top of page
  • Writer's pictureNIA 100 FACES

ชัยวัฒน์ เสริมสุธีอนุวัฒน์ | มูลค่าของงานออกแบบ ที่แอบบอกผ่านของเล่น

Updated: Jun 19, 2021



ด้วยความหลงใหลในของเล่น สู่การเป็นศิลปิน เพื่อสื่อสารเรื่องราวเเละคุณค่าให้ของเล่นไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ อีกต่อไป


หากย้อนกลับไป 20-30 ปีก่อน ของเล่นในวันนั้นเป็นเพียงของเล่นสำหรับเด็ก ต่างจากตอนนี้ที่ของเล่นกลายเป็นอุตสาหกรรมใหญ่โตและไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ อีกต่อไป ด้วยอาชีพ Toy Designer ผู้ออกเเบบของเล่นให้กลายเป็นงานศิลปะ “ชัยวัฒน์เสริมสุธีอนุวัฒน์” หรือที่รู้จักกันในนาม “ต้น ตะบัน” แห่ง Tabun Studio นักออกเเบบของเล่นผู้อยู่เบื้องหลังผลงานอย่าง ปตท. ก๊อตจิแฟมิลี และของที่ระลึกโครงการ “ก้าวคนละก้าว” โดยชัยวัฒน์ เป็นผู้หลงใหลเเละสะสมของเล่นมาตั้งเเต่วัยประถม

“ผมเริ่มจากการชอบเรียนศิลปะ ชอบสะสมของเล่นมาตลอด จนเมื่อเรียนจบก็อยากจะทำงานออกเเบบของเล่นหรือเกมซึ่งสมัยนั้นไม่มีตำแหน่งงานเเบบนี้เลย เเต่ด้วยความอยากนำความรู้ด้านศิลปะมาใช้ในการทำงานจึงเริ่มจากการทำ Platform Toy หรือของเล่นเปล่าที่ยังไม่มีการตกแต่งใด ๆ ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับการทำสี ออกแบบ หรือดัดแปลงเพื่อให้เกิดความสวยงามที่หลากหลาย”

ซึ่งต่อมานอกจากของเล่นเเล้ว ชัยวัฒน์ยังได้ออกเเบบของที่ระลึกหรือของสะสม ผ่านการไปเสนอผลงานตามที่ต่าง ๆ เพื่อสร้างโอกาสให้กับงานที่ตนชอบ ด้วยเเนวคิดที่ว่า “เราต้องจับคอนเทนต์ดี ๆ ดูสิ่งที่ลูกค้าต้องการ เพื่อเพิ่มคุณค่าของชิ้นงาน เช่น การทำกล่องขนมสมัยก่อนขึ้นมาใหม่ เป็นการให้คุณค่ากับความทรงจำวัยเด็กของผู้ใหญ่ในปัจจุบัน ของชิ้นนั้นจะเป็นตัวเเทนในวัยเด็กที่เขาโหยหาเเละพร้อมจะซื้อมันเก็บไว้”


ผมมองทุกอย่างเป็นของเล่นหมด ทุกเรื่องมันประยุกต์กับสิ่งที่คุณทำได้เสมอ ถ้าคุณคิดถึงมัน

ชัยวัฒน์เเบ่งชีวิตของตนออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนของการเป็นศิลปินที่ใช้ของเล่นในการสื่อสาร เป็นกิจกรรมยามว่างที่ช่วยให้ผ่อนคลายแทรกลูกเล่นและความสนุก โดยจับไอเดียจากกระเเสสังคมต่าง ๆมาสร้างขึ้นเป็นของเล่น ทำออกมาให้เป็นรูปร่าง ให้เห็นเเล้วตัวเขายิ้มออก คนอื่นยิ้มได้ ด้วยฐานะ Toy Designer ที่ใช้ของเล่นเป็นเครื่องบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ที่ได้เปลี่ยนมุมมองของเล่นให้ไม่ใช่เเค่เป็นของเล่นเด็กอีกต่อไป

อีกส่วนหนึ่งคือการออกของเล่นในตลาดทั่วไป ซึ่งสวนทางกับตลาดของของเล่นประเภท Designer Toy ที่เน้นความหายาก ความลิมิเต็ดเพื่อสร้างคุณค่า การออกของเล่นเพื่อตลาดในปัจจุบันที่มีข้อมูลมากมายคอยดึงดูดผู้คนอยู่ตลอดเวลาในขณะที่ของเล่นไทยเองก็กำลังถูกตีตลาดโดยต่างชาติที่ขายในราคาถูก ชัยวัฒน์เล่าเสริมว่าในปัจจุบันการออกเเบบของเล่น 1 ชิ้น มักเน้นให้เกิดกระเเสมากกว่ากำไร

“มันเริ่มจากคอนเทนต์ที่ทำยังไงให้คนมาสนใจของเล่นชิ้นนั้น เพราะของในตลาดมีเยอะ มันต้องมีความเจ๋งแต่เเรก อย่างตอนนั้นมีแคมเปญฉลอง 100 ปี ก่อนโดราเอม่อนเกิด ก็ส่งอิทธิพลเยอะมาก จากการจัดงานนิทรรศการไปสู่ร้านค้า การออกเเบบ Platform Toy ขายในเเง่ของศิลปะเพื่อเพิ่มคุณค่าหรือเพื่อให้เกิดวัฒนธรรมเเคมป์คือการที่คนมาต่อเเถวรอคิวซื้อกันเยอะ ๆ เพื่อให้ซื้อได้ก่อนของหมด จนของชิ้นนั้นเพิ่มมูลค่า เพิ่มราคาจากความต้องการอันล้นหลามของคน ซึ่งคอนเทนต์ที่ได้รับความสนใจจากต่างชาติมากก็คือความเป็นไทย รถตุ๊ก ๆ มวยไทย”

นอกจากนั้นยังมีอุปสรรคอื่น ๆ สำหรับการสร้างของเล่น คือโรงงานพลาสติกในไทยค่อย ๆ ปิดตัวลงด้วยสถานการณ์ปัจจุบันและเหตุผลต่าง ๆ การเป็นนักออกเเบบของเล่นจึงมีความท้าทายและต้องปรับตัวตามสถานการณ์ต่าง ๆ ให้ทันท่วงที “ชีวิตผมอยู่ด้วยการแก้ไขเเละจัดการกับปัญหา ถ้าทุกอย่างไม่มีปัญหา เรียบง่ายไปหมด แสดงว่าคุณกำลังเดินตามรอยเดิม”

การเริ่มต้นทำในสิ่งที่ชอบตั้งเเต่วันที่ยังไม่ได้รับความนิยมมาเรื่อย ๆ จนถึงวันที่ Toy Designer เกิดขึ้นมากมาย ชัยวัฒน์ได้เดินในเส้นทางที่สวนกระเเสจนปัจจุบันกลายเป็นกระแสหลัก ด้วยพลังจากความสงสัยสู่การทดลองทำของเล่นหลากหลายรูปแบบ ของเล่นของชัยวัฒน์จึงกลายเป็นแหล่งข้อมูลชั้นดีที่พร้อมจะบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ สู่ผู้ที่สนใจ

“ผมมองทุกอย่างเป็นของเล่นหมด เห็นอะไรผมก็อยากจะให้เป็นของเล่น ไม่ว่าจะวัด ยักษ์ จ่าเฉยหรือแม้แต่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ทุกเรื่องมันประยุกต์กับสิ่งที่คุณทำได้เสมอ ถ้าคุณคิดถึงมันมากพอ มองทุกอย่างเป็นปัญหาที่เราต้องแก้ ต้องตั้งคำถามเเละหาคำตอบ แล้วคุณจะไม่เคยว่างงานเพราะมันจะมีไอเดียใหม่ ๆ ให้คุณสร้างผลงานออกมาเสมอ”

 

Toys Will Tell

A couple of decades ago, toys were seen as just a child-play, but now they have become another huge industry. Chaiwat is a toy designer, who has strong passion to design toys and turn them into pieces of art. He started his journey from learning arts and collecting toys as his hobby. He wanted to work as a toy designer when he graduated, unfortunately, this option was not available back then. However, with his intention to put his art knowledge into use, he started making Platform Toy, a toy that has not been decorated, and later designing souvenirs and collectibles. Chaiwat has divided his life into 2 parts. The first half is to be an artist who communicates through toys as his hobby. He follows social trends and turns them into toys. The other half is to be an ordinary toy designer who designs simple toys, which contradict the market of Designer Toy, toys that emphasize their rarity to create value. Chaiwat has been working on designing toys since the old days when this industry was not popular until it becomes trendy nowadays. He concludes that no matter what kind of passion we have, there is always a way for us to go.

106 views0 comments

Comments


bottom of page