top of page
  • Writer's pictureNIA 100 FACES

สารี อ๋องสมหวัง | การคุ้มครองผู้บริโภค สร้างสังคมแห่งความเท่าเทียม

Updated: May 13, 2023




คำพูดที่ว่า “ร้องทุกข์หนึ่งครั้ง ดีกว่าบ่นพันครั้ง” เป็นแนวคิดที่ สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค และนักต่อสู้เพื่อผู้บริโภควัย 59 ปี นำมาเป็นแนวทางในการทำงานขับเคลื่อนแนวคิดต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้แสวงหาประโยชน์ โดยเฉพาะในทางธุรกิจ และต้องการส่งเสริมให้คนไทยได้ใช้ประโยชน์จากสิทธิที่มี ด้วยความรู้และเข้าใจในสิทธิของตน ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ในภาพรวมของสังคม


สารี อ๋องสมหวัง ไม่เพียงแต่สร้างการรวมกลุ่มกันขององค์กรผู้บริโภค แต่ยังนำมาสู่การเกิดสภาองค์กรของผู้บริโภคซึ่งผลักดันมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2540 จนประสบความสำเร็จในปัจจุบัน โดยเกิดขึ้นจากการที่ 152 องค์กรผู้บริโภครวมกันจดแจ้งสภาองค์กรของผู้บริโภค ซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจการคุ้มครองผู้บริโภคในหลายด้านซึ่งถือว่าเป็น Soft Power ไม่ว่าจะเป็นการรับเรื่องร้องเรียน สนับสนุนการเจรจา ไกล่เกลี่ย การฟ้องคดี และการเตือนภัยผู้บริโภค


ปัจจุบันเครือข่ายของสภาองค์กรของผู้บริโภคมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 269 องค์กร มีการจัดแบ่งการทำงาน โดยให้สภากลางทำคดีในเชิงยุทธศาสตร์และนโยบาย และให้เครือข่ายสภาองค์กรผู้บริโภคมีบทบาทมากขึ้นในการทำงานช่วยเหลือฟ้องคดีสมาชิกรายย่อย โดยปัจจุบันมีองค์กรอยู่รวม 38 จังหวัด ตั้งเป้าหมายว่าในปี 2566 จะขยายองค์กรให้ครอบคลุม 60 จังหวัด เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างทั่วถึงกับผู้บริโภค


“การที่เราเข้าไปมีส่วนร่วมขององค์กรผู้บริโภค เพราะเราต้องการคุ้มครองผู้บริโภคคนเล็กคนน้อยที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ เอาปัญหาผู้บริโภคมาแก้ที่ต้นตอต้นเหตุ เช่น การกู้เงิน สัญญาดอกเบี้ยไม่เป็นธรรมเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมขึ้นในสังคม ซึ่งจะทำให้สังคมเกิดความยั่งยืนได้”


การคุ้มครองผู้บริโภค เท่ากับการช่วยประชาชน ซึ่งเป็นคนตัวเล็กที่มักถูกเอาเปรียบ

สารีเล่าว่า ความเป็นองค์กรของผู้บริโภคต้องไม่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์มากนัก ต้องมีความเป็นอิสระ เพราะต้องตรวจสอบภาครัฐและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง จึงของบประมาณในการสนับสนุนจากรัฐเพื่อดูแลการทำงานของสภาองค์กรของผู้บริโภค อย่างน้อยประชาชนหัวละ 5 บาท เพื่อจะขับเคลื่อนงานของสภาองค์กรของผู้บริโภคให้เกิดความต่อเนื่องได้ รวมทั้งได้เสนอให้ทางรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. ให้ทุกคณะกรรมการที่ต้องดูแลความปลอดภัยของสินค้าและบริการควรจะต้องมีตัวแทนขององค์กรผู้บริโภคร่วมด้วย เช่น การขายสินค้าออนไลน์กรณีเก็บเงินปลายทาง ได้เสนอให้โอกาสให้ลูกค้าผู้บริโภคดูสินค้าก่อนจ่ายเงินเพื่อลดข้อร้องเรียน ขอให้ระยะเวลาของบริษัทขนส่งเก็บเงินไว้กับบริษัทเพื่อแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภคเพราะการขอคืนเงินที่ซื้อของกับโซเชียลมีเดียที่อาจจะเกิดการหลอกลวงได้ของไม่มีคุณภาพ


สารีเชื่อมั่นว่า สมาชิก 269 องค์กรเครือข่ายผู้บริโภคจะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยกันรักษาประโยชน์ให้ผู้บริโภคในทุกพื้นที่ที่มีสมาชิกอยู่ เชื่อว่าองค์กรสมาชิกเหล่านี้จะทำงานช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส กลุ่มคนเปราะบาง ผู้ที่เข้าไม่ถึงสวัสดิการของรัฐ จะทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานของรัฐได้ เป็นการทำงานออนกราวนด์ที่จะช่วยได้ดี ส่วนสภาองค์กรของผู้บริโภคจะทำงานในเชิงนโยบายเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนงานให้กับผู้บริโภคได้ดีมากขึ้น


“สภาองค์กรเพื่อผู้บริโภค เราพร้อมที่จะร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น สภาทนายความ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยเหลือให้คำปรึกษาด้านคดีความของผู้บริโภคให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ให้รับความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น เราจึงยังไม่หยุดที่จะแสวงหาความร่วมมือในทุกมิติเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมสูงสุด”

องค์กรเพื่อผู้บริโภค มีเป้าหมายยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีคุณภาพ เชื่อว่าการคุ้มครองผู้บริโภคไม่เป็นอุปสรรคกับใคร และทำให้สามารถเกิดการแข่งขันมากขึ้น หากทำให้ผู้บริโภคมีอำนาจต่อรอง ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ทำให้สังคมมีความเป็นธรรมมากขึ้น



 

Saree Aongsomwang | Thailand Consumers Council

Consumer protection: The creation of an equal society


“To protect a consumer is to help our people who have been exploited. To solve consumers’ problems, we need to look into the root causes.”


“One legal complaint is way better than a thousand complaints in general” is what Saree Aongsomwang holds as her professional philosophy. She is a secretary to Thailand Consumers Council (TCC). This idea has been adopted to mobilise many more projects in protecting consumers from unfair business providers, and to communicate to Thai citizens about their consumer rights.


Saree, now 59 years old, was the first person to demand the approval of establishment of TCC in the 1997 Constitution. Together with other 152 consumer protection-related organisations, they managed to have customer protection legalized. It was one form of ‘soft power’ when people could negotiate, file lawsuits and be warned about unfair practice. Currently, there are 269 consumer organisations under TCC with a diverse range of responsibilities, from strategic planning to helping file lawsuits. There are 38 centres across the nation and it is estimated to be expanded to 60 provinces by 2023 to best capture the needs of consumers.


Saree believes that “the more consumers we can reach, the more help we can provide. It is also important that TCC be given the liberty to check and monitor the state and its establishments. Also, to ensure the product and service quality, representatives from TCC must be included in the relevant committee. Once consumers can exercise their rights and justice is the standard of practice, a more sustainable society will be created.”


















































22 views0 comments
bottom of page