top of page
  • Writer's pictureNIA 100 FACES

ตุ๊หล่าง-แก่นคําหล้า พิลาน้อย เกษตรกร | ปรุงอนาคตด้วยเมล็ดพันธุ์จากบรรพบุรุษ

Updated: Jun 19, 2021



ชาวนาผู้พลิกฟื้นเกษตรกรรมให้กับชาวอีสาน นักอนุรักษ์และปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองเพื่อความเป็นเลิศของข้าวไทย


“ตุ๊หล่าง - แก่นคํากล้า พิลาน้อย” เกษตรกรรุ่นใหม่วัย 30 กว่าปี เป็นมากกว่าแค่คนทำนา เพราะเขาคือนักอนุรักษ์และนักปรับปรุงสายพันธุ์แห่งอีสานที่กล้าลุกขึ้นมาพลิกฟื้นศาสตร์ของบรรพบุรุษให้กลับมามีชีวิต

เส้นทางการเกษตรของตุ๊หล่าง เริ่มต้นในวัย 19 ปี ด้วยพื้นเพเป็นลูกชาวนา จึงมองเห็นปัญหาราคาผลผลิตและสารเคมีที่ส่งผลต่อสุขภาพของเกษตรกรในวัยที่กำลังตั้งคำถามถึงอนาคตว่าจะเลือกไปทางไหนต่อ เขาจึงตัดสินใจแน่วแน่ว่าจะสานต่องานที่บรรพบุรุษทำมา และยืนยันที่จะกลับมาเป็นเกษตรกรเต็มตัว ทันทีที่เรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลาย ตุ๊หล่างเริ่มออกเดินทางศึกษาเพื่อพัฒนาการเกษตรในวิถีที่สนใจ และได้เจอกับ “อาจารย์สุขสรรค์ กันตรี” แห่งมูลนิธิขวัญข้าว นี่คือการจุดประกายครั้งสำคัญที่ทำให้เขาตระหนักถึงรากเหง้าของปัญหาที่ทำให้ชาวนามิอาจลืมตาอ้าปากได้สักที นั่นเพราะชาวนาจำต้องปลูกข้าวเฉพาะสายพันธุ์ที่ตลาดบอกให้ปลูก “จริง ๆ ก่อนหน้าเราพยายามหาข้าวพื้นเมืองมาปลูก แต่ไม่ตอบโจทย์ด้านผลผลิต มันช่วยให้มีกิน แต่ไม่มีขาย ไม่ว่าจะข้าวของกรมการข้าว หรือข้าวพื้นเมืองเดิม” จากข้อค้นพบดังกล่าว เขาจึงมุ่งหน้ากลับสู่ที่นาบ้านเกิด ณ อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร และงานแรกในฐานะชาวนาคือการทำนาดั้งเดิมที่พิถีพิถันทุกขั้นตอน ตั้งแต่เลือกสายพันธ์ุไปจนถึงดูแลข้าวในแต่ละช่วงอายุ


การเป็นชาวนาที่แท้จริงสำหรับผมคือ การที่เขาคนนั้นต้องสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ คัดเลือกสายพันธุ์ และสามารถพัฒนาพันธุ์ข้าวให้เหมาะกับพื้นที่ได้ด้วยตัวเอง

เส้นทางการเป็นนักปรับปรุงพันธุ์ของเขาอาศัยองค์ประกอบไม่กี่อย่าง ภูมิปัญญาจากผู้เฒ่าความรู้จากมูลนิธิข้าวขวัญ ศูนย์วิจัยข้าวอุบลฯ-ปทุมธานี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วัสดุอุปกรณ์ง่าย ๆ ที่พอหาได้ในชุมชน กอปรกับความมานะอดทนและไม่ย่อท้อ เขาเล่าว่า “การเป็นชาวนาที่แท้จริงสำหรับผมคือ การที่เขาคนนั้นต้องสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ คัดเลือกสายพันธุ์ และสามารถพัฒนาพันธุ์ข้าวให้เหมาะกับพื้นที่ได้ด้วยตัวเอง” เขาค่อย ๆ สะสมยีนเด่นของพันธุ์ข้าวแต่ละพันธุ์ ลองผิดลองถูกผสมเกสรในห้องทดลองท้องทุ่ง ก่อนจะนำพันธุ์ข้าวที่คัดแล้วเข้าแล็บอีกรอบ เมื่อมั่นใจว่าได้พันธุ์ที่ตอบโจทย์ทั้งการตลาดและความยั่งยืนแล้ว เขาจึงเริ่มแจกจ่ายให้ชาวบ้าน ลองปลูก และอุปสรรคแรกเริ่มคือค่านิยมท้องถิ่น

“สิ่งที่โน้มน้าวให้ชาวบ้านหันมาปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองได้ก็คือ ทำอย่างไรให้ข้าวขายได้และมีเงินเหลือเก็บ ทำ 2 ข้อนี้ได้ คนจะหันมาสนใจเอง” ความมุ่งมั่นในการยกระดับเกษตรกรรมทำให้ตุ๊หล่างแตกต่างนอกจากนี้ เขายังยินดีถ่ายทอดความรู้อย่างไม่หวงวิชา จนเป็นที่มาของกลุ่ม “ชาวนาไทอีสาน” ชาวนาเลือดใหม่ที่มาช่วยกันขยายแนวคิดเรื่องนาอินทรีย์ และการอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์เพื่อความมั่นคงทางอาหารและความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอด 20 ปี นับตั้งแต่ที่เขาตัดสินใจเดินบนเส้นทางนี้ วันนี้ตุ๊หล่างได้ผสมสายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองไปแล้วกว่า 150 สายพันธุ์และพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ข้าวใหม่มากกว่า 30 ชนิด ล่าสุดเมื่อเดือนมกราคม 2561 ตุ๊หล่างและสมาชิกชาวนาไทอีสานได้เปิดตัว 7 พันธุ์ข้าวใหม่ที่ใช้เวลาพัฒนากันมาไม่ต่ำกว่า 16 ปี ขณะที่เป้าหมายใหญ่ต่อไปคือการนำเอาพันธุ์พื้นเมืองเหล่านี้ไปจดทะเบียนและสร้างอิทธิพลในตลาดระดับสูงเพื่อเพิ่มช่องทางการบริโภคที่หลากหลายขึ้น

คุณูปการที่ตุ๊หล่างสร้างขึ้นจากหนึ่งเมล็ดพันธุ์ สู่การออกดอกผลตามมาอีกมากมาย ไม่เพียงแค่สายพันธุ์ข้าวเท่านั้น ทว่าคือการบ่มเพาะแนวคิดให้กับคนรุ่นต่อ ๆ ไปได้กลับไปดูแลความมั่นคงทางอาหารในภูมิลำเนาต่าง ๆ ทั่วประเทศ ตุ๊หล่างเชื่อว่าเกษตรกรที่ดีเป็นได้ไม่ยาก ขอเพียงให้มีใจที่ตั้งมั่นถ้าอยากทำเป็นอาชีพต้องไม่ใช่แค่ทำเป็น แต่ต้องมีความสามารถในการขายด้วย รู้จักการแปรรูปวัตถุดิบ และสิ่งเหล่านั้นเขาได้พิสูจน์ให้เห็น และเชื่อว่าเมล็ดพันธุ์ที่หว่านไปจะเติบโตงดงาม


 

Rice for the Future

Tulang or Kaenkhamkla Philanoi, a young-blooded farmer aged 30, is more than an agriculturist. He is a preserver and plant breeder of the Northeastern region who dares to revive the ancestor wisdom. His farming life started when he was 19 years old. Due to his farming lineage, he could detect some agricultural problems arisen, he decided to carry on what forebears had done and turned himself as a farmer. Right after finishing high school, Tulang began his journey to learn about agriculture and finally met ‘Ajarn Sukhan Kanpri’ of the KhaoKwan Foundation. And that’s what ignited a spark of his hope that all farmers will get better in financial status. “Actually, we tried to grow our native rice but it didn’t meet the customer needs. We could live with it, but we couldn’t sell it.” Returning to his hometown, Kut Chum, Yasothon province, he worked in a primitive rice farming. “Being a real farmer, for me, is when someone can conserve, select, and develop rice that suits their contexts.” He gradually collected dominant native rice genomes in different types of rice. He grew them with trial and error until he was certain that such native rice sustainably met the market needs. Then he distributed perfect native rice to villagers. His first obstacle was ‘local value’. “What could convince those villagers to plant and grow this native rice was to assure them of being sellable and saving.” Tulang firmly believes that being a good farmer is not difficult if you are resolutely determined to be engaged in farming. Over 20 years he has followed this path, introduced more than 150 native rice breeds, and is currently breading more than 30 species.


326 views0 comments
bottom of page