top of page
  • Writer's pictureNIA 100 FACES

พระอาจารย์แสนปราชญ์ ปัญญาคโม | สะท้อนความตายที่งดงาม ด้วยธรรมโอสถ

Updated: May 13, 2023




ด้วยต้นทุนและวิถีดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน ย่อมทำให้คนเรานั้นแตกต่างกันโดยปริยาย แต่ไม่ว่าจะยากดีมีจน บั้นปลายท้ายชีวิตของเราทุกคนย่อมหนีไม่พ้นความเจ็บไข้ได้ป่วย การดำรงตนอย่างมีสติเพื่อให้พ้นจากห้วงทุกข์กายและทุกข์ใจจึงเป็นความยากลำบาก พระอาจารย์แสนปราชญ์ ปัญญาคโม แห่งวัดป่าโนนสะอาด ต.ท่าเยี่ยม อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา จึงมีแนวคิดในการสร้างความพ้นทุกข์ด้วยการใช้ธรรมะเพื่อให้ระลึกรู้ตัวและเข้าใจความเป็นธรรมชาติและธรรมดาบนโลกนี้ ผ่านกระบวนการสร้างเครือข่ายร่วมกับโรงพยาบาลต่าง ๆ ในการเข้าไปจัดโครงการแสดงธรรมแก่ผู้ป่วยระยะสุดท้าย


จากความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ประกอบกับระบบสาธารณสุขที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอที่จะรองรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ พระอาจารย์แสนปราชญ์ จึงมีแนวคิดที่จะนำธรรมะเข้าช่วย ด้วยการออกแสดงธรรมให้กับผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ตามความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะสงเคราะห์ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ที่ดำเนินมาเป็นเวลานับสิบปีนั้นไม่เพียงพอที่จะช่วยเหลือได้อย่างเต็มที่ ทั้งในด้านข้อจำกัดของเวลา คือมีเวลาน้อยเกินไปในการแสดงธรรม และข้อจำกัดในด้านสถานที่ คือสถานที่คับแคบและบางครั้งอาจกระทบต่อผู้ป่วยอื่น ๆ จึงได้ร่วมกับพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธา ก่อตั้งศูนย์พุทธวิธีดูแลพระสงฆ์อาพาธและผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่วัดป่าโนนสะอาด


แนวคิดในการสร้างศูนย์พุทธวิธีดูแลพระสงฆ์อาพาธและผู้ป่วยระยะสุดท้ายนี้ ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วย 2 ทาง คือ 1) ทางโลก คือสงเคราะห์ดูแลตามอัตภาพร่วมกับยาแผนปัจจุบัน สำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่อาจจะไร้ที่อยู่อาศัย พร้อมทั้งสอนความระลึกรู้ทุกขณะเพื่อบรรเทาความทุกข์กายทุกใจ ซึ่งช่วยสะท้อนการใช้ชีวิตให้กับผู้อื่นในเรื่องของความไม่ประมาท 2) ทางธรรม คือ เน้นการสอนให้เข้าใจชีวิตก่อนตาย ชีวิตกำลังตาย ชีวิตใกล้ตาย และชีวิตหลังตาย โดยการตั้งศูนย์พุทธวิธีดูแลพระสงฆ์อาพาธและผู้ป่วยระยะสุดท้ายนี้ ทำให้รับผู้ป่วยระยะสุดท้ายมาอยู่ประจำได้ จึงมีเวลาแสดงธรรมมากขึ้น


“เงื่อนไขของการรับผู้ป่วยคือ ถ้าเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายมาที่นี่เรารับเลย มาวันแรกก็จะได้รับเทปธรรมะ ที่นี่ไม่ได้ดูทีวี ไม่ได้รับข่าวสาร มีชีวิตดี มีความปวดแต่ไม่มีคนปวด อาตมาอยากให้โครงการเป็นต้นแบบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลองพิจารณานำไปปฏิบัติเพื่อจะได้ช่วยผู้ป่วยได้จำนวนมากขึ้น เพราะปัจจุบันนี้ทางวัดป่าโนนสะอาดสามารถรับผู้ป่วยได้ประมาณ 30 เตียง ซึ่งผู้ป่วยระยะสุดท้ายถือเป็นหลุมดำของระบบสาธารณสุข จึงอยากให้ทุกหน่วยงานให้ความสำคัญกับคนกลุ่มนี้ให้มากขึ้น”


การถ่ายทอดธรรมะเป็นโอกาสในการเปลี่ยนความทุกข์ ของผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้สงบ และสวยงาม

การสงเคราะห์ผูป่วยระยะสุดท้ายในแบบฉบับของพระอาจารย์แสนปราชญ์ ถือเป็นต้นแบบที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้ในทุกกลุ่มหรือแม้แต่ภาครัฐในการวางแนวทางหรือโครงการเพื่อลดภาระของสังคมครอบครัวและระบบสาธารณสุขซึ่งนับเป็นโมเดลที่ใช้ธรรมะควบคู่กับการแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งหากมีการบูรณาการระหว่างสองสิ่งนี้เข้าด้วยกันได้ การรักษาผู้ป่วยย่อมได้ผลสัมฤทธิ์มากขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งพระอาจารย์แสนปราชญ์ถือเป็นบุคคลนำร่องที่มองเห็นความทุกข์ ความตาย ซึ่งเป็นสัจธรรมของโลกมาเป็นแก่นในการช่วยเหลือทั้งคนป่วยและเป็นตัวอย่างในการสอนคนยังไม่ป่วยไปในตัว ที่สำคัญโครงการนี้ยังสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นในสังคม ปัจจุบันมีหลายโรงพยาบาลนำโมเดลดังกล่าวเข้ามาใช้ในโรงพยาบาลเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับคนไข้ ญาติคนไข้ และผู้ปฏิบัติงาน


ด้วยแนวคิดสร้างสุขในวันที่ทุกข์มาเยือน ทำให้เกิดโครงการที่เป็นต้นแบบให้สังคมได้ตระหนักถึงคุณค่าของชีวิตผู้คนแม้จะป่วยระยะสุดท้าย และเป็นการกระตุ้นเตือนสังคมให้ไม่ประมาทต่อการใช้ชีวิต รวมทั้งยังสร้างแนวคิดความร่วมมือให้เกิดขึ้นในระดับองค์กร ซึ่งจะนำความยั่งยืนมาสู่สังคม


 

Phra-Ajarn Sanprach Panyakamo | President of Buddhist Hospice Care Center

Reflecting the beautiful death with the Dharma


“Dharma knowledge can turn terminally ill patients’ pain into peace and serenity.”


People were born in various circumstances and live in various ways, but in the end, we must all accept that our bodies are only temporary. To be healthy both physically and mentally could be hard. Phra Ajahn Sanprach Panyakamo of Wat Pa Non Sa-at, Nakhon Ratchasima, initiated an idea to raise awareness and understanding of this natural part of life through hospital networks for a Dharma teaching project to terminally ill patients.


The desire to help others with the insufficient healthcare system, a group of devout Buddhists made a donation for a space to support sick monks and terminally ill patients at Wat Pa Non Sa-at. This care center provides two practices for patient care. The first one is the secular way: palliative care, and conventional medicine. The second one is religious, with an emphasis on teaching about life before, during, and after death.


“I want this project to be an example for relevant organizations to follow in order to help patients.” he suggested. His method of helping terminally ill patients is a framework that can be further adapted to any group in the setting of guidelines or in improving the public health care system.


Phra Ajahn Sanprach is a visionary individual who views suffering and death as a core of helping both the sick and setting an example for those who have not yet become ill. Importantly, this project also promotes cooperation in today’s society. Many hospitals are currently using similar models to benefit patients, family members, and employees.











































236 views0 comments
bottom of page