เมื่อการแก้ปัญหาสุขภาพชุมชนคือความท้าทาย การวิจัยเชิงคุณภาพโดยพยาบาลชุมชนและคนในพื้นที่จึงกลายเป็นทางออก
ตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปีที่ทำงานในฐานะพยาบาลชุมชนจนกระทั่งดำรงตำแหน่งประธานชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย จรรยาวัฒน์ ทับจันทร์ เล็งเห็นว่าเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ปัญหาสุขภาพของประชาชน ไม่ค่อยพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น เป็นเพราะพยาบาลในชุมชนทำงานตามคำสั่งจากกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งไม่สอดคล้องกับปัญหาจริงซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละชุมชน
“สุดท้าย ทำงานเหนื่อยแทบตายก็ไม่สามารถแก้ปัญหาสุขภาพในชุมชนได้ พยาบาลก็เป็นทุกข์เพราะรู้สึกว่าทำงานไม่สำเร็จ สภาพชุมชนก็ยิ่งแย่ พอทีมมาคุยกันก็พบว่าพยาบาลไม่เคยรู้ปัญหาที่แท้จริงของชาวบ้าน แต่คิดถึงปัญหานั้นในมุมของตัวเอง ส่วนชาวบ้านก็ไม่คิดว่านั่นคือปัญหาของตัวเอง แต่เป็นปัญหาของเจ้าหน้าที่ฝ่ายเดียว ปัญหาจึงยังคงอยู่เหมือนเดิม”
เพื่อให้การแก้ปัญหาสุขภาพในชุมชนเป็นไปอย่างถูกต้อง จรรยาวัฒน์จึงสร้างเครื่องมือชื่อว่า “การวิจัยเชิงคุณภาพ” ขึ้นมาเพื่อเป็น “กระบวนการ” ในการ “เปลี่ยนกรอบความคิด” ของเจ้าหน้าที่พยาบาลและภาคชุมชนให้มีส่วนร่วมกันอย่างแข็งขันในการแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ รุกสู้กับปัญหา ไม่ใช่รอรับคำสั่งจากส่วนกลางเพียงอย่างเดียว
“การวิจัยเชิงคุณภาพไม่ใช่การรวบรวมสถิติ แต่เป็นการพูดคุยกับชาวบ้านแล้วเก็บข้อมูลเพื่อให้รู้ต้นตอของปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ หลังจากนั้นก็จะเป็นขั้นตอนการคืนข้อมูลสู่ชุมชนเพื่อให้ชาวบ้านในพื้นที่รับทราบปัญหา เช่น ปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ปัญหาคือพ่อแม่เด็กไม่มีเวลาดูแลเพราะต้องไปทำงาน เราให้พวกเขาสะท้อนกลับมาว่าคิดกับประเด็นนี้อย่างไร ถ้ามองว่าเป็นปัญหา เรามาช่วยกันคิดและหาทางออกร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาได้ตรงจุด”
การวิจัยเชิงคุณภาพไม่ใช่การรวบรวมสถิติแต่เป็นการสัมภาษณ์ชาวบ้านแล้วเก็บข้อมูลเพื่อให้รู้ต้นตอของปัญหาที่เกิดขึ้นจริง จากนั้นก็จะเป็นขั้นตอนการคืนข้อมูลสู่ชุมชนเพื่อให้ชาวบ้านในพื้นที่รับทราบปัญหา
การส่งผ่านกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพที่จรรยาวัฒน์คิดค้นขึ้นมานั้นเริ่มจากการคัดเลือกตัวแทนพยาบาลจากทั้ง 77 จังหวัดที่มีใจอยากจะแก้ปัญหาอย่างจริงจัง จัดตั้งเป็น “กลุ่มแอ็กทิฟ” เพื่อเรียนรู้เครื่องมือการวิจัยนี้ ทั้งการตั้งโจทย์คำถาม เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล คืนข้อมูลสู่ชุมชน และหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน จนตัวแทนพยาบาลเหล่านั้นกลายเป็น “พยาบาลนักวิจัยชุมชน” เมื่อพวกเขากลับไปลงมือปฏิบัติจริงในพื้นที่ โดยรวมตัวกับพยาบาลในพื้นที่ใกล้เคียงกลายเป็นภาคีเครือข่าย ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ชาวบ้านในพื้นที่ เปลี่ยนชาวบ้านให้กลายเป็น ‘นักวิจัยชุมชน’ ที่มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชนด้วยตัวเอง
ในช่วง 3 ปีแรก ด้วยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จรรยาวัฒน์ได้สร้างพยาบาลนักวิจัยชุมชนรวม 165 คน จนเพิ่มจำนวนเป็น 752 คนในปีที่ 6 และเกิดเป็นเครือข่ายนักวิจัยชุมชนที่มีสมาชิกกว่า 3,000 คนในปีที่ 12
“มันเกิดกระบวนการสังเกต เรียนรู้ และทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้กันเองระหว่างชาวบ้าน และเกิดกระบวนการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาโดยชุมชนเองผ่านงบประมาณท้องถิ่นที่พวกเขาได้รับอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น ชุมชนในอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี พวกเขาเรียนรู้ร่วมกันจากขั้นตอนคืนข้อมูลสู่ชุมชนในกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพว่าอำเภอของพวกเขามีปัญหาอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลบ่อย จึงร่วมกันสร้างมาตรการชุมชนของตัวเองขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหานี้อย่างตรงจุด”
การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นจริงนี้ไม่ได้มีประโยชน์เฉพาะประเด็นสุขภาพเท่านั้น แต่ใช้ได้กับหลายๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน จรรยาวัฒน์ได้ให้ข้อคิดเอาไว้ว่า “เราเชื่อว่าทุกคนในชุมชนมีความหวังดีและอยากมีส่วนร่วมในการแก้ไขทุกปัญหา แต่เราเคยออกจากรั้วโรงพยาบาลหรือกรอบการทำงานของตัวเองเพื่อไปค้นหาคนเหล่านั้นหรือเปล่า เพราะฉะนั้นเราต้องเปลี่ยนวิธีคิด เราไม่จำเป็นต้องแบกปัญหานี้คนเดียว การให้โอกาสคนอื่นเป็นเรื่องสำคัญเพราะมันจะทำให้เกิดการร่วมมือกันและทำให้การทำงานสำเร็จลุล่วง อีกทั้งเกิดการเรียนรู้ให้เป็นคนที่เก่งขึ้นและรู้สึกภูมิใจในตัวเองตามมา”
Tackling the Challenge with Qualitative Research
For almost 20 years of working as a community nurse and the President of the Community Nurse Association of Thailand, Janyawat Thabjan, considered that one of the causes of public health problems is the Ministry of Public Health’s instructions given to nurses who do the community work. They cannot tackle actual problems that occur in each area. “In the end, working day and night could not solve the health problems in the community. Nurses suffered because they felt that their work was unsuccessful. The community environment was even worse. When we discussed the issues, we found that the nurses did not understand the real problem of the villagers. They thought on their own views and the villagers didn’t think that was their own problems. So, the problems remained the same.” To provide correct solutions for the health problems in the community, Janyawat proposed a tool called ‘qualitative research’. It is created as a ‘process’ to ‘change the mindset’ of nursing staff and the community sector to actively collaborate in addressing local health problems. Also, it aims to encounter the actual problems, not just waiting for the directions of the Ministry. This qualitative research can reflect the real problem. It is not merely useful for health issues, but also applicable to many problems in the community.
Comentarios