100 Faces of Thailand's innovation inspirers
หน้าแรก
คำนิยม
หนังสือ (E-book)
การใช้งาน AR
นิทรรศการ (Online)
ร้อยคนไทยหัวใจนวัตกรรม 2
More
รักกี้ สุขประเสริฐ
“ความยั่งยืนของชุมชนมาจากความเข้มแข็งของประชาชน”
บุญล้อม เต้าแก้ว
“เราต้องทำให้คนเรียนรู้การพึ่งพาตนเองตั้งแต่เด็ก เมื่อเกิดวิกฤตก็จะรอด อยู่ได้อย่างยั่งยืน”
เล็ก กุดวงศ์แก้ว
“เราต้องพึ่งพาตนเองและธรรมชาติด้วยความเคารพและสานต่อมิตรให้เป็นพลังขับเคลื่อนวิถีชีวิตอย่างไทย”
วัลลภ ปัสนานนท์
“ทำอย่างไรจะพัฒนารสชาติให้ดีที่สุดแล้วต้องปกป้องสิ่งแวดล้อมให้อุดมสมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่จะดูแลได้”
สุธาทิพย์ ทรัพย์เรือนชัย
“คนดอยเก่ง... มีองค์ความรู้มากมาย แต่ขาดหลักการ พอเราเอาสองอย่างนี้มารวมกัน คนดอยก็เข้าใจมากขึ้นจนเกิดการพัฒนาที่ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นได้”
เอนก สีเขียวสด
“ผมอยากให้เกษตรกรเป็นนักธุรกิจเกษตร อยากให้อาชีพเกษตรกรเป็นธุรกิจส่วนตัว ที่ลูกหลานภูมิใจ”
เข็มอัปสร สิริสุขะ
“ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เรากำลังเผชิญอยู่ ผลกระทบทางภัยพิบัติมันชัดเจน รุนแรงและใกล้ตัวมากขึ้นทุกวัน”
สพ.ญ.วรางคณา พันธุ์วาณิช
“น้องหมา น้องแมวที่ได้รับวีลแชร์ ก็เหมือนคนเราที่กลับมาเดินได้ แม้มีเครื่องช่วย ก็แฮปปี้มีความสุข”
ชลลดา (เมฆราตรี) สิริสันต์
“สัตว์เลี้ยงเป็นสิ่งมีชีวิต การจะเลี้ยงต้องพิจารณาความพร้อมของตัวเอง ถ้าคุณรับข้อผูกมัดที่จะดูแลเค้าจนหมดอายุขัยไม่ได้แสดงว่าคุณไม่พร้อม...ไม่พร้อม..ไม่เลี้ยง...ดีกว่านะคะ”
ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์
“การทำธุรกิจ...มีส่วนในการทำร้ายสังคมและสิ่งแวดล้อม จะทำอย่างไรที่สามารถได้ทั้งเงินและรักษาสังคมสิ่งแวดล้อม”
เปรม พฤกษ์ทยานนท์
“การแก้ไขปัญหาขยะมันไม่ได้แก้ได้แค่ใครคนใดคนหนึ่ง แต่มันต้องเกิดจากการช่วยกันและเห็นประโยชน์ร่วมกัน”
ผศ. ดร.สมพร ช่วยอารีย์
“พลังงานหมุนเวียนคือทางเลือกใหม่ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในภาคครัวเรือน ภาคการเกษตร เพื่อให้พึ่งพาตนเอง”
ศ.กิตติคุณ เดชา บุญค้ำ
“เราต้องสร้างเมือง โดยเคารพธรรมชาติ การปฏิรูปต้องใช้หลักการเปลี่ยนที่อยู่ของคนกฎหมายผังเมืองไม่สามารถเอาชนะธรรมชาติได้”
สุริยา ยีขุน
“เรานำหลักแนวคิดตามศาสตร์พระราชาเรื่องของการกันน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง และปล่อยน้ำออกในหน้าน้ำหลาก”
ดร.จำเนียร วรรัตน์ชัยพันธ์
“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นภัยคุกคามใหญ่...ถึงเวลาที่ทุกคนต้องช่วยโลกใบนี้สร้างความสมดุลให้กลับมาอีกครั้ง”
พันชนะ วัฒนเสถียร
“ในช่วงโควิดรอบแรก เราทุกคนตกอยู่วิกฤต เหมือนบ้านเรากำลังถูกไฟไหม้ เราจำเป็นต้องช่วยกันเพื่อผ่านวิกฤตนี้ไปให้ได้”
ดร.สุวันชัย แสงสุขเอี่ยม
“เราอยู่ที่ไหน ก็ต้องสร้างประโยชน์ ท่าฉลอมมีดี ต้องบอกต่อ เพื่อให้คนมาและพัฒนาเมือง และสร้างความยั่งยืน”
ผศ.เอกพงษ์ ตรีตรง
“เจียระไนอัตลักษณ์ชุมชน สร้างสรรค์มูลค่าคืนสู่ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน”
พงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ
“การวางแผนการพัฒนาเมืองให้ยั่งยืนต้องมีข้อมูลที่รวดเร็ว ทันสมัย ถึงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันสถานการณ์”
ดร.สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ
“เราอยากให้คนตั้งใจมาศรีสะเกษ เราจึงสร้างเมืองให้มี Value เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้และมีความยั่งยืน”
ธนาภรณ์ อ้อยอิสรานุกุล
“อาหารที่ไร้ประโยชน์ของใครบางคน อาจเป็นประโยชน์ต่อคนหลายคนอย่างมากมายมหาศาล”
สัญญา มัครินทร์
“ทุกที่คือสถานศึกษา ผมอยากอยู่บ้านและอยากมีส่วนร่วมในการพัฒนาบ้านเกิดให้เป็นแหล่งเรียนรู้”
Ariaround
“เราต้องการสร้างสังคมเมือง ให้คนเมืองช่วยกันพัฒนาเมือง และเข้าใจบริบทของเมืองตัวเองอย่างลึกซึ้ง...แม้จะเป็นเมืองกรุง”
กุลชาติ เค้นา
“ถ้าจะทำตามฝัน สิ่งนั้นต้องเลี้ยงตนเองได้ และเกิดความยั่งยืน”
อินทัช มาศวงษ์ปกรณ์
“เราต้องการที่จะให้การขนส่งสาธารณะง่ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ มีมาตรฐาน และเหมาะสมกับประเทศไทย”
เมธาวี ทัศนาเสถียรกิจ
“เราอยากสร้างอาชีพให้คนพิการ พวกเขามีศักยภาพ แต่ขาดโอกาสถ้าเราส่งเสริม พวกเขาทำงานได้ดี”
พญ.ศศพินทุ์ วงษ์โกวิท
“การได้ใช้ชีวิตที่มีความสุข เริ่มต้นจากการดูแลตัวเอง และการส่งต่อความรู้ในการดูแลตัวเองที่ถูกต้อง ซึ่งเท่ากับเราได้สร้างชีวิตที่มีความสุขให้ผู้คน”
เพ็ญลักขณา ขำเลิศ
“อาชีพพยาบาลถือว่าได้ทำบุญตลอด มันคือบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ การช่วยหนึ่งชีวิตที่อยู่ในมือเราเท่ากับเราได้ช่วยหนึ่งครอบครัว”
ศ. นพ.มานพ พิทักษ์ภากร
“ของอะไรที่เราสร้างขึ้นใหม่ในวันนี้ อาจจะไม่ใช่ของที่เราจะหวังผลในวันนี้ แต่มันเป็นของที่เราจะหวังผลในอนาคต”
ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์
“หัวใจของการท่องเที่ยวไทยคือ ความปลอดภัย ความสุข และประสบการณ์ที่ได้รับ ซึ่งจะนำไทยไปสู่การเป็นมหาอำนาจด้านการท่องเที่ยวที่แท้จริง”
สิรินดา พันสถา
“ความสำเร็จของชีวิต คือ การที่เราทำสิ่งที่รักจนมันเปลี่ยนแปลงตัวเรา”
พงศ์ปณต เรืองอารีรัตน์
“คนเราสามารถทำสิ่งที่ชอบและรักไปด้วยกันได้ขอแค่มีการแบ่งเวลาในชีวิตที่ดี หากผมทำได้ คนอื่นก็ทำได้”
ภัทรัดจารินท์ สุวัชรานนท์
“ในยุคนี้ มีอีกโลกหนึ่งที่เกิดขึ้นซึ่งก็คือโลกออนไลน์ เราต้องปรับตัวตนและเปลี่ยนการสื่อสาร”
จิรายุ ตันตระกูล
“ผมเชื่อว่า...จิตที่ได้รับการพัฒนาและฝึกฝนมาจนชำนาญจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่รากฐานของปัญหาอย่างแท้จริง”
ทพญ.กัญจน์ภัสสร สุริยาแสงเพ็ชร์
“การที่คน ๆ หนึ่งต้องรอกว่าที่จะได้รับการรักษา เป็นความทุกข์อย่างใหญ่หลวง”
รศ. นพ.สุริยเดว ทรีปาตี
“ถึงเวลาที่เราต้องลุกขึ้นมาฟังเสียงเด็ก เพราะเด็กเป็นรากฐานของการพัฒนา”
ผศ. พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร
“การเลี้ยงเด็กไม่ใช่การเลี้ยงแต่ตัว แต่เราต้องเลี้ยงดูจิตใจเพื่อให้เขาเติบโตอย่างสมบูรณ์”
อรรถพล โพธิ์หาญรัตนกุล
“คนแก่... ไม่ใช่วัยร่วงโรย แต่เต็มไปด้วยภูมิความรู้ เราแค่ต้องลดช่องว่างระหว่างวัยเพื่อให้เราได้แลกเปลี่ยนและยอมรับความรู้ของกันและกัน”
ประสาน อิงคนันท์
“สื่อจะเริ่มงานจากปัญหาสังคม โดยเราจะใช้ความถนัดในวิชาชีพเข้าไปมีส่วนร่วม แก้ไข และปรับปรุงสิ่งนั้นให้ดีขึ้น”
พีรพล อนุตรโสตถิ์
“หัวใจของการเป็นสื่อ คือการที่เราต้องคิดว่าเราจะเป็นตัวสะท้อน เป็นผู้เตือน และป้องกันภัยให้กับสังคมอย่างไร”
สุวรรณฉัตร พรหมชาติ
“เราเป็นคนตัวเล็ก ๆ ที่เอาความดีนำทางชีวิต เพื่อเป็นเส้นทางในการช่วยเหลือคนอื่นต่อไป”
พระอาจารย์พบโชค ติสสะวังโส
“เราต้องให้โอกาสคน...เพราะสังคมจะยั่งยืนได้เมื่อคนได้รับโอกาส วัดห้วยปลากั้ง ให้งาน ให้ธรรมะ เพื่อสร้างคนและสร้างสังคม”
ปารวี โมรา
“การให้ที่ไม่รู้จบ คือ การให้ความรู้ เหมือนคำเปรียบเปรยที่ว่ามากกว่าการให้ปลา คือ การสอนให้รู้วิธีหาปลา”
ธีรพงษ์ มีสัตย์
“การเป็นครูมีความท้าทายเหมือนเป็นพ่อแม่คนที่ 2 ยิ่งเป็นครูในยุคโซเชียลมีเดีย โจทย์คือเราจะสอนอย่างไร”
อภิชิต ภัณฑะประทีป
“การที่ผมสร้างให้เด็กคนหนึ่งประสบความสำเร็จและเป็นคนดี นับว่าชีวิตนี้เกิดมาคุ้มค่าอย่างที่สุดแล้ว”
เชาวลิต สาดสมัย
“ครูต้องเรียนรู้ไปพร้อมกับเด็ก ครูต้องเป็นผู้รับฟัง บางครั้งเด็กไม่ต้องการคำปรึกษาแต่ต้องการผู้รับฟัง เราจึงต้องปรับตัว”
ศิริพร พรมวงศ์
“การเคารพและแบ่งปันกันเป็นพื้นฐานในการสร้างคนให้เป็นคนดี”
พระครูปิยวรรณพิพัฒน์
“เราจะสร้างชาติไทยด้วยพลังสูงวัย เพราะประสบการณ์ที่เคี่ยวจนตกผลึกคือสิ่งล้ำค่า...ไม่ใช่ภาระของสังคม”
ปรีชา การุณ
“หลายคนมองว่าอีสานแร้นแค้นแต่ผมมองเห็นความอุดมสมบูรณ์และความร่ำรวยในศิลปวัฒนธรรม”
พระอาจารย์แสนปราชญ์ ปัญญาคโม
“การถ่ายทอดธรรมะเป็นโอกาสในการเปลี่ยนความทุกข์ของผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้สงบ และสวยงาม”
ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร
“เรารู้กฎหมาย เราต้องช่วยคน ลดความเหลื่อมล้ำ ให้คนได้เข้าถึงความยุติธรรม”
พญ. คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์
“หมอเชื่อว่า... นิติวิทยาศาสตร์เป็นองค์ความรู้หนึ่งที่จะทำให้ความยุติธรรมเกิดขึ้นในสังคม”
ประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ
“เราต้องใช้ใจ ใช้ความอดทน และความเสียสละ โดยมุ่งหวังที่จะช่วยให้เด็กและคนยากจนในสังคมได้มีโอกาส”
ดร.ปนัดดา วงศ์ผู้ดี
“ผู้ถูกกระทำควรได้รับความคุ้มครอง ไม่ใช่ถูกซ้ำเติม และสิ่งที่สำคัญที่สุด สังคมต้องส่งเสริมคนดี...ไม่ละเว้นคนชั่ว”