top of page
  • Writer's pictureNIA 100 FACES

อุไร ด้วงเงิน | ผ้ามัดย้อม งานศิลป์ถิ่นคีรีวง อัตลักษณ์ชุมชนแห่งปลายด้ามขวาน

Updated: May 13, 2023




หากเอ่ยถึงชุมชน แน่นอนว่าวิถีชีวิต วัฒนธรรม และภูมิปัญญานับเป็นเสน่ห์และทรงคุณค่าในการรักษาให้อยู่คู่กับชุมชนเพื่อสะท้อนเอกลักษณ์เรื่องราวของที่แห่งนั้นไม่ให้เลือนหายตามกาลเวลา ชุมชนที่เป็นเสน่ห์แห่งดินแดนปลายด้ามขวานและได้รับสมญานามว่า “อากาศบริสุทธิ์ที่สุด” คือชุมชนคีรีวง ชุมชนที่ทุกคนพร้อมใจกันปกป้องรักษาและสร้างเสริมจากชุมชนเล็ก ๆ ให้เป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ และปัจจุบันก็ดังไกลไปทั่วโลก จากแนวคิดของ คุณอุไร ด้วงเงิน หรือที่เรียกกันติดปากว่า “ป้าอุไร” ประธานกลุ่มใบไม้บ้านคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่วันนี้ทำให้ผ้ามัดย้อม งานศิลป์ถิ่นคีรีวงเป็นที่รู้จักและพูดถึงจนใคร ๆ ก็อยากมาชม ก่อให้เกิดความยั่งยืนในชุมชนอย่างแท้จริง


ป้าอุไรเล่าว่า สมัยตอนอยู่กรุงเทพฯ เคยทำงานโรงงานทอผ้าส่งออก หลังจากตัดสินใจแน่นอนว่าอยากกลับมาใช้ชีวิตที่บ้านเกิดก็มองหาอาชีพที่เป็นอาชีพดั้งเดิมของบรรพบุรุษ ด้วยความที่เป็นคนชอบเรื่องผ้า พอกลับมาที่คีรีวงก็อยากมาสานต่อเรื่องผ้า จึงค้นหาเรื่องราวและความเป็นมาของคีรีวง จนได้รับทราบมาว่าที่คีรีวงเดิมมีการทำผ้ามัดย้อม แต่ก็ได้เลือนหายไปตามกาลเวลา เลยได้ไอเดียที่อยากจะนำผ้ามัดย้อมกลับมารังสรรค์ให้เป็นอัตลักษณ์ของคีรีวงอีกครั้ง ประกอบกับที่นี่เป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป้าไม้ สายน้ำ เลยได้ไอเดียเป็นเรื่องของการทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ


ป้าอุไรจึงมีแนวคิดรวมกลุ่มเพื่อก่อตั้ง “กลุ่มใบไม้บ้านคีรีวง” ขึ้นร่วมกับคนในชุมชนตั้งแต่ปี 2541 โดยมีแนวคิดในการจัดระบบการทำงานให้ความชัดเจน มีการแบ่งฝ่ายการทำงาน โดยมีฝ่ายย้อมผ้า ฝ่ายตัดเย็บ และฝ่ายงานทั่วไป นับเป็นองค์ความรู้ที่นำเข้าสู่ชุมชน รวมทั้งยังเป็นการสร้างอาชีพให้แก่คนในชุมชน


“การทำผ้ามัดย้อมของกลุ่มใบไม้บ้านคีรีวงไม่เหมือนที่อื่น ผ้ามัดย้อมแต่ละชิ้นมีเพียงลายเดียวในโลก แม้ผ้ามัดย้อมทุกชิ้นจะผ่านขั้นตอนและกระบวนการเดียวกัน แต่อารมณ์ของลายสำหรับงานแต่ละชิ้นจะออกมาไม่เหมือนกัน เพราะเป็นงานฝีมือที่ถูกสร้างขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคนตอนมัดลาย และเรื่องสีก็เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ กลุ่มใบไม้บ้านคีรีวงจะเลือกสีที่มาจากพืชในชุมชนเพื่อบอกเอกลักษณ์ถึงความเป็นคนใต้ เราพบว่าที่คีรีวงทำสะตอดองที่จะลวกเอาเมล็ดออกไปดองกับเกลือ ส่วนฝักก็ทิ้ง เราก็ลองเอาฝักที่เขาทิ้งมาทดลองเข้ากระบวนการย้อมดูก็เลยได้เป็นสีเทา ซึ่งเป็นสีที่เป็นเอกลักษณ์ของคีรีวงแห่งนี้ ”


งานที่สร้างขึ้นมาต้องมีอัตลักษณ์ชุมชน มีเป้าหมายและระบบที่ดี จึงจะยั่งยืนได้

ป้าอุไรบอกว่า การมีเป้าหมายที่ชัดเจนร่วมกันรวมกับการประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งในชุมชน สถาบันการศึกษา ทำให้ที่นี่เป็นศูนย์เรียนรู้ที่เปิดกว้างให้ทุกคนที่สนใจทำผ้ามัดย้อมเป็นอาชีพเข้ามาเรียนรู้ รวมทั้งเปิดโอกาสให้สถาบันการศึกษาพานักศึกษาเข้ามาเรียนรู้กระบวนการคิดในรูปแบบชุมชนจนก่อเกิดงานที่สามารถสร้างมูลค่าเกิดการพัฒนาต่อยอดในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ในชุมชนจนเกิดความยั่งยืน


ผลพวงของความมุ่งมั่นและตั้งใจทำให้วันนี้ผ้ามัดย้อมของกลุ่มใบไม้บ้านคีรีวงโด่งดังไกลไปถึงต่างประเทศ และได้มีการพัฒนาจนถูกตาต้องใจทีมฟุตบอลชื่อดังอย่างสโมสรฟุตบอลของพรีเมียร์ลีกอังกฤษ “เลสเตอร์ ซิตี้” ที่ได้สวมใส่เสื้อแจ็กเกตที่ทำจากผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติของกลุ่มใบไม้บ้านคีรีวงลงแข่งกับทีมลิเวอร์พูลจนดังกระหึ่มทั่วโลกเมื่อช่วงปลายปี 2562 และมียอดสั่งซื้อจำนวนมากซึ่งคิงเพาเวอร์ได้นำสินค้าของบ้านคีรีวงไปวางจำหน่ายในร้านของคิงเพาเวอร์ทั้งในประเทศไทยและประเทศ กลับกลายเป็นการสร้างรายได้ให้กับชาวคีรีวง และช่วยเพิ่มรายได้มวลรวมของประเทศอีกด้วย


“คีรีวง” ชุมชนเล็กที่ไม่เล็กในการเป็นแบบอย่างในเรื่องความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม และสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนหนุ่มสาวให้หันกลับมาใช้ศักยภาพของตนเองในการพัฒนาบ้านเกิด มาช่วยสืบสานงานภูมิปัญญาพื้นบ้านให้คงอยู่อย่างยั่งยืน

 

Urai Duangheng | Baimai Kiriwong

Thai dye collections and crafts from the South of Thailand


“Successful work is the result of good planning. Our goal is to create identity for the community and enhance sustainability.”


Cultures, traditions and local wisdom reflect the identity of a community. They must be preserved before being wiped out as a result of changes. The community of Kiriwong, located in Nakhon Si Thammarat, the south of Thailand is known to have “the cleanest air”. The community sees the participation and commitment of its people in protecting and promoting the community. Thanks to the innovative idea of Urai Duangheng, known by the community as “Aunt Urai”, this small and cozy community is now world-famous. Urai, the head of Baimai Kiriwong, Lan Saka District, Nakhon Si Thammarat, is the force behind the reputation of Kiriwong’s tie-dye fabrics and crafts which have attracted people from everywhere and brought about genuine sustainability in the community.


Urai used to work in a weaving factory in Bangkok. When she decided to return to her hometown, she decided to pursue a career in fabrics. With her interest in textiles, coupled with the traditional heritage of Kiriwong’s tie dye which was dying away, Urai was determined to bring back the colorful identity of her hometown through collaborations of the locals and the authorities. Given the abundance of natural resources in the area, Kiriwong’s dyes are extracted from local plants. The tie-dye process of Kiriwong is unique, giving the products their distinctiveness.


Kiriwong’s tie-dye products became even more famous when Leicester City football team wore tie-dye jackets by Kiriwong. Kiriwong’s tie-dye products are the source of income, pride and heritage for the community.




























































14 views0 comments
bottom of page