top of page
  • Writer's pictureNIA 100 FACES

อเล็กซานเดอร์ ไซม่อน เรนเดลล์ | ห้องเรียนธรรมชาติสู่สำนึกอนุรักษ์

Updated: May 31, 2021



อเล็กซ์ เรนเดลล์กับภารกิจท้าทายของ EEC Thailand ฉีกกรอบการเรียนรู้ พาเยาวชนศึกษาจากธรรมชาติ ปลุกจิตสำนึกสร้างแรงบันดาลใจในการปกปักรักษาสิ่งแวดล้อม


อเล็กซ์ซึมซับแนวคิดรักธรรมชาติมาตั้งแต่อายุ 10 ขวบ เมื่อเข้าสู่มหาวิทยาลัย เขาเริ่มทำงานจิตอาสาต่าง ๆ แต่งานที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยเขาใหญ่ทำให้ฉุกคิดได้ว่าควรสร้างองค์กรเพื่อทำงานด้านนี้อย่างจริงจัง ในที่สุดเขาและเพื่อนร่วมอุดมการณ์อีก 4 คนจึงก่อตั้ง “Environmental Education Centre Thailand หรือ EEC Thailand” เพื่อให้คนเข้าใจธรรมชาติมากขึ้นผ่าน “กระบวนการ” สร้างแรงบันดาลใจด้วยการออกค่ายทำกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาความเข้าใจจะกระตุ้นให้อยากปกป้องธรรมชาติมากขึ้น

อเล็กซ์เล่าว่า “ส่วนมากเรานำโครงการนี้ไปทำกับเด็กและเยาวชน เพราะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ที่ผ่านมาปัญหาธรรมชาติเกิดจากการตัดสินใจที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อธรรมชาติ เราจึงพยายามปลูกฝังแนวคิดตั้งแต่เด็กเพื่อให้ติดตัวพวกเขาตลอดไป”

วิธีการสอนของอเล็กซ์คือการพาเด็ก ๆ เข้าสู่โลกแห่งการอนุรักษ์สัตว์ป่าและธรรมชาติด้วยการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงจนตกหลุมรัก พร้อมพัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์ และสร้างแรงบันดาลใจให้อยากปกป้องธรรมชาติจากใจจริง

อย่างไรก็ตาม หน่วยงานนี้ไม่ได้พุ่งเป้าไปที่เยาวชนอย่างเดียว “กอดป่ากอดทะเล” เป็นโครงการที่ EEC Thailand นำเหล่าวิทยากรเข้าไปให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและท้องทะเลแก่ผู้ที่สนใจอายุตั้งแต่ 18-35 ปี ที่อยู่ตามเกาะต่าง ๆ เพื่อนำเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการและนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดแก่คนอื่นต่อไป ซึ่งเริ่มต้นไปแล้วที่จังหวัดกระบี่


ผมคิดว่ากว่าจะทำให้คนในสังคม หันมาสนใจสิ่งแวดล้อมน่าจะกินเวลา 5 หรือ 10 ปี แต่มันกลับสำเร็จได้ภายในไม่กี่ปีเท่านั้น

“สิ่งที่ผมทำภายใต้ EEC Thailand เพื่อต้องการให้สังคมตระหนักถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติซึ่งผลลัพธ์นั้นเกินคาดเพราะตอนแรกคิดว่ากว่าการทำงานของเราจะทำให้คนในสังคมหันมาสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม น่าจะกินเวลา 5 หรือ 10 ปี แต่มันกลับสำเร็จได้ภายในไม่กี่ปีเท่านั้น อีกทั้งยังมีโพรเจกต์ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น รวมถึงโอกาสเข้าร่วมแคมเปญกับองค์กรอื่น ๆ ซึ่งเป็นก้าวสำคัญของเราที่ได้มีส่วนช่วยสังคมทำให้เกิดการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมและใส่ใจสัตว์ป่ากันมากขึ้น” กระบวนการทั้งหมดสะท้อนให้เห็นถึงการออกจากกรอบความคิดเดิม ๆ อย่างการสอนเพื่อท่องจำในห้องเรียน ซึ่งสุดท้ายเด็กไม่ได้นำประโยชน์จากการเรียนไปช่วยเหลือธรรมชาติได้ร้อยเปอร์เซ็นต์การสร้างกระบวนการเรียนรู้ใหม่จะช่วยให้เด็กได้สัมผัสและรับการปลูกฝังให้รักธรรมชาติไปพร้อมกัน

ผลลัพธ์จากกระบวนการนี้ทำให้เด็ก ๆ ที่มีส่วนร่วมได้แรงบันดาลใจไปต่อยอดในเส้นทางของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชนหรือโรงเรียน เป็นกระบอกเสียงว่าควรจะรักษาสิ่งแวดล้อม จะดูแลสัตว์ทะเลหรือสัตว์ป่าอย่างไร เด็กบางคนสร้างสรรค์โพรเจกต์อนุรักษ์ธรรมชาติ บางคนสมัครเป็นสัตวแพทย์

“ภายใน 1 ปี ถ้ามีอาสาสมัครเพิ่ม 1,000 คน 10 ปีจำนวนก็จะเพิ่มถึง 10,000 คน และในอีก 30 ปี เราอาจจะมีผู้นำประเทศ มีนักวางแผนและออกนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอีก 10,000 คน ซึ่งผมมองว่าเป็นการเติบโตอย่างยั่งยืน”

สำหรับผู้ที่ต้องการลุกขึ้นมาทำอะไรเพื่อสิ่งแวดล้อม นักสิ่งแวดล้อมหนุ่มก็ได้ฝากข้อคิดไว้ว่า “เราต้องพอใจกับสิ่งที่เรามีก่อน และต้องเชื่อว่าก่อนไปช่วยใคร เราต้องช่วยเหลือตัวเองให้ได้ก่อน เพราะการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมเป็นงานบริการที่ทำเพื่อคนอื่น ต้องถามตัวเองว่ามีใจที่จะทำเพื่อสิ่งนั้นหรือยัง ถ้ามีก็ทำเลย แต่สิ่งสำคัญคือต้องทำออกมาจากใจโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ต้องทำแล้วมีความสุข ทุกคนที่อยู่ในองค์กรและตัวเราเองทำสิ่งนี้ด้วยใจจริง ๆ จึงทำให้งานประสบความสำเร็จ ฉะนั้นใครอยากจะทำเรื่องนี้เริ่มเลย มีวิธีการตั้งหลายแบบ เพียงแต่ว่าคุณอยากจะก้าวเข้าไปทำหรือเปล่า”


 

The Environmental Classroom

Alexander Simon Rendell has absorbed the sense of protecting nature since he was 10. After getting into a college, he started doing a number of volunteer jobs. His volunteering at the Khao Yai Thai Elephant Conservation Center inspired his colleagues and him to establish the Environmental Education Center Thailand or EEC Thailand to help people better understand nature through a ‘process’ in an educational camp he set up. An educational camp was set up for environment-related activities. Alex believes that most of the time he does this with children and young people because they are fresh to learn new things. In fact, this organization is not only aimed at youths. ‘Hug the Forest, Hug the Sea’ is a project where EEC Thailand invites speakers to educate people on nature and marine conservation. “What I have done under EEC Thailand is to make a society aware of nature conservation. The results were unexpected, because at first we thought that it would take 5 or 10 years to make people in a society turn their attention to the environment, but in fact it could only be achieved within a few years with new upcoming projects.” For those who want to protect our nature, Alex indicated that “First, we should be proud of what we have. We should be able to help ourselves first before helping others. Working in the environment is a service work done for others; therefore, it is important to do it from your heart without expecting anything in return.”

105 views0 comments
bottom of page