top of page
  • Writer's pictureNIA 100 FACES

วรรณกนก เปาะอีแตดาโอะ | สร้างคน สร้างโอกาส สร้างความเปลี่ยนแปลงสู่สังคม

Updated: May 14, 2023




จากปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างประเมินค่าไม่ได้ และที่สร้างผลกระทบที่รุนแรงคือความสูญเสีย โดยเฉพาะบางครอบครัวสูญเสียพ่อแม่กลายเป็นเด็กกำพร้า คุณชมพู่ วรรณกนก เปาะอีแตดาโอะ ผู้ก่อตั้งสมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (ลูกเหรียง) โดยคุณชมพู่เป็นชาวยะลาโดยกำเนิด และได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จนต้องสูญเสียบุคคลในครอบครัวไป จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นของการลงไปทำงานช่วยเหลือเด็กและผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรง ปัจจุบันนี้มีบ้านลูกเหรียงที่คอยเป็นที่พักและให้ความช่วยเหลือเด็กและผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียครอบครัวไปในสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัจจุบันมีลูกเหรียงอยู่ 102 คน และผู้หญิง 6 คน


คุณชมพู่เล่าว่า ตอนที่ลงไปเยี่ยมพูดคุยกับเด็ก ๆ ถึงการใช้ชีวิตหลังประสบเหตุการณ์ เด็ก ๆ ตอบว่าเขาอยากโตไว ๆ เขาจะได้มีโอกาสไปแก้แค้นแทนพ่อแม่ของเขาที่โดนยิงหรือระเบิดจนเสียชีวิต ซึ่งสิ่งนี้เป็นเหมือนกับระเบิดที่รอวันระเบิดในอนาคต จึงมีแนวคิดที่ต้องการเก็บกู้ระเบิดเหล่านั้นก่อนในใจของเด็ก ๆ จึงเกิดสมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (ลูกเหรียง) ซึ่งกลุ่มลูกเหรียง แต่เดิมมีแต่เด็ก ๆ อาศัย แต่ในปัจจุบันนี้มีผู้หญิงที่เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวและเข้ามาอยู่ที่นี่พร้อมลูก เนื่องจากครอบครัวประสบเหตุการณ์ความรุนแรง คนที่ประสบเหตุก็เป็นเพียงชาวบ้านธรรมดา บางคนสูญเสียทั้งครอบครัว ไม่มีที่อยู่อาศัย และไม่ได้เรียนหนังสือ


“เราทำงานแบบ Empower ให้เขาพร้อมกับทำงานเยียวยาไปด้วย ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ต้องให้เขาลงมือทำเอง ไม่ใช่ว่าคนที่มาอยู่ในลูกเหรียงแล้วจะต้องได้รับการเยียวยาหรือจะได้เรียนหนังสือ แต่กระบวนการทุกอย่างเขาจะต้องเป็นคนร่วมกันออกแบบกับเรา ซึ่งกระบวนการที่เราใช้ปัจจุบัน เรามีเครื่องมือและหลักสูตรมากมายจากการที่เราทำงานกับเด็กและผู้หญิงเหล่านี้ เราไม่ได้นิยามว่าเราเป็นสถานสงเคราะห์ คนที่นึกถึงบ้านลูกเหรียงที่ยะลา คนก็จะนึกถึงเด็กที่เป็นผู้นำ บ้านที่ทำอาหารอร่อย บ้านที่ทำกิจกรรม”



ชีวิตของเด็กลูกเหรียงบางคนมีโจทย์ชีวิตที่ยากกว่าเด็กคนอื่น เพราะเขาสูญเสียคนทั้งครอบครัว

คุณชมพู่บอกอีกว่า ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านหลายคน มีพื้นที่การทำงานทดลองโมเดลต่าง ๆ ที่พัฒนาภายใต้การเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีหลายพื้นที่หลายตำบลที่ถูกนำเสนอและประกาศให้เป็นตำบลต้นแบบ เรามีงานสำหรับกลุ่มคนเปราะบางหลายงาน เช่น ครัวลูกเหรียงมีหลักสูตรการทำอาหารซึ่งพัฒนาเป็น Local chef เป็นการการอบรมจากคนลูกเหรียง ที่พัฒนาตัวเองออกมาเป็นเชฟ ซึ่งจะเห็นว่าลูกเหรียงมีการสร้างโมเดลรูปแบบการพัฒนาที่หลากหลายจากจุดแข็งของกลุ่มคนที่มี


“นอกจากนี้ยังเดินหน้าทำงานด้าน LGBT ในเรื่องการเปิดพื้นที่ให้กับกลุ่มคนที่มีความเปราะบางในมิติต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่มีเยอะมากที่แหล่งทุนเขาไม่กล้าให้ ยิ่งถ้าเป็นประเด็นที่เปราะบางมาก ๆ อ่อนไหวมาก ๆ เขาไม่กล้าให้ ดังนั้นอันดับแรกเราต้องหาเงินทำเองก่อนและใช้เงินที่เรามีไปดำเนินการ จนเป็นรูปธรรมก็จะมีความร่วมมือและการสนับสนุนจากภายนอกเข้ามา ก่อนหน้านี้เราทำงานศิลปะบำบัดมาเยอะ จนบริษัทมิตรผลเห็นว่าลูกเหรียงทำเรื่องนี้ได้ดี เขาเลยชวนเราใช้ความสามารถเราไปทำงานกับกลุ่มเด็ก ๆ ที่มีความเปราะบางที่เบตง ซึ่งเขามีความเปราะบางซ้ำซ้อนหลายเรื่องมาก เราก็ใช้ศิลปะเข้าไปบำบัด ตอนนี้น้อง ๆ เขาก็มีงาน Art ของเขาไปวางขายให้พอมีรายได้ เราก็พยายามทำตัวเองให้แข็งแรง มีความสามารถ และไปต่อยอดกับคนอื่นได้”


จากความตั้งใจของคุณชมพู่ ทำให้วันนี้กลุ่มลูกเหรียงมีความเข้มแข็งและเป็นสังคมแห่งการพึ่งพาที่มีความสุขและส่งต่อให้คนอื่นตามโมเดลที่ได้ทำมาจนประสบความสำเร็จก่อให้เกิดความยั่งยืนในพื้นที่ชายแดนใต้ของไทย

จากความมุ่งมั่นทุ่มเทในการก่อตั้งกลุ่มลูกเหรียง และแนวคิดโมเดลในการพัฒนาศักยภาพ จนวันนี้กลุ่มลูกเหรียงสามารถมีพลังที่ดีในการอยู่ในสังคมอย่างเข้าใจและแบ่งปันกัน นับเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนที่แท้จริง


 

Wannakanok Pohitaedaoh | Luuk Rieng Group

Develop people, create opportunities, initiate changes to society


“The lives of some children are much harder than we can imagine. They lost the whole family.”


Chompoo, also known as Ms. Wannakanok Pohitaedaoh, a Yala native, is the founder of the Southern Border Peace Child and Youth Association (Luukrieang). She witnessed the fighting in the three southern border provinces and experienced a great loss: her family members. That was her starting point for assisting children and women who have been victims of abuse. There is currently the Luukrieang House, which gives lodging and help to children and women who have lost their family. There are now 102 children and 6 women.


There are now several specialist staff members. There is a working area to apply several models that have been established for them. Many regions and sub-districts have been shown and designated as model sub-districts. Several opportunities for the disadvantaged are also available. For example, Luukrieang Kitchen offers a culinary education to prepare students to become local chefs. Art has been adopted as a therapeutic strategy to help and educate children in Betong. “This would allow them to earn money, strengthen themselves and expand further,” Chompoo said. Furthermore, the association tackles LGBT issues by creating space for vulnerable groups in numerous dimensions. Initially, the association would have to raise funds to operate since the project was quite sensitive and needed time to gain trust from outside supporters.


Currently, the Luukrieang group is a well-established, happy and trustworthy community. Its model has been effectively adopted to establish sustainability in Thailand’s southern border areas. This is a truly long-lasting creation.























































21 views0 comments
bottom of page