ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ มีการคาดการณ์ไว้ว่าในปี 2583 เป็นต้นไป สัดส่วนของจำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20.5 จึงเป็นโจทย์ท้าทายของประเทศที่จะวางแผนเวลานี้อย่างมีคุณภาพ ศาสตราจารย์ศศิพัฒน์ ยอดเพชร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคมศาสตร์ ในคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ผู้คร่ำหวอดด้านสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะด้านสวัสดิการผู้สูงอายุคนแรก ๆ ของประเทศไทย จึงมีมุมมองในการที่จะช่วยเหลือสังคมและประเทศในการสร้างสังคมสูงอายุอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ไม่ให้ผู้สูงอายุถูกมองว่าเป็นภาระแก่สังคม
ศ.ศศิพัฒน์ เป็นนักวิชาการเริ่มทำงานด้านผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2530 เป็นทั้งอาจารย์และค้นคว้าวิจัยด้านสวัสดิการสังคมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ความสนใจด้านผู้สูงอายุ เริ่มจากงานวิชาการและวิจัย เมื่อได้ออกไปทำงานในชนบท ได้เห็นศักยภาพ ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ ระบบคิดของผู้สูงอายุในพื้นที่ต่าง ๆ รวมถึงวิถีชีวิตของผู้สูงอายุที่มีความหลากหลาย จึงเกิดความสนใจและจุดประกายให้ศึกษางานด้านผู้สูงอายุอย่างจริงจัง ด้วยการเรียนรู้ความคิดความอ่านของผู้สูงอายุและสิ่งที่ทำขึ้นมา จากนั้นจึงนำมาเชื่อมโยงบูรณาการในรูปแบบงานวิชาการด้านการจัดสวัสดิการให้กับผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
ในปี 2550 ได้ร่วมสร้างนวัตกรรมทางสังคมด้วยการคิดและนำเสนอตัวแบบศูนย์อเนกประสงค์สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน และในปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้พัฒนาต่อยอดไปเป็นศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพ.อส.) โดยมีเป้าหมายว่าในปี 2567 จะจัดตั้งครบ 7,776 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 2,000 แห่ง และมีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง นับเป็นรูปแบบการจัดบริการรูปแบบหนึ่งที่มุ่งเตรียมให้ผู้สูงอายุได้อยู่ในครอบครัวและชุมชนอย่างมีความสุขและพึ่งพาตนเองได้
เราต้องสร้างพื้นที่ให้ผู้สูงอายุได้มีกิจกรรมร่วมกัน มีการพัฒนารอบด้านทั้งสติปัญญา ร่างกาย จิตใจ และสังคม
ปี 2560 ได้ผลิตชุดความรู้เพื่อใช้สอนในโรงเรียนผู้สูงอายุซึ่งเป็นชุดความรู้เพื่อการพัฒนาให้เป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ โดยเป็นชุดความรู้ที่มีชื่อว่า “ต้องรู้ ควรรู้ และอยากรู้” ต่อมาในปี 2565 มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ได้เข้ามาสนับสนุนดำเนินการในปี 2565 ปรับชุดความรู้ใหม่ให้เหมาะสมกับสังคมวิถีชีวิตใหม่ ชื่อว่า “ชุดความรู้ที่มุ่งสู่ภาวะการสูงวัยอย่างมีพลัง” โดยในชุดความรู้นี้มีเนื้อหาที่ทันสมัย และมุ่งพัฒนาผู้สูงอายุให้เป็นผู้มีสุขภาพดี มีหลักประกันที่มั่นคงในชีวิต และมีส่วนร่วมในสังคมภายใต้สภาวะแวดล้อมที่ดี
“ผู้สูงอายุในปัจจุบันแตกต่างกับผู้สูงอายุในอดีต โดยสนใจที่จะพัฒนาตนเอง ดูแลตัวเอง ทั้งสุขภาพ ร่างกาย ใฝ่รู้ มีชีวิตที่ดีกว่าผู้สูงอายุในรุ่นก่อน เห็นจากการเรียนรู้ที่จะดูแลตัวเองหรือเตรียมการกับตนเองเพื่อพึ่งตนเองให้ได้นานที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การเรียนรู้ตลอดชีวิต การเข้าสังคม เรื่องสุขภาพ รวมถึงการจัดการด้านการเงินและอื่น ๆ แต่คำว่า สังคมสูงวัย ไม่ได้รวมถึงผู้สูงอายุอย่างเดียว แต่รวมถึงคนวัยอื่นด้วย ดังนั้นคนวัยอื่นจำเป็นจะต้องวางแผนชีวิตในการก้าวสู่สังคมสูงอายุไว้ด้วย โดยเฉพาะเตรียมเรื่องการเงิน การออม โดยต้องเริ่มด้านการออมตั้งแต่ในวัยหนุ่มสาวเพื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุจะได้ใช้ชีวิตอย่างดีมีความสุข”
การสร้างและเตรียมตัวให้ตนเองและสังคมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ ส่งเสริมให้สังคมเข้มแข็ง ซึ่งการคิดค้นหรือศึกษาหาหนทาง วิธีการใหม่ ๆ ร่วมกันจะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมเป็นจริงและยั่งยืน
Prof. Sasipat Yodpet | National Committee on the Elderly
Creating a great community model for aging society
“We need to build a sharing space for the elderly to do activities and develop themselves in all dimensions as a quality community.”
Thailand is approaching its status as an aging society with the estimated number of its elderly citizens to be 20.5 per cent in 2040, and this appears to be the most challenging matter. Prof. Sasipat Yodpet, an expert on humanities and social sciences and Thailand Older Persons committee, initiated the establishment of a quality and sustainable elderly society as a way to tackle the pressing matter. With over 35 years of teaching and research experience at Thammasat University, she has long developed the insights into potentials, creativity, and uniqueness of the elderly communities through community services across the nation. Welfare management programs were then developed for to enhance the elderly’s quality of life. One such program is the Center for the Development of Quality of Life and Occupational Promotion for the Elderly established in 2007 and “Learning Kits” or “Knowledge Sets” for the elderly education.
Sasipat asserted that “the elderly today are different from those in the past. They are more willing to develop themselves and maintain their physical and mental health.” The concept of life-long learning in the elderly has also been evident in societies. She believes that creating a quality society with the sharing space is not the creation for only the elderly, but it is inclusive for each and everyone.
Comments