top of page
  • Writer's pictureNIA 100 FACES

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ | ครูปกาเกอะญอ ผู้นำชีวิตคนชายขอบออกสู่โลกด้วยดนตรี

Updated: May 13, 2023




“คนชายขอบ” ในบริบททางสังคม หมายถึงผู้ที่อยู่ห่างไกล มีวัฒนธรรมตนเองที่แตกต่างจากคนเมือง และบ่อยครั้งที่คนกลุ่มนี้ถูกละเลยทั้งจากสังคมและหน่วยงานรัฐ ดังนั้นปัจจุบันเราจะเห็นว่ากลุ่มคนชายขอบพยายามที่จะสร้างตัวตนเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากสังคมในมิติต่าง ๆ มากขึ้น ผศ. ดร.สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ หรือ ครูชิ ครูปกาเกอะญอคนแรก ผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิภูมิปัญญาชาติพันธุ์ บุคคลที่นำพาคนที่ถูกเรียกว่าชายขอบให้มีพื้นที่เป็นที่รู้จักต่อชาวโลก โดยนำเครื่องดนตรีพื้นบ้าน “ปกาเกอะญอ เตหน่ากู” ออกบรรเลงขับขานให้พี่น้องชาติพันธุ์ คนเมือง และคนต่างแดนทั่วเอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย และอเมริกา ได้ซึมซับสุนทรียภาพผ่านจิตวิญญาณและเรื่องเล่าวิถีคนกับป่า


ครูชิ ถูกเรียกขานนามว่าเป็น “นักรบทางวัฒนธรรม” เพราะในอดีตชุมชนถูกมองว่าเป็นจำเลยในฐานะผู้ร้ายผู้ทำลายเป็นภัยต่อความมั่นคงมาโดยตลอด ทำให้ต้องเกิดการต่อสู้อย่างสันติวิธี ต่อสู้เพื่อฆ่าอคติทางความคิดของกลุ่มคนที่มีอคติต่อคนชนเผ่า การต่อสู้นี้เพื่อให้กลุ่มคนชายขอบต่างชาติพันธุ์ต่างวัฒนธรรมมีศักดิ์ศรีไม่ต่างไปจากคนในวัฒนธรรมกระแสหลัก โดยใช้การเล่นดนตรีพื้นบ้านเป็นเครื่องมือเริ่มต้นในการสื่อสารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างในความแตกต่างทางชาติพันธุ์


การสื่อสารสาธารณะไม่ว่าจะเป็นสถานีโทรทัศน์ โซเชียลมีเดีย พื้นที่เสวนาทางสาธารณะ พื้นที่อีเวนต์ทางวัฒนธรรม ครูชิยังใช้ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านเป็นตัวขับเคลื่อน โดยนำเครื่องดนตรีพื้นบ้าน “ปกาเกอะญอ เตหน่ากู” ออกบรรเลงขับขานให้พี่น้องชาติพันธุ์ คนเมือง และคนต่างแดนทั่วเอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย และอเมริกา ได้ซึมซับสุนทรียภาพผ่านจิตวิญญาณและเรื่องเล่าวิถีคนกับป่า จนได้รับรางวัล “Ostrana Price” นักดนตรีผู้ใช้ภาษาแม่จากอิตาลี ซึ่งรางวัลนี้พิจารณาจากบุคคลที่ใช้วิถีวัฒนธรรมโดยเฉพาะภาษาแม่มาสื่อสารอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลากว่า 1 ทศวรรษเป็นต้นไป


ความหลากหลายไม่ใช่ภัยความมั่นคง แต่เป็นโอกาสในการสร้างความมั่นคง

“การเล่นเตหน่ากูของผมถือเป็นการต่อสู้อย่างหนึ่ง การนำดนตรีมาเป็นสื่อกลาง มาเป็นตัวขับเคลื่อน โดยมีศัตรูที่เรียกว่ามายาคติทางชาติพันธุ์ ผมต้องการทำลายสิ่งนี้ เพราะมันเป็นเชื้อของการเลือกปฏิบัติ ส่งให้เกิดความรุนแรง และเป็นศัตรูตัวสำคัญของโครงสร้างการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคมไทย เราไม่อยากให้มีการแตกแยกในพื้นที่ใด ๆ ในประเทศที่เราอยู่อาศัย”


เมื่อดนตรีไม่ได้มีหน้าที่แค่ขับกล่อมสร้างสุนทรียะในชีวิตเพียงอย่างเดียว ในบริบทที่ซ่อนอยู่ในการขับกล่อมนั้นคือหนึ่งในกลยุทธ์ที่สร้างแรงกระเพื่อมที่สำคัญต่อกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ปัจจุบันมีพื้นที่ที่ทำอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นต้นแบบจำนวน 16 ชุมชน สามารถเป็นพื้นที่แหล่งเรียนรู้ได้ รวมทั้งได้ผลักดัน พ.ร.บ. คุ้มครองวิถีชีวิตชาติพันธุ์เข้าสู่สภาอีกด้วย นับเป็นการสร้างความยั่งยืนในมิติของการสร้างความมั่นคงที่สามารถเกิดขึ้นได้ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการยอมรับของกลุ่มชาติพันธุ์ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย แต่ยังสร้างการยอมรับให้กับคนทั่วโลก


คุณค่าความหลากหลายในวัฒนธรรมที่ถูกถ่ายทอดออกมาผ่านเครื่องมือสื่อสารสาธารณะเหล่านี้ จะกลายเป็นซอพพาวเวอร์ที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนประเทศ และสร้างโมเดลการพัฒนาคนชายขอบผ่านวัฒนธรรมที่มีคุณค่า สร้างการต่อยอดและพัฒนาทำให้เกิดความมั่นคงของประเทศ

 

Asst. Prof. Dr.Suwichan Phatthanaphraiwan | Srinakharinwirot University

Sgaw Karen instructor who brings the lives of the marginalized into the world via music


“Diversity is no threat to security. It’s an opportunity to build a stable nation."


Asst. Prof. Dr. Suwichan Phatthanaphraiwan, or “Kru Chi,” the first Sgaw Karen instructor and Co-Founder of the Ethnic Wisdom Foundation, helped the world learn about the so-called marginalized group “Sgaw Karen.” He brought the traditional instrument “Te Na Ku” or the Sgaw Karen mandolin to sing for ethnic people, urban people, and foreigners all over the globe to enjoy the beauty, the spirit of forests and tales of the people’s way of life.


Kru Chi has used folk music as the beginning point to fight against ideological bias towards tribal people in a nonviolent manner. He is promoting them through public communication channels such as television, social media, public speaking venues, and cultural events. Kru Chi also employs traditional arts and culture as a driving factor, earning him the “Ostrana Prize” as an Italian native-language musician. This award is given to those who have been fostering cultural ways of communication, particularly in their mother language, for more than a decade.


Music is clearly more than just a lullaby to generate beauty in life; it is also one of the most crucial ripple methods for ethnic communities in Thailand to make changes. There are now 16 concrete and model places available for use as ethic group learning tools. In addition, he has fought to impose the Ethnic Lifestyle Protection Act on the council. This aims to build sustainability in the dimension of stability, resulting in a shift in the acceptance of ethnic groups not just in Thailand, but also globally.









































































25 views0 comments

Comments


bottom of page