ด้วยสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน การสร้างความยั่งยืนทางอาหารเป็นประเด็นที่ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญ ประเทศไทยนั้นได้ชื่อว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ มีศักยภาพทางการเกษตรทีี่พร้อมต่อการพัฒนาเป็นแหล่งอาหารโลก ด้วยข้อได้เปรียบดังกล่าว อาจารย์สงวน มงคลศรีพันเลิศ เกษตรกรวัย 62 ปี ชาวตำบลหนองทะเล อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ จึงเกิดแนวคิดหาวิธีทำการเกษตรแบบครบวงจร เน้นการปลูกพืชผสมผสาน การเลี้ยงสัตว์ที่เอื้อประโยชน์ และการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด พัฒนาจนเกิดเป็นแหล่งเรียนรู้การเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
อาจารย์สงวน ผู้คลุกคลีในวงการเกษตรมาตั้งแต่ปี 2539 จากการทำงานในโรงงานผลิตสารเคมีเกษตร ทำให้เห็นปัญหาจากการเกษตรที่พึ่งพาสารเคมีทั้งด้านผลผลิตและสุขภาพของเกษตรกร จึงตั้งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีการเกษตร โดยตัดสินใจกลับบ้านเกิดและนำประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้มาปรับเข้ากับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เริ่มจากการจัดตั้งกลุ่มผู้เลี้ยงแพะ กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชผล กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ไปจนถึงศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร กระทั่งปี 2549 อาจารย์สงวนได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้บ้านเขากลม บนพื้นที่ 8 ไร่ มีทั้งแปลงผักปลอดสารพิษ แปลงปลูกพืชแบบผสมผสาน พื้นที่เลี้ยงวัวและแพะ การทำปุ๋ยหมักระบบเติมอากาศ การผลิตอาหารสัตว์จากทางปาล์มน้ำมัน การทำน้ำส้มควันไม้ และอื่น ๆ อีกมากมายเพื่อถ่ายทอดให้ชาวบ้านทั้งในและนอกพื้นที่ได้เรียนรู้แบบฟรี ๆ
ที่สำคัญ อาจารย์สงวนยังคิดค้นแนวทางเกษตรยั่งยืนที่ทำได้จริง หนึ่งในนั้นคือการปรับปรุงวิธีผลิตปุ๋ยหมัก จากเดิมที่ต้องใช้เวลานานหลายเดือน และยังต้องใช้แรงงานในการกลับกองปุ๋ยเพื่อระบายความร้อน มาสู่การค้นพบระบบที่สามารถเติมอากาศเข้าไปในกองปุ๋ยหมักได้สำเร็จโดยใช้วัสดุในท้องถิ่น
สิ่งที่อาจารย์สงวนค้นพบอีกข้อหนึ่งนั้นคือ การผลิตอาหารสัตว์จากวัตถุดิบในสวนของตัวเอง เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสวนปาล์มน้ำมันและยางพารา จึงไม่มีแปลงหญ้าสำหรับเป็นอาหารสัตว์ ประกอบกับจำเป็นต้องตัดทางปาล์มน้ำมันทุก 15 วัน จึงทดลองนำสิ่งที่มีอย่างทางและผลปาล์มมาบด แล้วหมักรวมกับกากน้ำตาล ยูเรีย และส่วนผสมอื่น ๆ เมื่อนำมาให้สัตว์กินก็ปรากฏว่าของเสียที่ขับถ่ายไม่มีกลิ่นเหม็น ช่วยลดมลภาวะได้อย่างดี
“ผมเรียกสิ่งที่ถ่ายทอดให้ผู้คนทั่วไปนั้นว่า เกษตรสวนทาง คือ สวนวิธีคิด สวนวิธีทำ และสวนวิธีตลาด ส่วนศาสตร์พระราชาคือตำราชีวิต เกษตรกรโดยทั่วไปมีต้นทุนอยู่แล้ว คือ ดิน น้ำ แสงแดด และอากาศ แต่ยังขาดปัญญา ปัญญาในความหมายของผมคือการทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย การทำเกษตรนั้นไม่ใช่เพียงทำให้เป็นแค่อาชีพ แต่ต้องทำให้เป็นมืออาชีพ”
ไม่ว่าโลกจะพัฒนาก้าวหน้าไปขนาดไหน การเกษตรก็ยังคงเป็นต้นทางของทุกอย่างที่เรียกว่า...อาหาร
นอกเหนือจากการให้ความรู้กับเกษตรกรแล้ว อาจารย์สงวนยังให้ความสำคัญกับเยาวชน โดยเปิดโอกาสให้เข้ามาเรียนรู้การพัฒนาการเกษตร ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได่แก่ กลุ่มเยาวชนทั่วไปและกลุ่มที่ติดหรือเคยติดสิ่งเสพติด ซึ่งกลุ่มหลังนี้ อาจารย์สงวนบอกว่ามักถูกตีค่าไปแล้วว่าเป็นคนไม่ดี
อาจารย์จะสอนวิธีคิดและบอกพวกเขาเสมอว่าเขาแค่นั่งเก้าอี้ผิดตัว และเปิดโอกาสให้ลองนำเอาความคิด ความชอบของตัวเองมาทดลองทำในวิถีเกษตร ผ่านกลยุทธ์การสอน 3-5-3 โดย 3 แรก คือ รู้จักตัวเอง รู้จักทรัพย์สินของตัวเอง รู้จักใช้ทรัพยากรของตัวเอง ส่วน 5 คือ รู้จักข้าว รู้จักพืชผัก รู้จักสมุนไพร รู้จักปุ๋ย รู้เท่าทัน และ 3 สุดท้าย คือ รู้จักแผนชีวิต รู้จักแผนชุมชน รู้จักแผนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
จากการเป็นเกษตรกรนักพัฒนาที่แบ่งปันความรู้แก่เพื่อนสมาชิกกว่าร้อยครัวเรือน ส่งผลให้อาจารย์สงวนได้รับรางวัลมากมาย เช่น ผู้นำอาชีพก้าวหน้าระดับจังหวัด ปี 2546 เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาการเลี้ยงสัตว์ ปี 2548 รางวัลปราชญ์ชาวบ้าน ปี 2549 รางวัลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ปี 2551 และรางวัล 76 คนดีแทนคุณแผ่นดิน ปี 2552
รากฐานอันแท้จริงของประเทศไทยคือเกษตรกรรม อาจารย์สงวนจึงมุ่งมั่นคิดค้นแนวทางการเกษตรสวนทาง เพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนแห่งวิถีเกษตรกร ผู้เป็นหัวใจสำคัญของปากท้องของผู้คนบนโลก เพื่อเชื่อมโยงองค์ความรู้ เรียนรู้จากการลงมือทำ และสานต่อ สร้างประโยชน์และคุณค่าแก่สังคม
Sanguan Mongkolsripanlert | Ban Khao Klom Learning Center
Agricultural wiseman from the South who succeeds with reverse agriculture
“No matter how developed and progressed the world is, agriculture will always be upstream of everything that has to do with food.”
Food sustainability is an important issue in this changing world. With the great agricultural potential, Thailand strives to become the kitchen of the world. Sanguan Mongkolsrikpanlert, a sixty-two-year-old farmer from Nong Thale sub-district, Mueang Krabi district, Krabi taps in so said advantage and develops a framework for sustainable agriculture that combines integrated farming, symbiotic grazing, and use of local resources for maximum benefits.
Sanguan stressed the importance of changing the agricultural practices that were overdependent on health-threatening agrochemicals. After his early years in such industry, he decided to return home and initiated agricultural unions, cooperatives, and knowledge hubs. Most remarkably, in 2006, he founded sufficiency economy learning center in Baan Khao Glom. The three-acre space blended mixed cropping, cattle and goat grazing, composting, animal feed production, wood vinegar production, and more. Along the way, Sanguan also discovered and tested out new techniques to speed up fertilizer production and reduce pollution from livestock manure. “Land, water, sunlight, and climate are readily available as agricultural assets, but generally wisdom is lacking. The key is to do agriculture not only as a career but also as a profession.” said Sanguan.
Sanguan’s intention with the learning center is to spread knowledge at no cost for everyone, including those who are prejudged as bad people such as former drug addicts. More than hundred households have benefited from Sanguan’s knowledge sharing. Sanguan is recognized for his legacies in agricultural and regional development and a recipient of many awards.
Comentarios