top of page
  • Writer's pictureNIA 100 FACES

พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร | นักขับเคลื่อนผู้นำสันติสุขสู่ดินแดนปลายด้ามขวาน

Updated: May 13, 2023




ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงส่งผลกระทบให้ดินแดนดังกล่าวเติบโตอย่างมั่นคงน้อยกว่าที่ควร ซึ่งภาครัฐเล็งเห็นและพยายามหาแนวทางสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนในพื้นที่มาโดยตลอด รวมถึงการจัดตั้งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด เป็นทั้งที่พึ่งพิงและความหวังแห่งความสงบสุขของชาวบ้านในพื้นที่


พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร อดีตนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 24 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ท่านเป็นทหารผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านยุทธวิธีและงานมวลชน พร้อมกับความมุ่งมั่นในการสร้างความสงบสุขในพื้นที่ปลายด้ามขวาน ด้วยการกำหนดเป้าหมายสำคัญเพื่อบรรลุการแก้ไขปัญหา 3 ประการ คือ การลดความรู้สึกไม่เป็นธรรมของคนในพื้นที่ การสร้างความยุติธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ในทุกมิติ โดยเฉพาะด้านการศึกษา อาชีพ รวมถึงรายได้ของประชาชน และสุดท้าย การสร้างความเข้าใจพร้อมทั้งแรงสนับสนุนจากในและต่างประเทศอย่างยั่งยืน


จากเป้าหมายที่ชัดเจน พลเรือตรี สมเกียรติ ค่อย ๆ ริเริ่มโครงการเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของผู้คนในพื้นที่ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เน้นการพัฒนาฐานราก เสริมสร้างความมั่นคงทางการเกษตรระดับครัวเรือนและชุมชน เช่น การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การประมงพื้นถิ่น


ส่วนโครงการอีกกลุ่มหนึ่งนั้นเน้นการร่วมพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพเพื่อดึงดูดและส่งเสริมการลงทุนจากภายนอก จนเกิดเป็นโครงการสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยเริ่มดำเนินการที่อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่ที่เกิดเหตุรุนแรงค่อนข้างชุกชุม โดยเน้นส่งเสริมการเกษตรและการแปรรูปผลผลิต เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพแก่ชุมชน นอกจากนี้ยังดำเนินการในพื้นที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ที่มีต้นทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติและวิถีวัฒนธรรม จึงร่วมผลักดันให้เป็นเมืองท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ความสำเร็จในพื้นที่ดังกล่าวเป็นต้นแบบในการขยายผลการดำเนินงานไปยังพื้นที่อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส เพื่อผลักดันให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจชายแดนที่มีเม็ดเงินสะพัดหมุนเวียนดังเช่นในอดีต


วันที่ปลายด้ามขวานเกิดสันติสุข คือจุดสูงสุดแห่งความภาคภูมิใจในชีวิตทหาร

เพื่อร่างประวัติศาสตร์ความสงบสุขแห่งชายแดนใต้ การดำเนินงานของ ศอ.บต. นั้นยึดหลักการสำคัญ คือ ยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” โดยเป็นแนวทางเพื่อมุ่งค้นหาข้อมูล ข้อเท็จจริง การวิเคราะห์รากของปัญหา พร้อมทั้งวิธีการแก้ไขที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละชุมชน เน้นการมีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างแท้จริง และความตั้งใจในการพัฒนาศักยภาพทั้งของพื้นที่และคน


พลเรือตรี สมเกียรติกล่าวว่า สิ่งที่ทำภายใต้อุดมการณ์ว่าจะทำเพื่อภาคใต้นั้นจะงอกงามเป็นความภาคภูมิใจที่จะถูกจารึกและส่งต่อไปยังลูกหลาน


ข้อความในสมุดบันทึกสำหรับแจกกำลังพลในช่วงเทศกาลปีใหม่ คือ ‘หากวันใดปลายด้ามขวานสู่สันติสุข เชื่อว่าท่านจะภูมิใจที่ได้ร่วมเขียนประวัติศาสตร์หน้านี้’ เป็นสิ่งที่ย้ำเตือนให้ท่านยังคงทำงานตราบลมหายใจสุดท้าย เป็นความภาคภูมิใจในการปฏิบัติหน้าที่รับใช้ชาติในฐานะทหารของพระราชา


จุดยืนที่เข้มแข็ง ประกอบกับวิธีการที่อ่อนโยน ยึดโยงกับธรรมชาติของวิถีชีวิตท้องถิ่น รวมทั้งการสร้างเครือข่ายเพื่อร่วมสร้างความมั่งคั่งและยั่งยืนด้วยความเข้าใจอย่างถ่องแท้ เป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะฟื้นฟูดินแดนปลายด้ามขวานของไทยให้กลับมาสงบสุขอย่างยั่งยืนดังเดิม



 

RAdm. Somkeart Ponprayoon | Southern Border Provinces Administrative Center

An activist for peace in the tip of the golden axe


“Making peace in the Far South is the greatest pride in a soldier’s life.”


The South Thailand insurgency negatively affects the growth and stability in the region to this day. Ever since, the government has been attempting at strengthening and empowering the respective communities, remarkably through the founding of Southern Border Provinces Administration Center (SBPAC). Its main goals encompass reducing the feelings of injustice, establishing justice in every dimension, especially education, jobs, and income, and lastly creating understanding and sustainable support systems from both within and outside the country.


Based on these clear goals, Rear Admiral Somkeart Ponprayoon, the secretary of SBPAC and the 24th-batch alumni of Armed Forces Academies Preparatory School, initiated the development project with two spatial foci. The first one targeted the areas with fundamental development needs such as household-level agriculture, livestock, and fisheries. The second one focused on areas with opportunities for jobs creation and attracting external investments such as, in ensuing order, processing plants for agricultural produces in Pattani’s Nong Chik district, tourist industries in Yala’s Betong district, and restoration of the financial hub in Narathiwat’s Su-ngai Kolok district. SBPAC’s core operation relied on the search for information and facts, analysis of the roots of the problems, development of contextually fitting and community-based solutions to said problems, emphasis on stakeholders’ participation, and intention on area-based and human-centric development.


Rear Admiral Somkeart takes pride in these success stories and the underlying principles and is intent on passing them down to the next generations.





















































14 views0 comments
bottom of page