top of page
  • Writer's pictureNIA 100 FACES

พระปัญญานันทมุนี | เมื่อชีวิตใกล้ชิดธรรม (ชาติ)

Updated: Aug 22, 2021



เมื่อวัดเป็นพื้นที่ดูแลจิตใจและสิ่งแวดล้อม จึงเกิดการปรับตัวที่คงไว้เพียงแก่นของทั้งหมด


ในช่วงเวลาที่ทั่วโลกต่างเริ่มให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม วัดชลประทานรังสฤษดิ์ พระอารามหลวง จังหวัดนนทบุรีเองก็ปรับตัวเช่นกัน ศาสนสถานที่พึ่งทางจิตใจของชาวพุทธแห่งนี้ บริหารจัดการด้วยวิสัยทัศน์จากพระนักพัฒนา พระปัญญานันทมุนี เจ้าอาวาสวัด ผู้ถอดรูปหลักธรรมให้เป็นแนวทางปฏิบัติจริง ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างธรรมะและธรรมชาติตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “ทุกตารางนิ้วของแผ่นดินต้องกลับคืนชีวิตไปแบบพระพุทธเจ้า”


“มันเป็นวิถีของพระพุทธเจ้า พระองค์คือผู้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เราเพียงเป็นคนหนึ่งที่พบและรับเอามาใช้ในวิถี” หลวงพ่อกล่าวเสริมให้เห็นถึงตัวอย่างในสมัยพุทธกาล ปราสาททั้ง 3 ฤดูของเจ้าชายสิทธัตถะที่ออกแบบให้เข้ากับสภาพอากาศ ใช้ประโยชน์เกื้อหนุนจากธรรมชาติ เหมือนลานจอดรถของวัดที่มีต้นไม้ให้ร่มเงาและความสวยงาม “นี่คือประโยชน์ร่วมกัน ตัวอาคารจะใส่ของที่จำเป็นต้องใส่ ทุกอย่างก็ลงตัวของมัน”


จากหลักการข้างต้น จึงมีการปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการวัดโดยใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นำมาสู่แนวทางปฏิบัติใหม่ ด้วยแนวคิดว่า เปลี่ยนไสยศาสตร์สู่พุทธศาสตร์ เปลี่ยนพิธีกรรมเป็นพิธีธรรม เปลี่ยนธุรกิจเป็นบุญญกิจ และเปลี่ยนพุทธพาณิชย์สู่วิถีชีวิตชาวพุทธ


การเปลี่ยนแปลงในประการแรก วัดชลประทานรังสฤษดิ์ฯ มีนโยบายลดขยะและมลพิษ ไม่ว่าจะเป็น การงดวางพวงหรีด การใช้ดอกไม้ประดิษฐ์แทนดอกไม้สด การงดวางข้าวหน้าศพ เพราะสิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นขยะที่ไม่มีคนกำจัด อีกทั้งงดใช้ดอกไม้จันทน์ และธูปเทียนที่ล้วนเป็นการสร้างมลพิษ รวมถึงการกำหนดเพดานราคาการใช้ดอกไม้ประดิษฐ์ไม่ให้เกิน 5,000 บาทเพื่อไม่ให้เสียเงินกับสิ่งประดับที่ไม่ใช่หัวใจสำคัญในพิธี นอกจากนี้ทางวัดยังมีการทำอัฐิดิจิตอล ในการบริหารจัดการพื้นที่สำหรับญาติที่ต้องการนำอัฐิมาไว้ที่วัด จะมีเก็บรวบรวมข้อมูลผู้เสียชีวิตไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ และจะนำอัฐิผู้เสียชีวิตฝั่งกลบบริเวณโคนต้นไม้ ตอกย้ำถึงแนวคิดที่ว่า เราต้องกลับคืนสู่ธรรมชาติ


เราคือธรรมชาติ ธรรมชาติคือเรา เรากับธรรมชาติต้องอยู่ร่วมกัน ไปด้วยกันแล้วจะดี

เมื่อวัดไม่ได้อยู่กลางป่าเขาอย่างในอดีต แต่ห้อมล้อมไปด้วยบ้านเรือนและประชาชน การจัดการที่ดีจึงรวมไปถึง สิ่งแวดล้อม อันหมายถึงผู้คนในสังคมด้วย “ ทุกเรื่องในวัดนี้ถ้ามีพิธีกรรมต้องมีพิธีธรรม ต้องได้ประโยชน์จากธรรมมะ” หลวงพ่อเล่าว่าเวลา 18.30 น. ของทุกวันจะมีการสวดอภิธรรมและเทศนาพร้อมกันผ่านเสียงตามสาย เพื่อให้ทุกคนได้เข้าใกล้พระธรรมพร้อมลดการใช้ทรัพยากรด้วยการใช้เทคโนโลยี และการดูแลพุทธบริษัทด้วยการไม่ทำวัดให้เป็นพุทธพาณิชย์ ในการบริจาค จะมีการลงชื่อยืนยันว่าเงินของผู้ใจบุญทุกคนอยู่ที่วัดและตรวจสอบได้ “ไปสร้างความมั่นคงกับเงินทำไม ยิ่งสร้างวัดก็ยิ่งอ่อนแอเท่านั้น”


ประการสุดท้าย “ในวัดไม่ให้มีการค้าขาย วัตถุประสงค์ของวัดไม่ใช่การแสวงหารายได้” เพื่อกลับสู่วิถีพุทธที่แท้จริงด้วยการแบ่งปัน มีโรงน้ำที่ใครก็สามารถกรอกน้ำกลับได้ โรงทานที่เลี้ยงอาหารคนกว่าพันชีวิตในแต่ละวัน ปลูกสวนน่ารักผักกินได้ “ให้รู้ว่าเราอยู่ใกล้ธรรมชาติที่สามารถหยิบจิ้มน้ำพริก” เป็นอีกความตั้งใจให้ทุกคนสัมผัสธรรมชาติ และให้วัดอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างแท้จริง “การเปลี่ยนแปลงวัตถุหรือจิตใจคน ต้องทำวัดเพื่อให้รับใช้พุทธบริษัท ตามแนวทางพระพุทธศาสนา”


พระปัญญานันทมุนีได้รับรางวัลในฐานะพระนักพัฒนา ที่ไม่ใช่เพียงสร้างศาลา สร้างโบสถ์ แต่สร้างพื้นที่ให้มนุษย์ได้อยู่ร่วมกับธรรมชาติ และเผยแพร่แนวคิดนี้ส่งต่อไปยังวัดเครือข่าย สิ่งเหล่านี้เปรียบเหมือนเมล็ดพันธุ์ที่ท่านเพียรดูแล รอไว้เติบโตแผ่ขยายไกลกว่าเขตใบเสมา


“ถ้ารู้ว่าตัวเองคือสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมคือตัวเอง เราจะได้อากาศหายใจบริสุทธิ์ ได้ออกซิเจนจากธรรมชาติ แล้วทำไมเรากลายเป็นคนที่โหดร้าย ไปทำลาย ไปรังแกเขา เราจงเป็นผู้ที่เห็นเขาให้ชีวิต จงรักษาธรรมชาติให้สมกับที่ธรรมชาติให้ชีวิต”


 

Living a Life with Dharma: A Temple for Spiritual and Environmental Well-being

Adhering to the practical approach of the Buddhist doctrines, the dean of the temple, Phra Panyanandamuni, proposes that, in addition to being a place of worship, the temple has an opportunity to be a role model of environmental preservation, demonstrating that it has a lot in common with Dharma and one does not have to be exchanged for the other. Overseen by Phra Panyanandamuni, the temple takes several measures to reduce the generation of waste and pollutants from the religious practices. Funeral wreathes are forbidden. Artificial flowers are used instead of real flowers. Dok Mai Chant, a kind of wooden flower to be placed on the site of cremation, as well as candles and joss sticks, are prohibited because of their contribution to air pollution. Expenditures on ceremonial decoration must not exceed 5,000 baht because they tend to be more excessive than necessary and keep people away from focusing on the core of the doctrines. Cremains are kept for their digital records and then buried to symbolise the fact that one’s physical body eventually returns to the nature. Emphasising that giving and sharing should be pure and sacred, Phra Panyanandamuni is also strict about forbidding profit-making of any kinds within the temple. Instead, the temple serves as an alms-house, kitchen garden and recreational area for the surrounding communities.

217 views0 comments
bottom of page