. He learned from trial and error, customers’ experience and feedback, and their problems. Eventually, he became an expert and could open his own shop. No matter what types of Thai drum you think of, Mr. Sanan knows them all. You can get a good drum from him not just because of the good quality of the materials, but also how he applied the local wisdom throughout the process of drum making.


Some people might not want to share their knowledge and wisdom. However, Sanan, at the age of 75, is eager to share as he does not want the drums and the wisdom to disappear with him. He keeps passing on wisdom including all techniques for people who are interested in learning, hoping that someone will inherit and prevent Thai art and culture from fading over time.









































































15 views0 comments
bottom of page