top of page

ธนาภรณ์ อ้อยอิสรานุกุล | คุณค่าของอาหารเหลือทิ้งสู่การบริโภคอย่างยั่งยืนแก่ผู้ที่ขาดแคลน

  • Writer: NIA 100 FACES
    NIA 100 FACES
  • Oct 3, 2022
  • 2 min read

Updated: May 13, 2023




“อาหาร” คือหนึ่งในปัจจัยหลักของการดำรงชีวิต หากใครมีกำลังทรัพย์ในการจับจ่ายที่เพียงพอ ก็มักจะได้สัมผัสความสุข ความอิ่มเอมในทุกมื้ออาหาร แม้เหลือบ้าง ทิ้งบ้าง ก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่ในเวลาเดียวกัน โลกใบนี้ยังมีคนอีกมากมายที่รอโอกาสได้อิ่มเอมกับอาหารเหล่านั้นบ้างอย่างมีความหวัง “ธนาภรณ์ อ้อยอิสรานุกุล” นักสังคมสงเคราะห์ที่หยิบยกเรื่องราวของขยะอาหาร (Food Waste) มาตีแผ่ให้สังคมรับรู้ถึงความหมายของคำนี้อย่างถ่องแท้


เราแทบปฏิเสธตัวเองไม่ได้เลยว่า อาหารส่วนเกินที่ถูกทิ้งทั้ง ๆ ที่ยังดีอยู่คือสิ่งที่เราต่างมองข้ามกันมาโดยตลอด อาหารเหลือเหล่านี้อาจเป็นสิ่งไร้ค่าในสายตาเรา แต่ไม่ใช่สำหรับ “ธนาภรณ์” หญิงแกร่งที่ลุกขึ้นมากู้ชีพอาหารส่วนเกินจำนวนไม่น้อยที่มักจะกลายเป็นขยะให้กลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง ยังประโยชน์ให้กับผู้คนที่ขาดแคลนอีกมากมายนับไม่ถ้วน


แต่การคืนชีพให้กับขยะอาหารส่วนเกินนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะสิ่งที่ธนาภรณ์และมูลนิธิ Scholars of Sustenance (SOS) ทำมาตลอด คือ การสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้อง สร้างแนวคิดและความเข้าใจใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการร้านค้าทั้งรายใหญ่และรายย่อย เธอพยายามชี้ให้เห็นถึงปัญหาสะสมจากอาหารส่วนเกินสภาพดีที่ถูกทิ้งในแต่ละวัน เธออธิบายว่าสิ่งเล็ก ๆ ที่เราเคยมองข้ามนั้นอาจสร้างผลกระทบกับโลกในระยะยาว โดยอ้างอิงข้อมูลเชิงสถิติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับแนวคิดการจัดการกับอาหารส่วนเกินที่เหลือจากหน้าร้านอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมเสนอแนวทางการส่งต่ออาหารที่กำลังจะหมดประโยชน์เหล่านี้ให้กับผู้ที่ในชุมชนของแต่ละเขต นั่นคือการพลิกบทบาทของภาคธุรกิจ จากการเป็นผู้ผลิตสู่การเป็นผู้บริจาคโดยสมบูรณ์


“การหาผู้บริจาคอาหารเป็นเรื่องยาก เวลาไปถาม ใคร ๆ ก็บอกว่าไม่มีขยะหรือไม่มีอาหารเหลือทิ้ง และยังไม่เข้าใจว่าเราต้องการอาหารแบบไหน เมื่อถูกปฏิเสธมากขึ้นเรื่อย ๆ เราจึงเริ่มใหม่ โดยเริ่มจาก Compost Program นั่นคือเริ่มจากการให้โรงแรมทดลองแยกขยะ เมื่อแยกออกมา เขาจะทราบว่าจริง ๆ แล้วในถังขยะ 1 ใบมีอะไรบ้าง ในถังขยะเหล่านั้นมีอาหารที่ยังกินได้ มีผลไม้ทั้งลูก มีขนมปัง จากนั้นเราเริ่มเก็บข้อมูล ถ่ายรูป แล้วแจ้งไปยังโรงแรมว่าเราอยากได้อะไรแบบนี้ แต่เราต้องการให้แยกไว้เพื่อนำไปให้คนอื่นกิน โรงแรมก็เริ่มเข้าใจมากขึ้นว่า Surplus Food หรือขยะเหลือทิ้งที่เราต้องการคืออะไร เขาจึงเริ่มแยกอาหารตามโปรแกรมที่เราจัดไว้ให้”


อาหารที่ไร้ประโยชน์ของใครบางคน อาจเป็นประโยชน์ ต่อคนหลายคนอย่างมากมายมหาศาล

ด้วยการดำเนินงานของมูลนิธิ SOS การเดินทางของอาหารที่เหลือจากก้นครัวสู่ปลายทาง ถูกวางแผนและจัดการอย่างเป็นระบบ ประกอบกับความร่วมมือร่วมใจจากภาคีหน่วยงานทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนที่เล็งเห็นถึงปัญหาความขาดแคลนของผู้ยากไร้และความเหลื่อมล้ำในสังคม หน่วยงานเหล่านี้ช่วยสนับสนุนข้อมูลและชี้พิกัดเป้าหมายปลายทางของอาหารให้กับทางมูลนิธิอย่างแม่นยำ เพื่อพาอาหารจากครัวต้นทางไปส่งยังแหล่งชุมชนอย่างทั่วถึงและทันท่วงที เพราะอาหารเหล่านี้อาจใกล้หมดอายุ จึงจำเป็นต้องได้รับการส่งต่ออย่างรวดเร็วเพื่อคงคุณภาพของอาหารไว้ให้ดีที่สุด ถือเป็นการลำเลียงเชื่อมโยงอาหารส่วนเกินคุณภาพดีจากธุรกิจโรงแรมและห้างร้านต่าง ๆ มาแจกจ่ายแก่ผู้ที่ต้องการอาหารมาหล่อเลี้ยงชีวิตแต่ไม่สามารถเข้าถึงได้


การกู้ชีพอาหารส่วนเกินจากภาคธุรกิจเพื่อส่งต่อแก่ผู้ที่ขาดแคลนนี้ ไม่เพียงช่วยยกระดับคุณภาพโภชนาการแก่ผู้คนทุกเพศทุกวัยในสังคมอย่างทั่วถึง แต่ยังช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงในการลดขยะอาหาร อันเป็นปัจจัยที่ช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้อีกด้วย


จากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ของมูลนิธิที่ต้องการช่วยผู้ที่ขาดแคลน นำมาสู่การสร้างแรงขับเคลื่อนสังคมรูปแบบใหม่ มีหน่วยงานระดับประเทศร่วมมือช่วยเหลือ และเตรียมพัฒนาต่อยอดแนวคิดนี้สู่โครงการ BKK FOOD BANK ธนาคารอาหารส่วนเกิน ที่พร้อมกระจายอาหารจากภาคธุรกิจไปช่วยเหลือคนกรุงเพื่อขจัดความหิวโหยและสร้างความตระหนักในการบริโภคอย่างยั่งยืน



 

Tanaporn Oi-isaranukul | Scholars of Sustenance Foundation (Thailand)

Turning leftover food into sustainable consumption for those in need


“The value of surplus food and sustainable consumption for those in need”


Food is one of the main necessities of living, yet perfectly good food, which is not always accessible to everyone, goes to waste all the time. Disposal of unmarketable surplus food is often an overlooked issue. Tanaporn Oi-isaranukul begs to differ by giving the said surplus food a new life and saving innumerable lives while at it. What she and Scholars for Sustenance (SOS) foundation have been doing is providing knowledge, concepts, and new understanding concerning food waste for both large and small enterprises.


Based on the operational blueprint of SOS, she obtained statistical data from relevant agencies as the reference and induced tangible changes to the waste management practices among the participating hotels, department stores, and restaurants. One of the key challenges in this operation, Tanaporn added, was to help make these food “donors” able to distinguish between “food waste” (i.e., compostable food waste) and “surplus food” (e.g., whole fruits and bread that still fit for human consumption).


She further proposed the systematic course of actions to deliver the donated surplus food, which was often near expiration, to those in need accurately, in good quality, and in due time. This “Thai Harvest SOS” project then built on its success by expanding, collaborating with state agencies, and executing the ensuing “BKK FOOD BANK” project. Tanaporn’s projects do not only raise awareness on responsible and sustainable consumption and improve nutrition justice for all sections of the society but also contribute to mitigating global warming impacts of food waste.




Comentários


โทรศัพท์ : 02-017 5555  I  โทรสาร :  02-017 5566  I  อีเมล์ : info@nia.or.th

© 2022 สมิทธิ์ บุญชุติมา

  • Facebook
  • Instagram
bottom of page