ความคิดสร้างสรรค์ กับการสร้างพื้นที่ให้ครูผู้สอนมาแลกเปลี่ยนกัน เพื่อสร้างบรรทัดฐานการเรียนรู้ใหม่อย่างมีความสุข
คนส่วนใหญ่อาจมองว่าอาชีพ “ครู” และ“นักออกแบบ” เป็นสายงานที่แตกต่างกัน แต่ไม่ใช่สำหรับ “นะโม - ชลิพา ดุลยากร” บัณฑิตสาวจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กล้าคิดนอกกรอบในการนำความรู้ด้านการออกแบบและดีไซน์ มาช่วยคุณครูทั่วประเทศไทยพัฒนาการสอนผ่านสตาร์ทอัพที่ชื่อว่า “InsKru”
ครอบครัวของชลิพาเปิดธุรกิจโรงเรียนประถมศึกษา ทำให้เธอซึมซับจิตวิญญาณของความเป็นครูมาตั้งแต่วัยเด็ก แต่ด้วยความที่เธอเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์ ทำให้ชลิพาเลือกเรียนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เธอเล่าว่า “ตอนเรียนได้ทำกิจกรรมเยอะค่ะ เคยเป็นครูอาสาด้วย มีความฝันว่าอยากจะออกแบบการศึกษาให้ดีขึ้น ลองคิดหาวิธีว่าจะมีทางไหนที่พอจะช่วยได้บ้าง ประกอบกับการเรียนสถาปัตย์ทำให้เราเป็นคนกล้าคิดกล้าทำอะไรบ้า ๆ ออกมาจึงคิดว่าจะใช้ความรู้ด้านดีไซน์เข้าไปช่วยต่อยอดให้วงการศึกษาค่ะ ก็เลยทำธีสิสเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยค่ะ”
ก่อนหน้านี้ชลิพาเคยทำงานเป็นครูอาสาสมัครให้โครงการ Teach for Thailand เธอมีโอกาสได้ลงพื้นที่เพื่อทำความรู้จักและพูดคุยกับครูอีกหลายคน ทำให้รู้ว่าครูอยากสอนเชิงสร้างสรรค์ เพื่อสอนให้เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุข แต่ครูเองก็ยังไม่มีไอเดียใหม่ ๆ “เราอาจไม่มีพื้นที่ส่วนกลางที่จะชวนครูมาร่วมแบ่งปันไอเดียการสอนกัน ซึ่งเว็บไซต์ครูส่วนใหญ่มีไว้สำหรับแชร์ข่าวสาร เราเลยคิดว่าน่าจะสร้างพื้นที่ตรงนี้ขึ้นมาดีกว่า ให้ ‘ครูมีของ’ ได้มาเจอคนทำงานแบบเดียวกันและช่วยกันตามหาไอเดียการสอนใหม่ ๆ นำไปต่อยอดให้ไกลกว่าเดิมได้ค่ะ”
เราคิดว่าน่าจะสร้างพื้นที่ตรงนี้ให้ ‘ครูมีของ’ ได้มาเจอคนทำงานแบบเดียวกัน และช่วยกันตามหาไอเดียการสอนใหม่ ๆ นำไปต่อยอดให้ไกลกว่าเดิมได้ค่ะ
หลังจากนั้นชลิพาจึงก่อตั้งแพลตฟอร์มเว็บไซต์ InsKru ขึ้นมา โดยเป็นศูนย์กลางในการให้ครูมาร่วมแบ่งปันเทคนิคการสอนผ่าน www.inskru.com รวมถึงเพจ “Inskru – พื้นที่แบ่งปันไอเดียการสอน” ซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 100,000 คน รวมถึงกลุ่มเฟซบุ๊ก “ครูปล่อยของ (เพื่อนพลเรียน)” ที่มีสมาชิกกว่า 20,000 คน
“แพลตฟอร์มเหล่านั้นเป็นเหมือนกับคอมมูนิตี้ของครูที่มีการแบ่งแยกหัวข้อต่าง ๆ ชัดเจนมีทีมงานที่ช่วยดูแล ราว ๆ 25 คน ทั้งทีมคอนเทนต์ ทีมโพรเจกต์ ทีมคอมมูนิตี้ และทีมเว็บไซต์ โดยส่วนตัวคิดว่าการที่คนคนหนึ่งจะกล้ามาแชร์เรื่องราวหรือไอเดียของตัวเองให้คนอื่นผ่านออนไลน์ได้นั้น เขาจะต้อง รู้จักและคุ้นเคยกับคอมมูนิตี้ในระดับหนึ่งก่อน ก็เลยจัด “ออฟไลน์เวิร์กชอป” ขึ้นมาค่ะ”
การเวิร์กชอปนั้นแบ่งออกเป็น “ครูเอทีฟ” สอนเรื่อง Creative Thinking เพื่อให้ครูกล้าคิดกล้าทำไอเดียใหม่ ๆ มากขึ้น และ “ครูปล่อยของ” โดยมีพื้นที่ตรงกลางให้ครูนำประสบการณ์การสอนมาแบ่งปันกัน แบ่งเป็นห้อง ต่าง ๆ ให้ครูเลือกเข้าไปร่วมกิจกรรมตามความสนใจ มีการเชิญวิทยากรที่น่าสนใจจากหลายพื้นที่มาพูดคุยประเด็นที่ครูต้องรับมือ เช่น เด็กนักเรียนเป็นโรคซึมเศร้า หรือปัญหาการกลั่นแกล้งกัน
ปัจจุบัน InsKru ดำเนินการมา 2 ปีแล้ว มีการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ๆ ในเว็บไซต์เพื่อให้ครูได้พัฒนาตัวเองมากขึ้น เช่น การรับฟังเสียงฟีดแบ็กจากนักเรียน เพราะชลิพาต้องการสร้างเทรนด์ให้ครูฟังเสียงเด็กมากขึ้น หลังจบคาบหรือเทอมการศึกษาฟีดแบ็กเหล่านี้สามารถใช้เป็นหลักฐานในการประเมินการสอนของครูได้ มีการใช้เทคโนโลยีเสริมเข้ามา เช่น ครูจะมี QR Code ให้นักเรียนสแกนเพื่อแสดงความคิดเห็นต่อการสอนได้
เมื่อนักออกแบบมาช่วยพัฒนาวงการศึกษาก็ก่อเกิดนวัตกรรมสร้างสรรค์สังคมที่ช่วยให้ครูสามารถพัฒนาห้องเรียน เพื่อสร้างบรรทัดฐานการเรียนรู้อย่างมีความสุข และไม่เพียงแค่โรงเรียนเท่านั้นที่ให้ความสนใจ แต่องค์กรหรือบริษัทต่าง ๆ ก็ยังหันมาสนใจให้ InsKru เป็นสื่อกลางในการผลิตคอนเทนต์และประชาสัมพันธ์โครงการต่าง ๆ
“บางทีสิ่งที่เราอยากเห็นในวงการศึกษาไทยอาจเป็นเรื่องยากหรือไกลเกินฝัน เพราะเราอาจต้องเปลี่ยนที่ระบบเพื่อช่วยครู แต่หากไม่เริ่มทำอะไรเลย ผลลัพธ์ก็อาจติดลบอยู่อย่างนั้น มีคนเก่งอีกมากมายที่เขาไม่เลือกมาเป็นครู เนื่องจากต้องเจอกับระบบแบบนี้ ทำให้ประเทศต้องเสียครูดี ๆ ไปเท่าไร”
“เชื่อว่าสิ่งที่เราทำนั้น แม้ในวันนี้ผลลัพธ์อาจยังไม่เดินทางไปไกลมาก แต่อย่างน้อยก็ไม่ติดลบอยู่กับที่ ซึ่งนั่นดีกว่าการที่เราไม่ทำอะไรเลย”
InsKru, an Innovative Platform for Educators
Many people may think ‘teachers’ and ‘designers’ are different, but Chalipa (Namo) Dulyakorn has a different view. Chalipa “Namo” Dulyakorn, an architect graduated from Chalalongkorn University, dares to think outside the box to integrate ‘designing’ into ‘teaching’, leading to new start up called ‘InsKru’. Chalipa has absorbed teaching spirits since she was young, as her family has run a primary school. Because of her creativity, she decided to further her undergraduate study in architecture. “I did a lot of activities during school years, including being a volunteer teacher. Then I dreamed to re-design a better education for all, finding possible ways to enhance it by integrating designing knowledge into it, so I decided to work my thesis on it.” “Those platforms are like a teaching community consisting of various topics related to teaching. There are 25 staff members, including content, project, community, and website teams. To dare sharing a story or idea online, one should get used to the community to some extent. Thus, we organized an ‘offline workshop’ to help them. The workshop is divided into 2 parts: Teacher-ative, and Supplier-Teacher. The former focuses on developing creative thinking to encourage teachers with creativity, and the latter focuses on sharing teaching experiences based on their interests.” Now, it’s been two years since the establishment of Inskru. More features have been added to help teachers improve themselves. For example, the ‘Listening to Students’ Feedback’ feature allows teachers to be more open-minded and listen to students’ voices more; thus, they can use students’ voices for their teaching evaluation. When a designer helps develop education, this leads to innovations that help teachers develop their teaching and provide a positive learning environment.
Comments