สตูดิโอออกแบบและครีเอทีฟที่ทำงาน “อีเหละเขละขละ” ที่สุดในประเทศไทยกับการรื้อถอนโครงสร้างเดิม เพื่อเพิ่มเติมสิ่งใหม่ ๆ ให้แก่วงการสร้างสรรค์
แม้จะออกตัวว่าตัวเองเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง “56th Studio” สตูดิโอออกแบบและครีเอทีฟที่ทำงาน “อีเหละเขละขละ” ที่สุดในประเทศไทยแต่กระบวนการวิธีคิดและวิธีการทำงานของ “ศรัณย์ เย็นปัญญา” ครีเอทีฟหัวสมัยใหม่คนนี้นั้นไม่ได้อีเหละเขละขละแบบที่เขาว่าเลยแม้แต่น้อย จนทำให้เป็นที่กล่าวถึงในฐานะดีไซเนอร์รุ่นใหม่ที่ได้ทำงานกับแบรนด์และนิตยสารมากมาย และได้เป็น Young Designer of The Year Wallpaper Magazine Thailand, Young Designer of The Year Elle Decoration Thailand และได้เป็นนักพูดในงาน Ted Talk ด้วย
“ผมตีความคำว่า ‘นวัตกรรม’ ไว้หลายอย่างหลายคนอาจจะมองว่านวัตกรรมเกี่ยวของกับเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ผมกลับมองว่านวัตกรรมเป็นวิธีคิดที่สามารถดิ้นและเปลี่ยนไปได้ เราสามารถใช้ของเดิม องค์ความรู้เดิม ภูมิปัญญาเดิม มองมันด้วยมุมใหม่ เราก็จะได้นวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาได้”
“ดังนั้น ทุก ๆ งานที่ผมทำ จะประกอบด้วยการเอาบางสิ่งบางอย่างมารื้อ และประกอบกลับเข้าไปใหม่ มีกระบวนการรื้อสร้างแบบนี้อยู่ในวิธีคิดอยู่แล้ว ถ้าจะให้ยกตัวอย่างที่ชัดเจน ก็ในช่วงก่อนที่เทรนด์ Upcycling จะมาอินแบบนี้ ผมเอาตระกร้าใช้แล้วมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ราคาแพง หรือในโพรเจกต์ ล่าสุดที่ทีมเราเข้าไปช่วยโรงงานทอผ้า โดยเป็นพาร์ตเนอร์ระยะยาว เรื่องนี้ผมว่าเห็นนวัตกรรมในแนวคิดค่อนข้างชัดเจนในแง่ของการประยุกต์ใช้เครื่องทอที่ทอแต่สิ่งเดิม ๆ เราเข้าไปปรับเปลี่ยนโดยเอาความสร้างสรรค์ใส่ลงไปในเครื่องจักรตัวเดิม ใส่ไปในคนเดิม ๆ ที่ทำงานคุ้นเคยแบบเดิม ๆ มานาน และได้ผลลัพธ์เป็นสินค้าที่ไม่เคยมีมาก่อน น่าจะชัดเจนที่สุดในความหมายของนวัตกรรม”
เราสามารถใช้ของเดิม องค์ความรู้เดิม ภูมิปัญญาเดิม มองมันด้วยมุมใหม่ เราก็จะได้นวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาได้ครับ
“ต้องยอมรับครับว่า มันจะมีการต่อต้านเสมอเมื่อต้องเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่าง เพราะมันคือการเปลี่ยนพฤติกรรมเดิม ๆ ที่เขาคุ้นชินมาเป็นเวลานาน ตอนที่เข้าไปร่วมมือกับโรงงานทอผ้าแรก ๆ นี่ยากมาก ช่างทอที่อยู่หน้ากี่นี่เบะปากทุกครั้งที่เห็นหน้าผมนอกจากการที่เขาจะต้องปรับพฤติกรรมเดิม ๆ แล้วโจทย์ที่เราให้เขาไปนั้นก็จะพิสดารเกินครีเอทีฟสตูดิโอปกติไปอีกหนึ่งสเต็ปแล้ว แต่วินาทีที่เรารู้สึกว่าเราได้ใจเขาแล้ว เขายอมทำสิ่งที่มันเป็นโจทย์พิสดารนี้ และเห็นว่ามีคนซื้อของที่เขาผลิตออกมา นี่คือสิ่งที่เป็นไปได้จริง และเป็นมูลค่าเพิ่ม เขาอาจจะไม่ค่อยเข้าใจในแง่ของความคิดสร้างสรรค์ในชิ้นงานที่เขากำลังทำอยู่แต่เขาเห็นว่ามีคนยอมเสียเงินมากขึ้นให้กับงานที่เขาทำ เขาได้ลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ วินาทีนั้นเป็นวินาทีที่ผมไม่ต้องทะเลาะกับเขาอีกต่อไป ทุกคนเดินมาขอบคุณผม นั่นเป็นวินาทีที่มีความหมายมากสำหรับทีมเรา พวกเราไม่ได้แค่เปลี่ยนธุรกิจเพียงอย่างเดียวเท่านั้นแต่วิธีคิดของพวกเรานั้นเปลี่ยนชีวิตของคนที่อยู่ในองค์กรเดิม ๆ ได้ด้วย ผมเลยรู้สึกว่าความยากลำบากจริง ๆ มีแค่ขั้นตอนเดียว คือการโน้มน้าวชักชวนให้ทุกคนที่ลงเรือลำเดียวกันมาแล้วเห็นจุดหมายเดียวกัน และออกเรือไปด้วยกันได้
“อธิบายง่ายที่สุดคือ เครื่องทอผ้านี้มีศักยภาพในการทำสินค้า A ได้เป็นอย่างดี แต่เรานำเอาอะไรใหม่ ๆ ป้อนเข้าไปเพื่อบังคับให้มันทำสินค้า B C D E ไปเรื่อย ๆ นั่นเป็นการใช้ประโยชน์จากคาแรกเตอร์ของเครื่องให้เต็มที่ที่สุด พร้อมทั้งเพิ่มอะไรใหม่ ๆ เข้าไป ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีเรื่องเส้นใย หรือการนำด้ายค้างสต็อกมาดัดแปลง และเมื่อเราแสดงให้ศิลปินเห็นแล้วว่า เครื่องทอผ้าของเรานั้นสามารถทอเห็นรายละเอียดยางลบ หรือรายละเอียดใด ๆ ก็ตามบนผลงานของเขาได้เท่าไร เขาก็จะเห็นหนทางว่าจะสามารถทำให้ภาพวาดราคาเป็นแสนของเขากลายมาเป็นสินค้าราคาหลักพันที่จับต้องได้ การคิดเช่นนี้คือการเปลี่ยนวิธีการทำงานตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไล่มาจนถึงปลายน้ำ มันไปด้วยกันทั้งระบบ ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนด้ายที่ใส่เครื่องทอ”
Rebuild / Redesign / Recreate
Saran Yenpanya is a co-founder of 56thStudio which designs and creates a large amount of innovative work in Thailand. He is a new generation creative who has received tons of rewards such as Young Designer of The Year Wallpaper Magazine Thailand and Young Designer of The Year Elle decoration Thailand. “I interpret the word innovation in several ways. Many people may think that innovation should only be linked to technology, but for me innovation is when we mix old things with creativity and it creates an innovation.” True to his words, Saran creates his work by adjusting old fashioned items and using creativity to make fashionable products. Before the trend of upcycling became popular, he had already done it with his products design. For example, he used old baskets to create an expensive furniture. “At first, I had to cooperate with people at a weaving factory who didn’t agree to my idea at all. I always had to fight with them. After my products were sold and the value was added, the factory seemed to be more open minded.”
Comments