นักออกแบบตัวอักษรผู้เชื่อว่าตัวอักษรจะมีพลังมากพอที่จะเปลี่ยนแปลงและสร้างสิ่งใหม่ให้กับโลก หากเราสร้างสรรค์มัน
ใครก็ตามที่อ่านภาษาไทยได้น่าจะเคยเห็นงานของอนุทิน วงศ์สรรคกร ซึ่งมีทั้งแบบที่เห็นเด่นชัดทั่วไปอย่างโลโก้และตัวหนังสือที่ใช้สำหรับองค์กรอย่าง เอไอเอส ดีแทค กูเกิ้ล แอปเปิล และ จีคิว ไปจนถึงระดับที่แฝงตัวอยู่ในชีวิตประจำวันของคุณมากมาย เช่น ฟอนต์ทั้งหลายบนโลกอินเทอร์เน็ต ในนามของผู้ก่อตั้งบริษัท คัดสรร ดีมาก ยักษ์ใหญ่แห่งวงการออกแบบอักษรที่คว้ารางวัลงานออกแบบมาแล้วนับไม่ถ้วน อาจพูดได้ว่า ผู้ชายคนนี้ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อตัวอักษรหลายล้านตัวที่เคยผ่านตาคุณ
โลกหลังตัวอักษร
“ทุกวันนี้คุณพิมพ์มากกว่าเขียนด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้น ‘ฟอนต์’ คือสิ่งที่คุณจะเลี่ยงไม่ได้เลย” อนุทินอธิบายถึงความหมาย และการมีอยู่ของ ‘แบบอักษร’ ฟอนต์เกิดขึ้นนานแล้ว หน้าที่หลักของมันคือการทำลายข้อจำกัดการคัดลอกตัวหนังสือจำนวนมากด้วยมือมนุษย์ ทันทีที่โลกมีเทคโนโลยีการพิมพ์ นักออกแบบตัวอักษรก็ถือกำเนิด อนุทินมองเห็นความท้าทายในงานออกแบบตัวอักษรเพราะเห็นว่า ‘การเขียน’ เปลี่ยนรูปแบบอย่างลื่นไหลไปตามเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นเรื่อย ๆ งานออกแบบอักษรจึงเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ เบื้องหลังวัฒนธรรมการสื่อสารอ่าน-เขียนทั้งในรูปสิ่งพิมพ์ดั้งเดิมและข้อมูลดิจิทัล เขาอธิบายว่างานของคนทำฟอนต์สำคัญกับชีวิตประจำวันในระดับที่คนทั่วไปอาจละเลยจนมองไม่เห็น เพราะเป็นของที่มีอยู่ทั่วไป แต่ก็สำคัญกับกระบวนการสื่อสารในระดับพื้นฐานที่สุด “ถ้าไม่มีคนทำตรงนี้ กระบวนการสื่อสารมันจะล่มทั้งหมดเลย”
“งานออกแบบคือการค้นหาวิธีแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์ที่สุด และต้องมาพร้อมสุนทรียภาพ” ชายหนุ่มอธิบายว่านี่คือความแตกต่างของงานออกแบบและงานศิลปะ งานออกแบบจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่มีปัญหาต้องแก้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาการใช้งานเชิงพาณิชย์ “ถ้าออกแบบงานฟอนต์สำหรับแบรนด์สินค้าหรือบริการแล้วของเขาขายได้ดีขึ้น มีการรับรู้ที่ชัดเจนมากขึ้น คนจำแบรนด์ จำลักษณะเฉพาะตัวของแบรนด์เขาได้ เราก็จะถือว่ามันเป็นงานที่ดี” หากแต่ว่ายังมีขอบเขตงานบางอย่างของนักออกแบบอักษรที่อยู่นอกเหนือไปจากการทำให้สวยและขายได้ นั่นคือการวางรูปแบบในการทำงานของตัวอักษรบนสื่อชนิดใหม่อย่างสื่อดิจิทัล “จริงๆงานนี้ไม่ใช่งานใหม่ งานที่ทำ 99 เปอร์เซนต์มีเทคโนโลยีเป็นที่ตั้ง” ตั้งแต่ยุคเขียนอักษรด้วยมือ ผ่านยุคแม่พิมพ์และโรงพิมพ์ ยุคคอมพิวเตอร์ มาจนถึงยุคสมาร์ทโฟน คนทำฟอนต์ต่างก็มีหน้าที่ในการเปลี่ยนผ่านรูปแบบการใช้ตัวอักษรให้เกิดขึ้นได้อย่างราบรื่นที่สุด หากสิ่งนี้หยุดลง มันมีความหมายถึงการสะดุดของการสื่อสารและนำมาซึ่งความเสียหาย “ตราบใดที่เราทำงานได้ดี มันจะไร้รอยต่อ คุณจะไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยนผ่านนี้”
ถ้าคุณเขียนภาษาไหนได้ คุณก็จะออกแบบตัวหนังสือภาษานั้นได้ เพราะคุณเข้าใจว่าจุดคงที่ของภาษานั้นคืออะไร คุณถึงรู้ว่ารูปทรงแบบไหนมันถูกต้องสำหรับคนใช้ภาษานั้น
ฟอนต์สร้างชาติ
“ถ้าคุณเขียนภาษาไหนได้ คุณก็จะออกแบบตัวหนังสือภาษานั้นได้ เพราะคุณเข้าใจว่าจุดคงที่ของภาษานั้นคืออะไร คุณถึงรู้ว่ารูปทรงแบบไหนถูกต้องสำหรับคนใช้ภาษานั้น” พี่ใหญ่แห่ง คัดสรร ดีมาก อธิบาย
“อักษรไทยมีข้อแม้ต่างจากภาษอังกฤษ คือมีการใช้พื้นที่ด้านบนกับด้านล่างเส้นบรรทัด ก็จะมีวิธีการจัดการที่เฉพาะตัวกว่า” อนุทินเห็นว่าข้อได้เปรียบประการใหญ่ของภาษาไทย “แต่ภาษาไทยเป็นภาษาที่ค่อนข้างง่ายต่อการจัดการ เราควรจะรับเอาข้อได้เปรียบตรงนี้ไว้ มันเป็นจุดเสริมแรงที่ดีในการพัฒนาประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในเชิงเศรษฐกิจ สังคม ความรู้ทุกอย่างเลย อะไรที่ใช้ง่ายมันจะไปได้เร็ว” เขายังยกตัวอย่างการสร้างภาษาจีนกลาง (Simplified Chinese) ที่เกิดขึ้นในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมจีน ชี้ว่าเมื่อการสื่อสารทุกทำให้ง่ายขึ้น การสื่อสารก็จะเกิดได้ไว และส่งผลให้การพัฒนาเกิดง่ายขึ้นตามไปด้วย
“ลองคิดดูว่าถ้าทุกคนพิมพ์ได้เร็วขึ้น 20 เปอร์เซนต์จะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง” อีกตัวอย่างที่อนุทินหยิบยกขึ้นมาพูดถึงคือระบบของแฟ้นพิมพ์เกษมณีและปัตตะโชติ ที่ระบบหลังได้รับการรับรองว่าพิมพ์ได้เร็วกว่าแบบแรกซึ่งเป็นแบบที่ถูกกำหนดโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถึงร้อยละ 25.8 (จากการวิจัยของสถาบันวิจัยแห่งชาติ) ชี้ให้เห็นว่าเรื่องเล็ก ๆ อย่างการออกแบบให้ใช้นิ้วไหนในการพิมพ์ตัวอักษรก็ถือเป็นจุดที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เมื่อมองจากมุมของนักออกแบบตัวอักษร โลกอาจเปลี่ยนไปในทางที่ดีกว่านี้ได้เพียงชั่วเวาลาที่เราพรมนิ้วลงบนแป้นพิมพ์
“ถ้าเราจะพัฒนาประเทศเราต้องมองตรงนี้กันในภาพกว้างมาก ๆ เลย”
The Force from the Font
Anyone who can read Thai may have seen Anuthin Wongsunkakon’s works on logos and billboards of many famous organizations such as AIS, Google, and Apple. Tons of fonts on the internet are also initiated by him as one of the founders of Cadson Demak, Thailand’s biggest award-winning font house. In the era of technology, people type rather than write. The emergence of font design and designers has since then played an impactful role behind Thailand’s literacy culture. Anuthin explained that “if no one did it, the communication process would fail. Fonts are everywhere in today’s society and font creativity can drive businesses to success. To ensure the brand recognition and uniqueness, fonts and logos are definitely the key. The designers’ duty is therefore to connect them through communication. Without the fonts, the communication would be damaged.” Different from English alphabets, Thai alphabets are easier to handle in terms of line spacing-a tiny strength he found as a proof that every detail matters. “Choosing the right keyboard for the right language will help people to type faster,” Anuthin commented. “If we could type faster, what would that do to the country’s economic and social development?
Comments