top of page
  • Writer's pictureNIA 100 FACES

ทรงชัย วงษ์วัชรดำรง | ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับรู้ปัญหา ร่วมแก้ไข เรียนรู้ภับพิบัติอย่างยั่งยืน

Updated: May 13, 2023




เมืองฝนแปดแดดสี่ เป็นคำที่ถูกล่าวขานถึงลักษณะภูมิอากาศในภาคใต้ของประเทศไทย โดยแทบทั้งปีจะมีฝนตกชุกและมักจะตามมาด้วยปัญหาน้ำท่วม ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้ทั้งภาคการเกษตรและภาคครัวเรือน “ทุ่งสง” เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มักจะประสบปัญหาน้ำท่วมเสมอเพราะพื้นที่ตั้งอยู่บนแนวน้ำท่วมหลากบริเวณเชิงเขา ประกอบกับสภาพภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ ทำให้เมืองทุ่งสงต้องประสบกับปัญหาอุทกภัยอย่างต่อเนื่อง นายกทรงชัย วงษ์วัชรดำรง หรือ โกชัย นายกเทศมนตรีเมืองทุ่งสง ผู้ต้องการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนด้วยการสร้างความเข้าใจในชุมชนให้เกิดขึ้น


นายกทรงชัยเล่าให้ฟังว่า ในอดีตเมืองทุ่งสงเคยประสบปัญหาอุทกภัยติดต่อกันถึง 2 ครั้ง เมื่อตอนปี 2548 และ 2549 ซึ่งสร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สิน และสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนเป็นอย่างมาก ในฐานะผู้นำ จึงมองหาแนวทางการแก้ไข และพบว่าการแก้ไขปัญหาต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกคน


“การแก้ปัญหาเมื่อก่อนเป็นแบบต่างคนต่างทำ เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าจึงไม่ยั่งยืน ก็เกิดแนวคิดว่าจะให้เกิดความยั่งยืนได้ ต้องอาศัยหลักวิชาการและต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับรู้ปัญหา และร่วมแก้ไข”


จากความมุ่งมั่นในการแสวงหาความรู้ต่าง ๆ เพื่อจะแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ทุ่งสง จึงก่อให้เกิดรูปแบบการบริหารจัดการน้ำที่เป็นระบบ โดยอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมทุกภาคทั้งหน่วยงานราชการ ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ นักวิชาการ สถานศึกษา รวมถึงภาคประชาชน และภาคีที่เกี่ยวข้อง โดยเริ่มขุดลอกและขยายคูคลอง มีการตักขยะและตะกอนที่มากับน้ำ รวมทั้งให้รื้อสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ที่ขวางทางน้ำอยู่เพื่อให้กระแสน้ำไหลผ่านได้รวดเร็ว รวมทั้งมีการผันน้ำที่ต้นน้ำเพื่อลดปริมาณน้ำก่อนเข้าชุมชน มีการทำแก้มลิง การตรวจสอบเขตและกันแนวทางน้ำ การปรับปรุงทางน้ำและการแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ มีการติดตั้งสัญญาณเตือนภัยให้ประชาชนเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ด้วยตนเอง ด้วยแนวคิดและการบริหารจัดการน้ำนี้ส่งผลให้เมืองทุ่งสงรอดพ้นจากภัยน้ำท่วม


นายกทรงชัยกล่าวว่า เพื่อให้การแก้ปัญหาดังกล่าวเกิดความยั่งยืน จำเป็นที่จะต้องแก้ปัญหาแบบเป็นระบบและต่อเนื่องทั้งลุ่มน้ำ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำจนถึงปลายน้ำ ทุ่งสงจึงได้ขยายผลการทํางานภายใต้ความร่วมมือของภาคีเครือข่ายภาครัฐ เอกชน และประชาสังคมของ 2 จังหวัด คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดตรัง รวมตลอดถึงนักวิชาการจากหน่วยงานส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องที่ องค์กรชุมชน เครือข่ายภาคประชาสังคมในลุ่มน้ำ องค์กรทั้งในและต่างประเทศ เช่น Integrated Urban Land & Water Planning (IUWP) Project จากประเทศเนเธอร์แลนด์ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ


สังคมต้องเข้าใจกันและมีสำนึกร่วมกัน เราต้องร่วมมือร่วมใจกันแก้ปัญหา เราในฐานะผู้นำ เราต้องชี้นำแนวทางนี้

International Union of Conservation or Natural Resources หรือ World Conservative Union (IUCN) และสถาบันการศึกษาในพื้นที่และนอกพื้นที่ลุ่มน้ำ ขยายผลสู่ความร่วมมือ “การบริหารจัดการน้ำของลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำตรังแบบบูรณาการ” ขึ้นในปลายปี 2554


นวัตกรรมที่สำคัญในระดับท้องถิ่น ซึ่งเป็นการส่งเสริมการจัดการน้ำในภาวะวิกฤติ โดยการรักษาระบบนิเวศในพื้นที่ลุ่มน้ำ เป็นการเตรียมความพร้อมของเมืองทุ่งซึ่งมีประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมและสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ ๆ โดยการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมติดตามความสำเร็จ ภายใต้การสนับสนุนร่วมมือร่วมใจอย่างจริงจังและต่อเนื่องจากส่วนราชการและองค์กรต่าง ๆ เพื่อรักษาความเป็นเมืองที่มีการจัดการเรื่องระบบนิเวศอย่างเข้าใจครอบคลุมทั้งด้านพื้นที่และกลุ่มเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง


คำว่านวัตกรรมการบริหารจึงเป็นแนวคิดสำคัญที่ผู้นำยุคใหม่ต้องหยิบยกมาใช้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารงาน เช่นเดียวกับนายกทรงชัย ที่มองเห็นการหยิบเรื่องของความร่วมมือมาปรับใช้ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อชุมชม


 

Songchai Wongwatcharadamrong | Thung Song Municipality

Share ideas, share actions, share solutions, and learn how to cope with disasters sustainably.


"We must work together to solve problems. As leaders, we must convince society to understand and be aware of this.”


Thung Song is a district in the southern province of Nakhon Si Thammarat. Located on the flood line at the foot of the hill, along with the topography that resembles a pan, it experiences persistent flooding difficulties most of the year. Governor Songchai Wongwatcharadamrong was determined to handle challenges in a sustainable manner through community collaboration. “Solving problems separately will not be sustainable,” he asserted.


Songchai initiated a systematic water management model based on participation in all sectors, including government agencies, provincial, local, state enterprises, academics, educational institutes, and the people’s sector. Together they worked to dredge and widen the canals. Garbage and silt arriving with water were collected. They also removed numerous obstructions that were impeding the canals so that the river could flow through rapidly. Water zoning and waterproofing, as well as water barriers were designated using the guidelines of “Monkey cheeks.” An alarm was installed so that individuals would be able to monitor the situation on their own. Ultimately, Thung Song was protected from floods because of this approach of water management.


To handle such problems in a sustainable manner, they must be addressed in a methodical and continual manner across the watershed. As a result, he has expanded the work scope with the participation of two provinces’ governments, Nakhon Si Thammarat Province and Trang Province, as well as academics from government organizations, local communities, and civil society networks in the watershed.













































































21 views0 comments
bottom of page