top of page
  • Writer's pictureNIA 100 FACES

ธีรพงษ์ มีสัตย์ | ความท้าทายของวิชาชีพครู ในยุคโซเชียลมีเดียฟีเวอร์

Updated: May 13, 2023




ปัจจุบันเป็นยุคแห่งดิจิทัล การเรียนการสอนก็มีการปรับตัวตามไปด้วย ทั้งการสอนในรูปแบบออนไลน์ และการผลิตสื่อการสอนที่สามารถดูซ้ำได้ ทำให้ผู้เป็นครูก็ต้องสร้างสรรค์วิธีการในการนำเสนอวิธีการสอนที่สามารถตอบความต้องการของผู้เรียนยุคใหม่


หนึ่งในครูผู้ที่ปรับตัวและประยุกต์เทคโนโลยีมาใช้กับการสอนคือ นายธีรพงษ์ มีสัตย์ หรือ ครูบอลลี่ ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ โรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ครูที่เปิดใจยอมรับการก้าวเข้ามาของเทคโนโลยีและเป็นผู้ที่เดินเข้าหานักเรียน จนสร้างรูปแบบเอกลักษณ์การสอนที่ตอบโจทย์ความต้องการจนเป็นที่นิยมในปัจจุบัน และยังเป็นไอดอลให้กับครูอีกหลายท่านในการลุกขึ้นมาปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์และพัฒนาการสอนของตนเอง

ครูบอลลี่ ผู้ที่มีเอกลักษณ์ในการแต่งองค์ทรงเครื่อง แต่งหน้าจัดเต็ม ที่ใคร ๆ เห็นในโซเชียลนั้นเริ่มจากที่โรงเรียนมีกิจกรรมในวันสำคัญของโรงเรียนและเป็นคาบของการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของครูพอดีโดยที่ไม่ได้เปลี่ยนชุดคืน เพราะไม่อยากเข้าสอนสายและมีการถ่ายภาพลงเฟซบุ๊กส่วนตัวเพื่อความสนุกสนานตามสไตล์ ไม่ได้ตั้งใจจะสร้างคอนเทนต์ใด ๆ ซึ่งได้รับการตอบรับจากนักเรียนทำให้เด็ก ๆ หันมาสนใจเรียนและสนุกสนานกับการแต่งกายที่แปลกตาของครู มีเสียงหัวเราะสนุกสนาน มีความสุข จึงลงทุนแต่งหน้า สร้างสีสันให้เด็ก ๆ ชอบและกล้าที่จะเรียนภาษาอังกฤษ สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ทำให้ได้ใจนักเรียนมากขึ้นเมื่อเวลาเข้ามาเรียนภาษาอังกฤษ เด็ก ๆ ก็จะรู้สึกผ่อนคลายและมีความสนใจอยากเรียนมากขึ้น กล้าพูดกล้าสนทนาเป็นภาษาอังกฤษมากขึ้น มีส่วนร่วมในชั้นเรียนมากขึ้น เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับเด็กและทลายกำแพงระหว่างเด็กกับครูลงกลายเป็นการรอคอยที่จะได้เรียนภาษาอังกฤษกับครูบอลลี่ แม้จะเป็นแค่หนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ แต่เด็กก็ตั้งตารอคอย


“คิดง่าย ๆ ว่าถ้าเราชอบอะไร เราจะอยากจะทำสิ่งนั้น เหมือนกัน ถ้าจะทำให้เด็กชอบภาษาอังกฤษก็ต้องทำให้เด็กชอบครูสอนภาษาอังกฤษก่อน หากเด็ก ๆ ชอบ ความคิดและการแสดงออกของครูเด็กจะตั้งใจฟัง ซึ่งการที่เด็กเรียนภาษาอังกฤษรู้เรื่อง ก็จะเป็นผลพลอยได้ตามมา”


การเป็นครูมีความท้าทายเหมือนเป็นพ่อแม่คนที่ 2 ยิ่งเป็นครูในยุคโซเชียลมีเดีย โจทย์คือเราจะสอนอย่างไร

จากความคิดสร้างสรรค์ที่ตั้งใจสอนเพียงในห้องเรียนก็ได้รับกระแสตอบรับในโลกออนไลน์ ทำให้เกิดแนวคิดในการแบ่งปันความรู้ภาษาอังกฤษ ซึ่งครูบอลลี่ตั้งใจที่จะกระตุ้นและสร้างความเปลี่ยนแปลงในการรักเรียนภาษาอังกฤษของเด็กไทย รวมทั้งยังต้องการที่จะเป็นแนวทางให้คุณครูหลาย ๆ ท่านได้ลองปรับเปลี่ยนแนวทางการสอนตามสไตล์ตนเอง ซึ่งจะส่งผลดีทั้งต่อตนเองและนักเรียน ครูบอลลี่เองไม่ได้สอนอังกฤษผ่านโซเชียลเท่านั้น แต่ยังสอนการใช้โซเชียลในทางที่ถูกต้อง ใช้ค้นหาข้อมูลที่มีประโยชน์ เช่น การสอนภาษาอังกฤษผ่าน TikTok การใช้แอปพลิเคชันตัดต่อวิดีโอ โดยพยายามดึงสิ่งที่เด็กสนใจมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน นักเรียนที่มีคำถามหรือไม่เข้าใจสิ่งใด ส่วนใหญ่ก็จะสอบถามหรือ inbox เข้ามาถามในเพจ ซึ่งก็ถือว่าประสบความสำเร็จในการสร้างแรงกระตุ้นในสังคมในเรื่องการเรียนรู้


สำหรับกลยุทธ์ที่ใช้ในการทำงาน ครูบอลลี่มีกระบวนขั้นตอนการทำงานที่มีการวางแผนทุกครั้ง ตั้งแต่การเตรียมการสอน โดยจะจัดทำ Story Telling เตรียมคำถาม โดยเนื้อหาแต่ละครั้งจะเน้นการใช้สถานการณ์ข่าวดังที่เกิดขึ้น หรือนำประสบการณ์ตรงมาบอกกล่าวนักเรียนเพื่อชี้ให้เห็นว่าเหตุการณ์เหล่านั้นคือผลผลิตจากการไม่ได้ถูกอบรมสั่งสอน จากการที่ไม่เห็นอกเห็นใจคนอื่น ไม่มีคุณธรรมในสังคม ซึ่งเป็นการสอดแทรกการสอนคุณธรรมและวิธีคิดให้นักเรียนไปนตัว


“การเปลี่ยนแปลงสังคมต้องเริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงเยาวชน และการจะเปลี่ยนแปลงเยาวชนก็ต้องมาจากครูผู้อบรมสั่งสอน ดังนั้นเราต้องทำให้ตัวเองตื่นตัวรับการเปลี่ยนแปลง ไม่หยุดพัฒนาทั้งความคิด วิธีการ และจิตใจ เพื่อให้อาชีพครูเกิดความยั่งยืน”


ครูบอลลี่ทิ้งทายว่า การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือการเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงที่ตนเอง กล้าลองผิดลองถูก สร้างรูปแบบของตัวเองที่ถนัด ทำแล้วมีความสุขและเกิดประโยชน์ สามารถเป็นโมเดลให้คนอื่นนำไปพัฒนาได้ จึงเรียกว่าผู้พัฒนาอาชีพอย่างแท้จริง


 

Theeraphong Meesat | Prasartratprachakit School

The challenges of teaching in the age of social media


“Being a teacher comes with the challenging responsibility of being a second parent. In the digital era, the more pressing question is how a teacher should teach.”


Mr. Theeraphong or Kru Bally, an English teacher at Pracharat Prachakit School in Damnoen Saduak District, Ratchaburi, is receptive to the advancement of technology and approaches children in costumes and full make-up. “Students will be calmer and more eager in studying English when they arrive. They are more confident in speaking English. In class, there is greater involvement,” Kru Bally said with a smile. His unique way of handling the class has removed the barrier that long existed between the pupils and the teacher. They are excited to study English with Kru Bally, even if it is only once a week.


His creativity that was supposed to be only in his classroom has gained nationwide recognition on the internet. It is believed that his teaching techniques will increase and change Thai children’s enthusiasm. Kru Bally, however, does not emphasize teaching English through social media, but rather he focuses on ways in which social media such as TikTok and video editing apps can be used properly.


Kru Bally always follows a well-planned workflow approach when it comes to instructional strategies. Storytelling and questions are developed as part of his teaching preparation. He asserted that youth change must precede social change. The instructors must be an agent of change. “We must train ourselves to be adaptable and to continue developing ideas and teaching techniques, as a teacher.”






































27 views0 comments
bottom of page